【รวมรวม 47 จังหวัดของญี่ปุ่น: คานากาว่า】จำนวนคนญี่ปุ่นที่หนีออกจากโตเกียวและย้ายไปคานากาว่ากำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว!

  • 5 กุมภาพันธ์ 2024
  • 28 กรกฎาคม 2022
  • FUN! JAPAN Team
  • Mon

【รวมรวม 47 จังหวัดของญี่ปุ่น: คานากาว่า】จำนวนคนญี่ปุ่นที่หนีออกจากโตเกียวและย้ายไปคานากาว่ากำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว!

จังหวัดใดที่คุณคิดว่าเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดสองแห่งในญี่ปุ่น ดิฉันคิดว่าหลายคนคงคิดถึงในโตเกียวและโอซาก้า อย่างไรก็ตาม ในแง่ของจำนวนประชากร โตเกียวเป็นที่หนึ่งและโอซาก้าเป็นที่สาม แล้วที่สองคือที่ไหนกันล่ะ... ?

คำตอบก็คือคานากาว่า ตัวเอกของบทความนี้ค่ะ ไหนจะโยโกฮาม่า คามาคุระ ฮาโกเนะ... จังหวัดนี้มีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง แต่ชื่อจังหวัด "จังหวัดคานากาว่า" กลับไม่ค่อยมีคนรู้จัก ในครั้งนี้เราจะมาดูด้านที่ไม่รู้จักของคานากาว่าอย่างละเอียดยิ่งขึ้นค่ะ

"ถิ่นกำเนิด" ของอาหารต่าง ๆ

ถิ่นกำเนิดของอาหารต่าง ๆ

กล่าวกันว่าไอศกรีมและเบียร์ของญี่ปุ่นมีต้นกำเนิดในโยโกฮาม่า จังหวัดคานากาว่าค่ะ

ญี่ปุ่นเคยใช้นโยบายปิดประเทศมานานกว่า 200 ปีตั้งแต่ปี 1639 ในสมัยเอโดะ และไม่ได้ค้าขายกับต่างประเทศยกเว้นบางประเทศเช่นเนเธอร์แลนด์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม เพื่อตอบสนองคำขอเชิงบังคับจากประเทศสหรัฐอเมริกาให้เปิดประเทศในปี ค.ศ. 1853 ญี่ปุ่นจึงตัดสินใจเปิดประเทศ ในปี 1859 ก็ได้เปิดท่าเรือในโยโกฮาม่า นางาซากิ และฮาโกดาเตะ (ฮอกไกโด) และกลับมาค้าขายกับต่างประเทศอีกครั้ง เป็นผลให้โยโกฮาม่ากลายเป็นฐานที่สำคัญสำหรับการค้าต่างประเทศ และผลิตภัณฑ์และอาหารที่นำเข้าจากต่างประเทศก็มารวมตัวกันที่โยโกฮาม่า ชาวโยโกฮาม่าได้อ้างอิงถึงรสชาติและกรรมวิธีการผลิตไอศกรีมและเบียร์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ก็ได้พัฒนารสชาติของอาหารเหล่านี้ให้เหมาะกับรสนิยมของคนญี่ปุ่นค่ะ

Japan Yokohama Brewery (ปัจจุบันปิดให้บริการไปแล้ว) ซึ่งเปิดขึ้นในโยโกฮาม่าในปี ค.ศ. 1869 เป็นที่รู้จักในฐานะโรงงานผลิตเบียร์แห่งแรกของญี่ปุ่นค่ะ

ถิ่นกำเนิดของอาหารต่าง ๆ

ว่ากันว่าสปาเก็ตตี้ที่เป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่น "Napolitan" ก็ถือกำเนิดขึ้นที่โยโกฮาม่าเช่นกันค่ะ

Napolitan เป็นสปาเก็ตตี้กับซอสรสซอสมะเขือเทศ ในซอสประกอบด้วยแฮมผัด พริก และหัวหอม แม้ว่าจะมีชื่อว่า "Napolitan" แต่บ้านเกิดก็คือที่โยโกฮาม่าค่ะ ไม่ใช่เมืองเนเปิลส์ ประเทศอิตาลีนะคะ

Napolitan ซึ่งกลายเป็นอาหารหลักของของอร่อยของชาวญี่ปุ่น ได้รับการกล่าวขานว่าได้รับการคิดค้นโดยโรงแรม "Hotel New Grand" ในโยโกฮาม่าหลังสงครามโลกครั้งที่สอง Hotel New Grand ถูกใช้เป็นหอพักสำหรับเจ้าหน้าที่บัญชาการ GHQ (* 1) ตั้งแต่ปี 1945 ถึง 1952 และว่ากันว่า Napolitan ถือกำเนิดขึ้นจากเชฟของโรงแรมที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเจ้าหน้าที่บัญชาการที่กินสปาเก็ตตี้กับซอสมะเขือเทศนั่นเองค่ะ

* 1: General Headquarters, the Supreme Commander for the Allied Powers - กองบัญชาการใหญ่ ผู้บัญชาการสูงสุดของฝ่ายพันธมิตร ก่อตั้งขึ้นในกรุงโตเกียวในปี ค.ศ. 1945 เป็นศูนย์บัญชาการสูงสุดสำหรับการครอบครองและควบคุมดูแลญี่ปุ่นหลังสงครามแปซิฟิก

"ฮามักโกะ" ชื่อชอบความแปลกใหม่

คนที่เกิดและเติบโตในโตเกียวเรียกว่า "เอดกโกะ" ส่วนคนที่เกิดและเติบโตในโยโกฮาม่าจะเรียกว่า "ฮามักโกะ"

ว่ากันว่าฮามักโกะชอบสิ่งใหม่ ๆ ค่ะ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นค่ะ โยโกฮาม่ามีความเจริญรุ่งเรืองในฐานะฐานการค้าต่างประเทศตั้งแต่สมัยเอโดะ ดังนั้นจึงสามารถติดต่อกับอารยธรรมตะวันตกได้เร็วกว่าในส่วนอื่น ๆ ของญี่ปุ่น ด้วยเหตุนี้ ฮามักโกะจึงมีโอกาสมากมายที่จะได้สัมผัสกับอาหารหายากและผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ ที่อาจนำไปสู่ความชื่นชอบในอะไรใหม่ ๆ ค่ะ

ชาวญี่ปุ่นหลายคนตอบตามชื่อจังหวัดเมื่อถูกถามถึงถิ่นกำเนิด แต่ฮามักโกะหลายคนตอบว่า "โยโกฮาม่า" แทนที่จะเป็นชื่อจังหวัด "คานากาว่า" เวลาถูกถามถึงถิ่นกำเนิด นี่ก็เป็นข้อพิสูจน์ว่าพวกเขาภูมิใจในสถานที่ที่เรียกว่าโยโกฮาม่าอย่างมากค่ะ

หนึ่งในสามของชาวจังหวัดมองว่าโตเกียวเป็นคู่แข่ง

หนึ่งในสามของชาวจังหวัดมองว่าโตเกียวเป็นคู่แข่ง

จากการสำรวจ (* 2) พบว่า 36% ของชาวคานากาว่าตอบว่า "มองโตเกียวเป็นคู่แข่ง" ค่ะ

ประชากรของจังหวัดคานากาว่ามีประมาณ 9.22 ล้านคน (ณ วันที่ 1 เมษายน 2022) นี่เป็นตัวเลขที่ใหญ่เป็นอันดับสองในญี่ปุ่นรองจากมหานครโตเกียว (ประมาณ 13.99 ล้านคน) (อันดับที่ 3 คือ กรุงโอซาก้า ประมาณ 8.77 ล้านคน)

คานากาว่าเป็นที่ตั้งของโยโกฮาม่า ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่เทียบได้กับชินจูกุและชิบูย่าในโตเกียว นอกจากนี้ บริษัทขนาดใหญ่หลายแห่ง รวมทั้ง Nissan Motor Co., Ltd. มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่จังหวัดคานากาว่า สถานการณ์เช่นนี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เมืองหลวงที่อยู่ใกล้เคียงอย่างโตเกียวถูกมองว่าเป็นคู่แข่งค่ะ

* 2 โดย Sony Life (2021)

ผู้คนอยากไปอาศัยอยู่ในคานากาว่ามากกว่าในโตเกียวกำลังเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

ผู้คนอยากไปอาศัยอยู่ในคานากาว่ามากกว่าในโตเกียวกำลังเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

ก่อนหน้านี้ ดิฉันกล่าวว่าชาวคานากาว่ามองว่าโตเกียวเป็นคู่แข่ง อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีอีกสถานการณ์ที่ทำให้ชาวโตเกียวมองว่าจังหวัดคานากาว่าเป็นคู่แข่งด้วย เนื่องจากจำนวนผู้ที่ย้ายจากโตเกียวไปยังจังหวัดคานากาว่ากำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา = คานากาว่าเป็นที่นิยมมากกว่าโตเกียว

จากการตรวจสอบว่าเทศบาลใดที่บุคคลที่ย้ายออกจาก 23 เขตของโตเกียวย้ายไปอยู่ (* ย้ายจาก 23 เขตของโตเกียวไปยังเขตเทศบาลอื่น) พบว่าการย้ายไปที่อำเภอโยโกฮาม่าในจังหวัดคานากาว่ามีจำนวนที่สุด ตามด้วยอำเภอคาวาซากิในจังหวัดคานากาว่า และอำเภอไซตามะในจังหวัดไซตามะ ซึ่งอันดับหนึ่งและอันดับสองที่ชาวโตเกียวย้ายไปอยู่กันเป็นอำเภอในจังหวัดคานากาว่าทั้งคู่ค่ะ

สาเหตุหนึ่งที่ชาวโตเกียวย้ายไปยังคานากาว่ามากขึ้นก็คือการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ได้ทำให้จำนวนคนที่ทำงานจากบ้านเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ…

  • เนื่องจากคานากาว่าอยู่ติดกับโตเกียว จึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับคนที่ทำงานในบริษัทในโตเกียวจะเดินทางไปทำงาน
  • ราคาอสังหาริมทรัพย์และค่าเช่าคอนโดมิเนียมถูกกว่าในโตเกียว ด้วยการหันมาใช้ระบบทำงานจากบ้าน ผู้คนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็หันมาสร้างพื้นที่ทำงานที่บ้านกัน และก็ย้ายไปคานากาว่าที่ซึ่งสามารถอาศัยอยู่ในพื้นที่ขนาดใหญ่กว่าที่มีค่าเช่าต่ำกว่าโตเกียวได้

และยังมีอีกเหตุผลที่คานากาว่าได้รับความนิยมในฐานะจุดหมายปลายทางในการย้ายที่อยู่ นั่นก็คือ คุณสามารถอาศัยอยู่ใกล้ทะเล เช่น คามาคุระ เอโนชิมะ และฮายามะได้ จะเล่นกระดานโต้คลื่น เดินเล่นบนชายหาดก่อนไปทำงานก็ได้... ผู้คนที่อยากย้ายไปคานากาว่าเพราะไลฟ์สไตล์นี้ก็มีจำนวนมากขึ้น

ใส่ "จ่าน" หรือ "ดาเบะ" ต่อท้ายประโยค

ใส่ จ่าน หรือ ดาเบะ ต่อท้ายประโยค

จังหวัดคานากาว่าอยู่ติดกับโตเกียว และภาษาญี่ปุ่นที่พูดโดยชาวคานากาว่าก็ไม่ต่างจากภาษาญี่ปุ่นที่คนโตเกียวพูดมากนัก อย่างไรก็ตาม ที่นี่ก็มีคำท้องถิ่นด้วย นั่นก็คือ "จ่าน" และ "ดาเบะ"

"จ่าน" (じゃん / Jan) จะใส่หลังคำคุณศัพท์ ตัวอย่างเช่น ใช้ในแบบ "あなたの服装、かわいいじゃん。" (anata no fukuso, kawaii jan แปลว่า ชุดเธอน่ารักดีนี่) คำว่า “จ่าน” เองไม่ได้มีความหมายพิเศษอะไร ดังนั้นจึงมีความหมายเดียวกับ "เนะ" ใน "あなたの服装、かわいいじゃん。" ((anata no fukuso, kawaii ne แปลว่า ชุดเธอน่ารักดีนะ) ค่ะ

"ดาเบะ" มักแนบท้ายประโยคคำถามเชิงถามให้แน่ใจ เป็นคำท้องถิ่นที่ใช้เมื่อผู้พูดอยากได้ความเห็นร่วมจากบุคคลอื่น ตัวอย่างเช่น "神奈川の人気スポットといったら、横浜だべ?" (kanagawa no ninki supotto to ittara, yokohama dabe? แปลว่า ถ้าพูดถึงจุดยอดนิยมในคานากาว่า ต้องโยโกฮาม่ามั้ยล่ะ?" เป็นความหมายในเชิงถามเพื่อยืนยันว่าอีกฝ่ายหนึ่งก็คิดว่า "ถ้าพูดถึงจุดยอดนิยมมากที่สุดในคานากว่า ก็ต้องพูดถึงโยโกฮาม่า" เหมือนกับนั่นเองค่ะ

กล่าวกันว่าคำท้องถิ่นเหล่านี้ถูกใช้กันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชาวโยโกฮาม่า หากคุณโต้ตอบกับผู้คนในโยโกฮาม่า ลองใช้ภาษาถิ่นเหล่านี้ดูนะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend