ญี่ปุ่นมีทั้งหมด 47 จังหวัด
เช่นเดียวกับที่ภูมิทัศน์เมือง กิจกรรม และของอร่อยก็แตกต่างกันไปตามภูมิภาค ลักษณะจำเพาะของคนในท้องถิ่นก็แตกต่างกันไป ในซีรี่ส์นี้ เราจะเจาะลึกถึงสถานการณ์ในท้องถิ่นของแต่ละจังหวัดโดยแนะนำเสน่ห์ของแต่ละจังหวัดและสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาให้ทราบกันค่ะ
ครั้งนี้เราจะไปกันที่จังหวัดอิบารากิซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคคันโต และเป็นที่รู้จักจากสวนไคราคุเอ็นซึ่งขึ้นชื่อเรื่องดอกบ๊วยที่บานเร็ว กับมิโตะนัตโตค่ะ! มาเรียนรู้ลักษณะเฉพาะและภาษาถิ่นของชาวอิบารากิกันค่ะ!
เมืองอาศัยของผู้ที่เข้าไปทำงานในโตเกียว - นิสัยของชาวอิบารากิมาจากวัฒนธรรมซามูไรในสมัยเอโดะ!?
จังหวัดอิบารากิครอบคลุมพื้นที่อันกว้างใหญ่ของที่ราบคันโต โดยอยู่ติดกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางทิศตะวันออก ทางทิศเหนือของจังหวัดอยู่ติดกับจังหวัดฟุกุชิมะ ด้านทิศตะวันตกติดกับจังหวัดโทจิงิและไซตามะ และด้านใต้ติดกับจังหวัดชิบะ และเนื่องจากสามารถเดินทางจากโตเกียวได้ง่ายโดยใช้ Tsukuba Express หลายคนจึงใช้เมืองนี้เป็นเมืองสำหรับกลับไปหลับนอนค่ะ
คำขึ้นชื่อที่ใช้บรรยายลักษณะของชาวจังหวัดอิบารากิคือ "茨城の3ぽい" (Ibaraki no San Poi) ซึ่งเป็นคำเรียกรวมของ "ขี้โมโห ขี้ลืม ขี้เบื่อ" (怒りっぽい・忘れっぽい・飽きっぽい / Okorippoi - Wasureppoi - Akippoi) ที่เป็นเช่นนี้เพราะแคว้นมิโตะซึ่งครอบครองพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของอิบารากิในสมัยเอโดะ เป็นหนึ่งในสามตระกูลสาขาของโชกุนโทคุงาวะ และว่ากันว่าเกี่ยวข้องกับการที่โทคุงาวะ มิตสึคุนิ (มิโตะโคมง) ผู้ครองแคว้นอันเลื่องชื่อของแคว้นมิโตะนั้นมีนิสัยซุกซนและเป็นคนเจ้าอารมณ์มากค่ะ กล่าวกันว่าผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่มิโตะเคยมีคำอธิบายนิสัยใจคอของชาวมิโตะว่า "水戸の3ぽい" (Mito no San Poi) แต่ในที่สุดก็เปลี่ยนมาเป็น "茨城の3ぽい" อนึ่ง 3 นิสัยของชาวมิโตะประกอบด้วย "ขี้โมโห ชอบเถียง และแข็งกร้าว''
อิบารากิยังมีภาพลักษณ์ติดตาว่ามีแยงกี้ (เยาวชนที่ประพฤติตนเป็นอันธพาล) เป็นจำนวนมาก และได้รับการจัดอันดับสูงเสมอในการจัดอันดับจังหวัดที่น่าจะมีแยงกี้จำนวนมาก นี่ก็อาจเป็นเพราะลักษณะนิสัยของจังหวัดตั้งแต่สมัยเอโดะที่มีอารมณ์ฉุนเฉียว อารมณ์โกรธง่ายหายเร็วก็ได้ค่ะ
โอกาสที่จะมีนัตโตในอาหารกลางวันของโรงเรียนสูง! มีการแนะนำนัตโตมากมายในเมนูราเมน ไก่ทอด และร้านอิซากายะ
ในอำเภอมิโตะ จังหวัดอิบารากิ ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องมิโตะนัตโต นัตโต (ถั่วหมัก) เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้บนโต๊ะอาหารของประชาชน ในประเทศญี่ปุ่นมีระบบอาหารกลางวันของโรงเรียน (給食 / kyushoku ระบบที่ให้บริการอาหารแก่เด็กและเจ้าหน้าที่โรงเรียน และใช้หมายถึงมื้ออาหารกลางวันด้วย) ที่โรงเรียนประถมและมัธยมต้นซึ่งเทียบเท่ากับการศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่ในมิโตะ เป็นเรื่องปกติที่จะมีนัตโตเป็นส่วนหนึ่งในมื้ออาหารกลางวันในโรงเรียนประถมและมัธยมต้นค่ะ
นัตโตซึ่งมีลักษณะเหนียวและมีกลิ่นแรง ปกติจะไม่ถูกบรรจุลงในเมนูอาหารกลางวันของโรงเรียนในพื้นที่อื่น ๆ แต่ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องปกติสำหรับคนท้องถิ่นในมิโตะค่ะ
นอกจากนี้ยังมี "เมนูนัตโต" มากมายที่ร้านอิซากายะในจังหวัดอิบารากิ เช่น ข้าวผัดนัตโต นัตโตชาวังมูชิ (ไข่ตุ๋น) ไข่เจียวนัตโตที่ใช้น้ำซุปปลาโอ ฮอทดอกและไก่ทอดที่ใช้นัตโต นอกจากนี้ ในพื้นที่พักรถในจังหวัดอิบารากิ ยังมีช่วงที่ผู้คนยืนรอต่อแถวเพื่อรับประทานนัตโตราเม็งกันด้วยค่ะ
นอกจากนี้ยังมีเมนูนัตโตแสนอร่อยของอิบารากิ เช่น "จิโกคุนัตโต" (地獄納豆 / Jigoku Natto - นัตโตนรก) ซึ่งทำโดยการเผาฟางในหลุมที่ขุดดินแล้วรมควันนัตโตไว้ในหลุมเป็นเวลา 2- 3 วัน "โซโบโระนัตโต" (そぼろ納豆 / ฆนินพน Natto) ซึ่งเป็นส่วนผสมของนัตโตะและหัวไชเท้าแห้งและหมักในเครื่องปรุงรสเช่นโชยุ และ "โฮชินัตโต" (ほし納豆 / Hoshi Natto) ซึ่งเป็นนัตโตปรุงรสตากแห้งและเหมาะกับการใช้เป็นกับแกล้ม! สนใจลองเมนูนัตโตแสนอร่อยที่สามารถลิ้มรสได้ที่นี่เท่านั้นดูกันไหมคะ?
แท้จริงแล้วเป็นอาณาจักรเกษตรกรรม! ผู้ผลิตเมล่อนอันดับหนึ่งในญี่ปุ่นไม่ใช่ฮอกไกโดหรือชิซุโอกะ แต่เป็นอิบารากิ
เมล่อน ราชินีแห่งผลไม้รสหวานอร่อย กลิ่นหอมละมุนพร้อมความฉ่ำ เมื่อพูดถึงแหล่งผลิตเมล่อน สิ่งแรกที่คนส่วนใหญ่นึกถึงอาจเป็นฮอกไกโดซึ่งมีชื่อเสียงในเรื่องยูบาริเมล่อนและฟุราโนะเมล่อน หรือชิซุโอกะซึ่งขึ้นชื่อเรื่องการปลูกมัสค์เมล่อนและคราวน์เมล่อนคุณภาพสูง แต่ความจริงแล้วจังหวัดอิบารากิกลับเป็นแหล่งผลิตเมล่อนอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น จากสถิติของกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และการประมง จังหวัดอิบารากิได้รับการจัดอันดับเป็นอันดับ 1 ในการส่งจำหน่ายเมล่อน (ข้อมูลปีงบประมาณ 2020) และอิบารากิยังเป็นผู้ผลิตเมล่อนอันดับหนึ่งในญี่ปุ่นเป็นเวลา 23 ปีติดต่อกันตั้งแต่ปี 1998 ค่ะ!
อำเภอโฮโคตะก็มีชื่อเสียงเรื่องเมล่อนเป็นพิเศษ โดยปลูกเมล่อนมากกว่า 9 สายพันธุ์ เช่น โอโตเมะเมล่อน ซึ่งเรียกในท้องถิ่นว่า "เมลอนฤดูใบไม้ผลิ" เนื่องจากมาการส่งเข้าสู่ตลาดตั้งแต่กลางเดือนเมษายนถึงกลางเดือนพฤษภาคม และอิบาราคิงเมล่อน ซึ่งเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของจังหวัดอิบารากิ หากคุณไปที่ร้านขายตรง คุณสามารถซื้อเมล่อนได้หลายชนิด และยังมีจุดที่คุณสามารถทานไอศกรีมเมล่อนและน้ำแข็งไสเมล่อนได้อีกด้วย!
นอกจากเมล่อนแล้ว การปลูกผลิตผลทางการเกษตรก็เจริญรุ่งเรืองเช่นกัน และมีชื่อเสียงจากปริมาณการผลิตที่มากของรากบัว พริกหยวก ผักโขมมัสตาร์ดญี่ปุ่น ผักมิซุนะ บกฉ่อย เกาลัด และมันแห้ง หากคุณกำลังไปเที่ยว ขอแนะนำให้ไปที่ตลาดเกษตรกรหรือสถานีริมทาง (道の駅 / Michi-no-Eki) เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นแสนอร่อยค่ะ
ชาวจังหวัดคิดว่าตัวเองพูดภาษามาตรฐาน!? สำเนียงอิบารากิหยั่งรากลึกในชุมชนท้องถิ่น
茨城県内でよく使われる方言は「茨城弁」です。
茨城弁は、無アクセントの方言。例えば、日本語の他の地域では、「飴(candy)」と「雨(rain)」、「橋(bridge)」と「箸(chopstick)」など、「同じ読み仮名で意味の異なる単語」を違うアクセントで区別して使いますが、茨城弁では区別しません。なまりにクセが強く、「言い方がキツイ」と思われてしまう場合もありますが、茨城県民には、「自分たちはなまっていない。標準語を話している」と思っている人も多いそう。
ここからは、代表的な茨城弁をいくつか紹介します。ただし、東京や他の関東圏に行って茨城弁を披露しても、多くの場合通用しませんのでご注意を!
ภาษาถิ่นที่ใช้บ่อยในจังหวัดอิบารากิคือ "สำเนียงอิบารากิ" (茨城弁 / Ibaraki-ben)
สำเนียงอิบารากิเป็นภาษาถิ่นที่ไม่มีการเน้นเสียง ตัวอย่างเช่น ในภูมิภาคอื่นๆ ของภาษาญี่ปุ่น "คำที่ออกเสียงคล้ายกันแต่ความหมายต่างกัน" เช่น "飴" (อาเมะ - ลูกอม) และ "雨" (อ๊าเหมะ - ฝน) "橋" (ฮาชิ - สะพาน) และ "箸" (ฮ้าฉิ - ตะเกียบ) มีการเน้นเสียงที่แตกต่างกัน แต่สำเนียงอิบารากิกลับไม่ได้แบ่งแยกความแตกต่างดังกล่าวค่ะ สำเนียงอิบารากิมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์ และหลายคิดว่า "วิธีพูดนั้นยาก" แต่ก็มีชาวอิบารากิหลายคนที่คิดว่า "พวกเราไม่ได้มีสำเนียงเฉพาะ พวกเราพูดภาษาญี่ปุ่นมาตรฐาน"
ในส่วนนี้ เราจะมาแนะนำคำในสำเนียงอิบารากิกันค่ะ อย่างไรก็ตาม โปรดระวังไว้ว่า ถ้าคุณไปที่โตเกียวหรือพื้นที่คันโตอื่น ๆ และไปลองพูดสำเนียงอิบารากิดู จึงอาจมีหลายกรณีที่สื่อสารกันไม่รู้เรื่องค่ะ!
1. なんだっぺ(Na-n-da-ppe / นานดัปเป)
【ความหมาย】อะไรกัน อะไรเนี่ย
【ตัวอย่าง】 なんだっぺ。そんなこどもでぎねの?(Na-n-da-ppe. So-n-na-ko-do-mo-de-gi-ne-no?)
【ความหมาย】 อะไรนะ แค่เรื่องพรรค์นั้นก็ทำไม่ได้เหรอ?
2. 青なじみ(A-o-na-ji-mi / อาโอนาจิมิ)
【ความหมาย】รอยช้ำ
【ตัวอย่าง】青なじみになっちった。(A-o-na-ji-mi-ni-na-chi-tta.)
【ความหมาย】กลายเป็นรอยฟกช้ำไปแล้ว
3. いがっぺ(I-ga-ppe / อิกัปเป)
【ความหมาย】ก็ดีไม่ใช่เหรอ
【ตัวอย่าง】その服、いがっぺよ。(So-no-fu-ku,I-ga-ppe-yo.)
【ความหมาย】ชุดนั้นก็ดีไม่ใช่เหรอ?
4. ごじゃっぺ(Go-ja-ppe)
【ความหมาย】คำด่าคำสบถทั่วไปที่ใช่กล่าวถึงคนหรือสิ่งของในทางไม่ดี เช่น ห่วย แย่ สะเพร่า
【ตัวอย่าง】ずいぶんごじゃっぺな車だごど。(Zu-i-bu-n-go-ja-ppe-na-ku-ru-ma-da-go-do.)
【ความหมาย】เป็นรถที่ค่อนข้างซังกะบ๊วยเลยเชียว
บทความอื่น ๆ ในซีรี่ส์นี้:
- 【รวบรวม47จังหวัดของญี่ปุ่น】ตอนที่ 1 สุดยอด! ฮอกไกโด!
- 【รวบรวม47จังหวัดของญี่ปุ่น】ตอนที่ 2 สุดยอด! โอกินาว่า
- 【รวบรวม47จังหวัดของญี่ปุ่น】ตอนที่ 3 สุดยอด! เกียวโต
- 【รวบรวม47จังหวัดของญี่ปุ่น】ตอนที่ 4 สุดยอด! โอซาก้า
- 【รวบรวม47จังหวัดของญี่ปุ่น】ตอนที่ 5 สุดยอด! นาระ
- 【รวบรวม47จังหวัดของญี่ปุ่น】ตอนที่ 6 สุดยอด! ฟุกุโอกะ
- 【รวบรวม47จังหวัดของญี่ปุ่น】ตอนที่ 7 สุดยอด! ซากะ
- 【รวบรวม47จังหวัดของญี่ปุ่น】ตอนที่ 8 สุดยอด! คาโกชิม่า
- 【รวบรวม47จังหวัดของญี่ปุ่น】ตอนที่ 9 จังหวัดแห่งความภาคภูมิใจแห่งหนึ่งจังหวัดชิบะ
- 【รวบรวม47จังหวัดของญี่ปุ่น】ตอนที่ 10 สุดยอด! ไอจิ
- 【รวบรวม47จังหวัดของญี่ปุ่น】ตอนที่ 11 ชาวโทจิงิช่างโชคดีอะไรอย่างนี้
- 【รวบรวม47จังหวัดของญี่ปุ่น】ตอนที่ 12 คนในจังหวัดเฮียวโกะอยากเป็นคนอยู่พื้นที่ในเมืองโกเบ
- 【รวบรวม47จังหวัดของญี่ปุ่น】ตอนที่ 13 คุมาโมโตะ สุดยอดตรง
- 【รวบรวม47จังหวัดของญี่ปุ่น】ตอนที่ 14 นางาซากิ สุดยอดตรงนี้!
- 【รวบรวม47จังหวัดของญี่ปุ่น】ตอนที่ 15 กุนมะ จังหวัดที่มีบุคลิกชาวจังหวัดสุดพิสดาร!
- 【รวบรวม47จังหวัดของญี่ปุ่น】ตอนที่ 16 ไซตามะ ไม่ใช่ "Dasaitama" แต่เป็น "Saitama"?!
- 【รวมรวม 47 จังหวัดของญี่ปุ่น: ยามานาชิ】ชาวจังหวัดนี้ชอบซูชิกันมากที่สุดในญี่ปุ่น?
- 【รวมรวม 47 จังหวัดของญี่ปุ่น: อิชิคาว่า】จังหวัดที่มีสาวผิวสวยมากที่สุดในญี่ปุ่น! เหตุผลก็คือ...?
- 【รวมรวม 47 จังหวัดของญี่ปุ่น: คานากาว่า】จำนวนคนญี่ปุ่นที่หนีออกจากโตเกียวและย้ายไปคานากาว่ากำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว!
- 【รวมรวม 47 จังหวัดของญี่ปุ่น: ทตโตริ】จังหวัดที่คอกาแฟและผู้ที่ชอบเนินทรายมารวมตัวกัน
Comments