จากจังหวัดในญี่ปุ่นทั้งหมด 47 จังหวัด แต่ละที่ก็มีเอกลักษณ์ที่เห็นแล้วก็รู้ทันทีว่าเป็นจังหวัดอะไร ตั้งแต่ประวัติศาสตร์ ธรรมชาติ วัฒนธรรม มุมมองของชีวิต ไลฟ์สไตล์ บางครั้งก็อาจทำให้คนที่มาจากจังหวัดอื่นนั้นแปลกใจเลยทีเดียว ประเทศเกาะอย่างญี่ปุ่นก็ซอยย่อยออกเป็นจังหวัดเล็กๆ แถมยังมีความแตกต่างกันเหลือเกิน แค่ไปเที่ยวอย่างเดียวอาจทำให้เราไม่รู้จักคนจังหวัดนั้นเพียงพอ วันนี้เราจะพาไปเจาะลึกให้รู้จักท้องถิ่นนั้นๆ อย่างแท้จริง สำหรับตอนที่ 3 เราจะพาไปรู้จักกับโอซาก้ากันให้มากขึ้นค่ะ
ใครๆ ก็รู้กันว่า ไม่ว่าบ้านไหนก็มีเครื่องทำทาโกะยากิ
เรียกได้ว่าแทบทุกบ้านนั้นจะมีเครื่องทำทาโกะยากิติดบ้านกันไว้
ซึ่งชาวโอซาก้านั้นใช้ประโยชน์จากเจ้าเครื่องนี้อย่างหลากหลาย และชาวโอซาก้าเองก็ทานทาโกะยากิกับข้าวสวยร้อนๆ เหมือนเป็นกับข้าวอย่างหนึ่ง
ต้องระวัง! คุชิคัตสึห้ามจุ่มซอสซ้ำ
อาหารขึ้นชื่ออีกอย่างของโอซาก้า คุชิคัตสึ เป็นการนำเนื้อ ผักต่างๆ หั่นชิ้นเสียบไม้แล้วชุบแป้งทอด ตามร้านส่วนใหญ่จะตั้งโถซอสให้ลูกค้าจิ้มทาน แต่โถซอสนี้ตั้งไว้ให้ลูกค้าทุกคนใช้จิ้มรวมกัน เพราะฉะนั้นแล้วหากกัดไปแล้วห้ามนำลงจิ้มซอสซ้ำอีกเป็นอันขาด หากต้องการจะจิ้มซอสต้องจิ้มตั้งแต่ก่อนทานครั้งเดียวเท่านั้น
ป้าๆ ชาวโอซาก้ามักพกลูกอมไว้ในกระเป๋า
ชาวโอซาก้าชอบทานลูกอมกันมาก โดยจะเรียกลูกอมว่า "อาเมะจัง" คงเป็นเพราะมีโรงงานผลิตลูกอมอยู่มากที่โอซาก้า ว่าแต่พวกป้าๆ เขาจะพกในกระเป๋ากันไว้ทำไม ว่ากันว่าเมื่อพบกับใครครั้งแรกเขาก็จะยื่นลูกอมให้ทาน เพราะเป็นการสร้างมิตรภาพอย่างหนึ่งและสร้างเรื่องชวนคุยได้ง่าย
ถ้าไม่ใช้คำเลียนเสียงจะคุยไม่ได้
เช่นเวลาบอกทาง เขาจะพูดว่า พอเดินตรงปรู๊ดไปตรงนั้น แล้วเลี้ยวแว่บตรงมุมโน้น แล้วก็จะเห็นแหละ เรียกได้ว่าเป็นสไตล์การพูดแบบชาวโอซาก้า
การสนทนาในชีวิตประจำวันจะเล่นรับส่งมุกตลอด
การรับส่งมุกเป็น ถือว่าช่วยให้การสนทนานั้นสนุกและเป็นกันเองได้มาก ชาวโอซาก็มักชอบคุยติดตลกรับส่งมุกเก่งทีเดียว แต่บางคนก็เก่งเกินไปจนตามไม่ทันเอาได้
ชอบต่อราคา
ลดได้ไม่ได้ไม่รู้ ถึงยังไงชาวโอซาก้าก็ชอบต่อราคาดู โดยมักจะถามก่อนเลยว่า นี่ลดได้อีกหรือเปล่า ของไหนที่ซื้อมาได้ราคาถูกก็มักจะไปอวดเพื่อนว่า คิดว่าฉันซื้อมาได้เท่าไหร่ ถือเป็นหนึ่งความภูมิใจของความสามารถในการซื้อของนั่นเอง
ระยะห่างเวลาคุยใกล้เกินไป ชอบทำตัวสนิทสนม
ชาวโอซาก้านั้นมักจะสนิทชิดเชื้อกับคนอื่นได้ง่ายกว่าชาวจังหวัดอื่น แม้กับคนแปลกหน้าก็ชวนคุยตลอด ถึงขนาดคนที่พบกันครั้งแรกก็ถามถึงรายได้ส่วนตัวอย่างตรงไปตรงมา แต่ความช่างกล้าชวนคุยนี้ สำหรับต่างถิ่นอย่างเราๆ ที่เป็นนักท่องเที่ยวแล้วก็ช่วยให้อุ่นใจได้เยอะ เพราะเวลาหลงทาง หันซ้ายหันขวาไม่รู้จะไปทางไหนดี ก็มักจะมีคนเข้ามาช่วยเหลือ บางครั้งก็ยังใจดีพาไปส่งถึงที่อีกด้วย
เป็นอย่างไรบ้างคะ ส่งความเห็นมาที่ช่องคอมเมนต์ได้เลยค่ะ นี้เป็นรายการบทความหลายตอนต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นรอติดตามรับชมกันในตอนต่อไปด้วยนะคะ ครั้งหน้าเราจะพบกับจังหวัดเกียวโตกัน หรือใครอยากให้แนะนำความเป็นชาวจังหวัดไหนในญี่ปุ่นก็รีเควสต์มาได้เลยนะคะ
Comments