ฮอกไกโดจรดโอกินาว่า เรียวยาวในแนวตั้ง นั่นแหล่ะ ประเทศญี่ปุ่น พอต่างสภาพภูมิประเทศ ลักษณะนิสัยและค่านิยมของคนก็ต่างกันไปอีก ยิ่งลองนับเทียบเคียงดู ไม่ว่าจะประเพณีพื้นบ้านหรืออาหารท้องถิ่น แค่เปลี่ยนสถานที่ ของซื้อของขายก็เปลี่ยน นี่แหล่ะความเป็นชาวจังหวัดนั้นอันแสนเป็นเอกลักษณ์ เรื่องทั่วไปของคนจังหวัดนั้นที่รู้ไว้แล้วไปเที่ยวได้ราบรื่นขึ้น นี่ไม่ใช่บทความนำเที่ยวทั่ว ๆ ไป แต่เป็นรายการบทความที่จะพาไปเจาะลึกให้รู้จักท้องถิ่นนั่น ๆ อย่างแท้จริง สำหรับตอนที่ 13 นี้เราจะไปพบกับจังหวัดคุมาโมโตะกัน
บุคลิกส่วนใหญ่เป็นคนหัวแข็งหัวรั้น
ว่ากันว่า "Higo mokkosuko" (ฮิโกะเป็นชื่อดินแดนแถบคุมาโมโตะในสมัยก่อน) เป็นคำที่สื่อถึงความเป็นพลเมืองของจังหวัดได้อย่างดี มีความหมายว่าดื้อรั้นหัวแข็ง มุ่งมั่น ทุ่มเท นอกจากนั้นพวกผู้ชายยังมีบุคลิกคล้าย ๆ กันในเรื่องความเห็นอกเห็นใจและมีจิตใจที่มั่นคง ส่วนผู้หญิงจังหวัดนี้ก็ยังชิงอันดับ 1-2 ในเรื่องความแข็งแกร่งและความดื้อรั้นที่สุดในประเทศอีกด้วย
มีความรักต่อภูมิลำเนาสูง
ชาวจังหวัดชอบที่จะได้รับชมเชยเกี่ยวกับคุมาโมโตะจากคนจังหวัดอื่น แต่ในทางกลับกันหากโดนพูดในทางเสีย ๆ หาย ๆ ก็จะโกรธเลือดขึ้นหน้าเลยเชียว ชาวจังหวัดเชื่อกันว่าคุมาโมโตะเป็นย่านที่น่าอยู่ที่สุดในญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม ชาวคุมาโมโตะที่ได้มาโตเกียวแล้วก็ไม่ค่อยกลับภูมิลำเนากันเท่าไหร่
ดื่มน้ำประปามากกว่าดื่มน้ำแร่
น้ำประปาของอำเภอเมืองคุมาโมโตะเป็นน้ำจากใต้ดิน 100% เป็นน้ำที่มีแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์มากกว่าน้ำแร่ที่วางขายในเชิงพาณิชย์ทั่วไปเลยเชียว
มีคนที่ไวต่อแฟชั่นมากมาย
อำเภอเมืองคุมาโมโตะมักจะถูกใช้เป็นแหล่งวิจัยสำหรับบริษัทเครื่องแต่งกาย ดังนั้นวัฒนธรรมแฟชั่นจึงก้าวหน้ากว่าในเมืองใหญ่อื่น ๆ ในภูมิภาค ผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ถูกออกวางจำหน่ายในโตเกียวอาจมีมาจำหน่ายล่วงหน้าในคุมาโมโตะอย่างลับ ๆ อีกด้วย
จำนวนเงินที่ตัวมาสค็อตท้องถิ่น "Kumamon" ได้รับในหนึ่งปีนั้นดีมากเกินไป
ยอดขายของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ "Kumamon" อยู่ที่ประมาณ 128 พันล้านเยน เทียบเท่ากับบริษัทใหญ่ ๆ เลยเชียว ในอดีตยังเคยถูกนำขึ้นปกวารสาร American Wall Street และได้รับการแนะนำในรายการพิเศษของ China National Broadcasting อีกด้วย อนึ่ง อาชีพของ Kumamon นั้นก็คือข้าราชการพลเรือน ชื่อตำแหน่งก็คือผู้จัดการฝ่ายขายประจำจังหวัดคุมาโมโตะควบกับผู้จัดการฝ่ายความสุขจังหวัดคุมาโมโตะ สถานที่ทำงานคือ "Kumamon Square" ที่ชั้น 1 อาคารตะวันออกของห้างสรรพสินค้า Tsuruya ในเขตชูโอะ อำเภอเมืองคุมาโมโตะ (มีห้องประจำตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายขายด้วย) จะไม่อยู่ที่ทำงานทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี
เมื่อพูดคุยด้วยภาษาถิ่นคุมาโมโตะ มักถูกเข้าใจผิดโดยคนจังหวัดอื่นว่าพวกเขากำลังทะเลาะกัน
ภาษาถื่นของคุมาโมโตะมีคำศัพท์ที่ไม่เหมือนใครมากมาย และการออกเสียงก็จะเน้นเสียงพบางค์สุดท้าย ดังนั้นเมื่อผู้คนจากจังหวัดอื่น ๆ มาได้ยินคนพูดภาษาคุมาโมโตะกันก็จะได้ยินเหมือนว่ากำลังทะเลาะกันเลยเชียว ภาษาคุมาโมโตะมีคำห้วน ๆ เยอะ คำที่ออกเสียงอ่อนโยนและละเอียดอ่อนนั้นก็มีไม่มาก ดังนั้นจึงให้ความรู้สึกที่หยาบกร้านแก่ผู้อื่น ทำให้รู้สึกว่าห้วนและหยาบกร้านดูไม่มีมารยาท เมื่อพูดเป็นภาษาคุมาโมโตะตามร้านในจังหวัดอื่น ก็มีกรณีที่โดนพนักงานพูดใส่ว่า "กรุณาไปทะเลาะกันข้างนอกนะคะ" หลายกรณีเลยเชียว
มีการใส่คำสุภาพให้กับทิศทาง
เมื่อบอกทิศทาง คนคุมาโมโตะจะพูดว่า "ซ้ายซัง" (ฮิดาริซัง) และ "ขวาซัง" (มิกิซัง) และทิศเหนือใต้ออกตกและอื่น ๆ ก็จะมีการเติมซังเป็น "เหนือซัง" (คิตะซัง) ด้วยเป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการเติม "ซัง" กับวัตถุด้วย ภาษาถิ่นของคุมาโมโตะนั้นกล่าวกันว่าเป็นภาษาที่ฟังดูห้วนหยาบ แต่จริง ๆ แล้วกลับเป็นภาษาถิ่นที่สุภาพเอามาก ๆ
เป็นอย่างไรบ้างคะ ทั่วญี่ปุ่นยังมี ”ความเป็นชาวจังหวัด” ที่ไม่น่าเชื่อหรือไม่มีที่อื่นอีกมากเนื่องจากเป็นรายการบทความ อย่าลืมติดตามชมตอนต่อไปกันนะคะ! ส่งความเห็นมาทางช่องคอมเมนต์ทางขวาได้เลยค่ะ เราเปิดรับความเห็นค่ะ อยากรู้ความเป็นชาวจังหวัดของที่ไหนแนะนำเข้ามาได้เลยค่ะ
Comments