【รวมรวม 47 จังหวัดของญี่ปุ่น】โอซาก้าและเกียวโตเป็นคู่ปรับตลอดกาล!? รวมเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจของคันไซ!

  • 5 กุมภาพันธ์ 2024
  • 13 กรกฎาคม 2023
  • Asami Koga
  • Mon

【รวมรวม 47 จังหวัดของญี่ปุ่น】โอซาก้าและเกียวโตเป็นคู่ปรับตลอดกาล!? รวมเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจของคันไซ!

ในบรรดา 47 จังหวัดในญี่ปุ่น แถบคันไซก็เป็นที่นิยมมากที่สุดสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนญี่ปุ่น เราจึงจะแนะนำเสน่ห์และลักษณะเฉพาะของแต่ละจังหวัดกันค่ะ!

นอกจากนี้ ในช่วงครึ่งหลังของบทความ เราจะเจาะลึกถึง 4 จังหวัดอันได้แก่โอซาก้า เฮียวโงะ เกียวโต และนารา ซึ่งมักถูกเปรียบเทียบกันภายในแถบคันไซค่ะ ถ้าคุณรู้เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเหล่านี้ไว้ ทริปคันไซครั้งหน้าก็อาจจะน่าสนใจขึ้นก็เป็นได้นะคะ!?

ภาพรวมของแถบคันไซ: มารู้ลึกถึงตำแหน่งและลักษณะเฉพาะของแต่ละจังหวัดกันเถอะ!

ในญี่ปุ่นมักจะใช้คำว่า "ตะวันตก" (西 / Nishi หรือ Sai/Sei) และ "ตะวันออก" (東 / Higashi หรือ Tou) เพื่อบ่งชี้แถบพื้นที่ คล้ายกับที่บริษัทการรถไฟชั้นนำของญี่ปุ่นมีชื่อแตกต่างกันตามเขตอำนาจ เช่น JR West และ JR East หนึ่งในคำอธิบายดังกล่าวคือภูมิภาคคันไซ (関西地方 / Kansai Chihou) ทางตะวันตก ซึ่งมักจะคู่กับภูมิภาคคันโต (関東地方 / Kantou Chihou) ทางตะวันออกค่ะ ในส่วนนี้ เราจะมาลงลึกกันถึงความแตกต่างระหว่างคันไซและคันโต และลักษณะของแต่ละจังหวัดในคันไซกันค่ะ

คันไซและคันโตมีวัฒนธรรมอาหารและธรรมเนียมนิยมที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

วัฒนธรรมอาหารและธรรมเนียมนิยมของคันไซ

คันไซและคันโตไม่เพียงต่างกันแค่ชื่อภูมิภาคเท่านั้น แต่ยังรวมถึงขนบธรรมเนียม อาหาร และวัฒนธรรมด้วยค่ะ ตัวอย่างเช่น ที่เข้าใจความแตกต่างของอาหารได้ง่ายมากก็คืออาหารปีใหม่มาตรฐาน โอโซนิ ค่ะ ในภูมิภาคคันโต โมจิสี่เหลี่ยมจะถูกย่างและใช้ในซุป ส่วนตัวซุปก็มักจะปรุงรสด้วยโชยุค่ะ อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ของภูมิภาคคันไซ โอโซนิใช้โมจิทรงกลมเป็นโมจิในซุปโอโซนิ และซุปก็ใช้มิโซะขาวปรุงเป็นหลัก นอกจากนี้ เครื่องปรุงรสของซุปทามาโกะยากิและอุด้งของคันโตและคันไซก็จะแตกต่างกันด้วยค่ะ

อีกอย่างที่เข้าใจได้ง่าย ๆ เลยก็คือ เวลาไปเที่ยวญี่ปุ่นคือต้องยืนฝั่งไหนของบันไดเลื่อน ในญี่ปุ่น เป็นธรรมเนียมสำหรับคนที่ไม่รีบร้อนที่จะยืนด้านหนึ่งเพื่อไม่ให้ขวางทางคนที่รีบร้อนค่ะ สำหรับในคันโต การยืนอยู่ทางฝั่งซ้ายนั้นเป็นเรื่องปกติ ส่วนในคันไซก็นิยมที่จะยืนทางด้านขวากันค่ะ

คำว่า "ภูมิภาคคันไซ" และ "ภูมิภาคคินกิ" ต่างกันอย่างไร?

ภูมิภาคคันไซ

แม้ว่าจะไม่มีคำจำกัดความที่ชัดเจน แต่โดยทั่วไปแล้ว 2 กรุงกับ 5 จังหวัดรวมถึงจังหวัดมิเอะจะเรียกรวมกันว่า "ภูมิภาคคินกิ" (近畿地方 / Kinki Chihou) และคำนี้มักใช้ในหนังสือเรียนของโรงเรียนและหน่วยงานปกครองค่ะ

หากพูดถึง "ภูมิภาคคันไซ" ก็มักจะใช้เพื่อหมายถึง 2 กรุง 4 จังหวัด (จังหวัดชิงะ กรุงเกียวโต กรุงโอซาก้า จังหวัดเฮียวโงะ จังหวัดนารา และจังหวัดะวาคายามะ) แต่บางครั้งก็รวมจังหวัดมิเอะไว้ด้วย บางครั้งก็ยังใช้เรียกพื้นที่แบบเดียวกันกับคำว่าภูมิภาคคินกิค่ะ

เป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวญี่ปุ่น! ลักษณะเฉพาะและสถานที่ท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัดในเขตคันไซ มีอะไรบ้าง?

ปราสาทโอซาก้า

คันไซเป็นจุดหมายท่องเที่ยวยอดนิยมค่ะ! ในส่วนนี้เราจะแนะนำลักษณะพิเศษและสถานที่ที่มีชื่อเสียงของแต่ละจังหวัดกันให้ทราบนะคะ

  • กรุงโอซาก้า: ศูนย์กลางในแถบคันไซ เป็นฐานธุรกิจและการท่องเที่ยว สถานที่เที่ยวยอดนิยม ได้แก่ ปราสาทโอซาก้า โดทงโบริ และยูนิเวอร์แซลสตูดิโอเจแปน (USJ) ค่ะ
  • กรุงเกียวโต: เมืองที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์และประเพณีของญี่ปุ่น วัดคิโยมิสึเดระ วัดคินคะคุจิ และศาลเจ้าใหญ่ฟุชิมิอินาริไทฉะก็มีชื่อเสียงมากค่ะ การเที่ยวชมในช่วงฤดูใบไม้เปลี่ยนสีและฤดูชมดอกซากุระก็เป็นที่นิยมเช่นกันค่ะ
  • จังหวัดเฮียวโงะ: ชื่อเมือง เช่น อำเภอโกเบและอำเภอฮิเมจิ ดูจะมีชื่อเสียงมากกว่าชื่อจังหวัดเสียอีกค่ะ โกเบเป็นที่ตั้งของภูเขารคโคซึ่งมีชื่อเสียงในด้านทิวทัศน์ยามค่ำคืน โกเบฮาร์เบอร์แลนด์ และโกเบพอร์ตทาวเวอร์ ส่วนปราสาทฮิเมจิที่อยู่ในอำเภอฮิเมจิก็เป็นที่รู้จักในฐานะมรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งแรกของญี่ปุ่นค่ะ

  • จังหวัดนารา: มีสถานที่ทางประวัติศาสตร์และวัดทางศาสนาพุทธหลายแห่ง รวมถึงวัดโฮริวจิและพระใหญ่แห่งวัดโทไดจิ สามารถเข้าถึงได้ง่ายโดยรถรางจากเกียวโตและโอซาก้า จึงมีผู้คนมากมายมาที่นี่เพื่อท่องเที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับกันค่ะ
  • จังหวัดวาคายามะ: ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรคิอิ พื้นที่นี้ขึ้นชื่อเรื่องธรรมชาติที่สวยงามและอากาศอบอุ่น มีพื้นที่รีสอร์ทและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น ปราสาทวาคายามะ ชิราฮามะออนเซ็น มรดกโลกคุมาโนะโคะโด และวัดภูเขาโคยะซังค่ะ
  • จังหวัดชิงะ: พื้นที่แห่งความงามทางธรรมชาติรอบทะเลสาบบิวะ มีพรมแดนติดกับจังหวัดฟุคุอิทางทิศเหนือ จังหวัดกิฟุทางทิศตะวันออก จังหวัดมิเอะทางตะวันออกเฉียงใต้ และกรุงเกียวโตทางทิศตะวันตก ทำให้ที่นี่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่สำคัญตั้งแต่สมัยโบราณ ปราสาทฮิโกเนะ และวัดเอ็นเรียคุจิบนภูเขาฮิเอก็มีชื่อเสียงมากค่ะ
  • จังหวัดมิเอะ: มีพรมแดนติดทะเลตั้งแต่ทางทิศตะวันออกไปยังทางตอนใต้ของจังหวัด มีสถานที่ท่องเที่ยวอยู่ประปรายอย่างเช่นศาลเจ้าอิเสะจิงกู นอกจากนี้ยังอยู่ติดกับจังหวัดกิฟุและจังหวัดไอจิ และบางครั้งถูกจัดว่าเป็นภูมิภาคคันไซและคินกิ และบางครั้งก็ถูกจัดว่าเป็นภูมิภาคชูบุด้วยค่ะ

การเที่ยวชมแบบไปเช้าเย็นกลับเป็นเรื่องสามัญประจำบ้าน! มาดูระยะทางและการแข่งขันกันเองระหว่าง 4 จังหวัดอย่างโอซาก้า เกียวโต เฮียวโงะ และนารา!

ภูมิภาคคันไซมีความใกล้ชิดกันมากในแง่ของระยะทางค่ะ คุณสามารถเดินทางระหว่างโอซาก้าและเกียวโตในเวลาเพียง 30 นาทีโดยใช้บริการด่วนพิเศษสาย JR Kyoto! ใช้เวลาประมาณ 20 นาทีระหว่างโอซาก้าและซันโนะมิยะโดยใช้บริการด่วนพิเศษของ JR และใช้เวลาเพียงประมาณ 30-40 นาทีระหว่างเกียวโตและนาราโดยรถไฟ JR และสาย Kintetsu และประมาณ 50 นาทีระหว่างโอซาก้ากับนาราโดยใช้สาย Osaka Loop (สายโอซาก้าคันโจ)

ภูมิภาคคันไซสามารถเข้าถึงได้ง่ายโดยรถไฟ และมีผู้คนจำนวนมากที่เดินทางไปโรงเรียนหรือที่ทำงานข้ามจังหวัด จนถึงไปเที่ยวจังหวัดอื่นแบบไปเช้าเย็นกลับในวันหยุดสุดสัปดาห์ค่ะ ในบทนี้ เราจะแนะนำเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของแต่ละจังหวัด สำเนียงคันไซ และความสัมพันธ์ระหว่างแต่ละจังหวัดที่ถูกหยิบยกไว้ใน "ซีรี่ส์รวบรวม 47 จังหวัดของญี่ปุ่น" ค่ะ!

คู่แข่งตลอดกาล!? การแข่งขันระหว่างโอซาก้ากับเกียวโตกับโกเบ ส่วนนาราก็คอยแอบส่องอยู่เช่นกัน?

คู่แข่ง

関西の方言といえば「関西弁」ですが、あなたがネイティブの関西人に「関西弁ってどんな方言なの?」と聞いた場合、「関西言うても、エリアによって全然違うんやから、“関西弁”って全部一緒にすんな!」と怒られるかもしれません。

ちなみに、最も分かりやすい、大阪弁・京都弁・神戸弁の違いの具体例はこちら。

หากพูดถึงสำเนียงคันไซ ก็เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "คันไซเบ็น" (関西弁) แต่เมื่อคุณถามคนคันไซจริง ๆ ว่า "สำเนียงคันไซเป็นภาษาถิ่นแบบไหน" คุณอาจจะโดนโกรธกลับมาว่า "ถึงจะเป็นคันไซเหมือนกัน แต่แต่ละที่ก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้นอย่าเหมารวมพวกเราเป็น 'ภาษาถิ่นคันไซ' ไปหมดนะ!" ก็เป็นได้ค่ะ

อนึ่ง ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่เข้าใจง่ายที่สุดของความแตกต่างระหว่างสำเนียงโอซาก้า สำเนียงเกียวโต และสำเนียงโกเบค่ะ

ภาษาญี่ปุ่นมาตรฐาน: นานิ โอะ ชิเตะ อิรุ น เดสฺกะ? (何をしているんですか?/ Nani wo shite iru n desu ka? - ทำอะไรอยู่เหรอ?)

โอซาก้า: นานิชิเต็น? (なにしてん?/ Nani shite n?)

เกียวโต: นานิ ชิเตะ ฮารุ (なにしてはる?/ Nani shite haru?)

โคเบะ: นานิ ชิโต? (なにしとぉ?/ Nani shitoo?)


ภาษาญี่ปุ่นมาตรฐาน: โคนาย โนะ? (来ないの? / Konai no? - ไม่มาเหรอ?)

โอซาก้า: เคเฮน? (けーへん? / Ke-hen?)

เกียวโต: โคเฮน? (こーへん?/ Ko-hen?)

โคเบะ: คีฮิน? (きーひん?/ Ki-hin?)


อย่างที่เห็นจากตัวอย่างข้างบนค่ะ การใช้ถ้อยคำและน้ำเสียงจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ นอกจากนี้ จากข้อมูลของผู้ที่มาจากคันไซ คนจากคันไซต่างรู้ดีถึงลักษณะประจำจังหวัดและภาษาถิ่นของแต่ละที่ เช่น โอซาก้า = มีชีวิตชีวาและสดใส เกียวโต = ผู้ดีและสง่างาม และโกเบ = เก๋ไก๋ทันสมัย

เมื่อคนรู้จักของผู้เขียนจากโอซาก้าพูดถึงเกียวโต เขาได้เปิดเผยความรู้สึกของความเป็นคู่แข่งค่ะ โดยกล่าวว่า "แม้ว่าจะเป็นของที่เหมือนกับที่มีในโอซาก้า ทุกอย่างในพื้นที่ท่องเที่ยวกลับมีราคาแพงกว่า'' "คนเกียวโตมีสองด้าน" อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงโกเบ เขากลับพูดถึงภาพลักษณ์เชิงบวก เช่น "ทันสมัย" และ "น่าพิศวงหลงใหล ชอบ" นอกจากนี้เขายังกล่าวว่า "ไม่มีอะไรนอกจากกวาง" และ "ผู้คนในนาราอ่อนโยน" เวลาพูดถึงนารา ความประทับใจในแต่ละจังหวัดนั้นแตกต่างกันเกินจนยากที่จะเชื่อว่าทั้งหมดอยู่ในแถบเดียวกันเลยค่ะ

หลายคนที่มาจากเกียวโตและโกเบก็มักจะภูมิใจในบ้านเกิดของตนอย่าง ดังนั้นจึงดูเหมือนว่ามีหลายคนที่คิดว่า "ไม่อยากถูกเหมารวมไว้กับพวกโอซาก้าที่พูดมาก"

โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวเกียวโตมีความภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่บ้านเกิดของพวกเขาเคยเป็น "เมืองหลวงเก่าของญี่ปุ่น" ค่ะ ใน "การสำรวจไลฟ์สไตล์ปี 2022 ของ 47 จังหวัด" ที่จัดทำโดย Sony Life Insurance ชาวเกียวโตระบุว่าโตเกียวเป็นจังหวัดคู่แข่ง และผู้หญิงบางคนแสดงความคิดเห็นว่าเหตุผลคือ "เพราะทั้งสองที่เป็นเมืองหลวงเก่าและเมืองหลวงปัจจุบัน" ...

อย่างไรก็ตาม ชาวเมืองนาราไม่ได้มีส่วนร่วมในการแข่งขันกันเองระหว่างสามจังหวัดนี้ นี่ไม่ใช่แค่เพราะผู้คนในนารามีความรักสงบ แต่ยังเพราะเป็นที่ชัดเจนว่าในอดีตนาราเคยเป็นเมืองหลวงมาก่อนเกียวโตด้วยนั่นเองค่ะ มีสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่นหลายแห่ง และถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดนาราที่พวกเขายืนหยัดโดยกล่าวว่า "แข่งไปก็ไม่ได้อะไร" (ยังไงเราก็เมืองหลวงเก่าแก่กว่า)

มีอัตลักษณ์มากมายและซับซ้อน! มารู้จักคนท้องถิ่นของโอซาก้า โกเบ เกียวโต และนารากันอย่างละเอียด!

สุดท้ายนี้ เราขอหยิบยก 4 จังหวัดอันได้แก่โอซาก้า โกเบ (เฮียวโงะ) เกียวโต และนารา และแนะนำข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับแต่ละที่มาให้ทราบกันค่ะ

บทสนทนาทุกวันคือการตบมุก! ชาวโอซาก้าทำตัวสนิทสนมกับคนอื่นเมื่อพูดคุย

ซาลาเปาไส้หมู

ชาวโอซาก้า ดินแดนแห่งการแสดงตลก ชอบเรื่องตลกขบขันกันมากค่ะ เงื่อนไขอย่างหนึ่งสำหรับการเป็นที่ชอบพอโดยชาวโอซาก้าก็คือต้องเก่งตามมุกและตบมุก ตัวอย่างเช่น วลี “(551 ga) aru toki⤴” (551があるとき) ในโฆษณาทีวีสำหรับซาลาเปาไส้หมูของ 551HORAI ซึ่งเป็นอาหารจิตวิญญาณของชาวโอซาก้า ก็เหมือนกับโบเคทสึโคมิ (การยิงมุกรอคนตบมุก) หากคุณสามารถกะจังหวะดี ๆ ตอบว่า "551 ga nai toki" ได้แล้วละก็ คุณก็ได้เข้ากลุ่มกับชาวโอซาก้าแล้วค่ะ!

นอกจากนี้ ความรู้สึกเรื่องการเว้นระยะห่างกับผู้อื่นของชาวโอซาก้าก็ยังสนิทใกล้ชิดกว่าจังหวัดอื่นด้วยค่ะ แม้ว่าจะเป็นการพบกันครั้งแรกก็ตาม ตัวอย่างเช่น หลังจากพูดคุยกันเล็กน้อย คุณป้าชาวโอซาก้าก็อาจจะพยายามหยิบลูกอมจากกระเป๋าและมอบให้คนที่รู้สึกสนิทพร้อมพูดว่า "ลูกอมนี้ป้าให้" เลยก็ได้ค่ะ

คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชาวโอซาก้า

เวลาโดนชม จริง ๆ คือโดนเตือน!? ชาวเกียวโตต้องการให้คุณอ่านความหมายโดยนัย

ห้องเสื่อทาทามิ เกียวโต

ชาวเกียวโตเชื่อว่าเป็นการดีกว่าที่จะหลีกเลี่ยงการพูดตรง ๆ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องอ่านความหมายของสิ่งที่พูดและคาดเดาสิ่งที่กำลังสื่อโดยนัยค่ะ

ตัวอย่างเช่น ในร้านอาหารสไตล์ญี่ปุ่น หากคุณเจอฉากที่พนักงานถามลูกค้าว่า "กลิ่นดีจัง คุณใช้น้ำหอมกลิ่นอะไรคะ?" นั่นหมายความว่า "อย่าใส่น้ำหอมกลิ่นแรงขนาดนี้เวลาจะมาร้านอาหาร" ค่ะ นอกจากนี้ หากคุณเห็นพ่อแม่ที่มีลูกกำลังโดนบอกว่า "อุ๊ย ลูกคุณเป็นเด็กร่าเริงมากเลยค่ะ" จริง ๆ แล้วหมายความว่า "ช่วยทำให้ลูกอยู่เงียบ ๆ หน่อย" ต่างหากค่ะ เป็นเรื่องยากแม้สำหรับคนญี่ปุ่นด้วยกันเองที่จะเข้าใจความหมายที่แท้จริงของชาวเกียวโตค่ะ!

คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชาวเกียวโต

ชาวเฮียวโงะมักจะบอกว่ามาจากโกเบแทนจังหวัดเฮียวโงะ

เฮียวโงะ

ชาวเฮียวโงะมีความภาคภูมิใจในอำเภอของตนมากกว่าตัวจังหวัดเองเสียอีก แม้ว่าเมื่อถูกถามว่าเกิดที่ (จังหวัด) ไหน พวกเขามักจะตอบว่า "อำเภอโกเบ" "อำเภอนิชิมิยะ" "อำเภอฮิเมจิ" และ "อำเภออาชิยะ" เป็นต้นแทนค่ะ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อำเภอโกเบเป็นเมืองท่าที่ทันสมัย ดึงดูดแฟชั่นระดับโลกและบริษัทยักษ์ใหญ่มากมาย ทำให้ที่นี่เป็นจุดหมายปลายทางในฝันแม้จากคนที่อยู่ในจังหวัดเดียวกันเองก็ตามค่ะ เมื่อพูดคุยกับผู้คนจากจังหวัดอื่น ดูเหมือนว่ามีหลายคนที่รู้สึกว่า "โกเบมีภาพลักษณ์ที่ดีกว่าเฮียวโก!" ด้วยค่ะ

คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชาวเฮียวโงะ

ชาวนาราคุ้นเคยกับสถานที่ทางประวัติศาสตร์มากเกินไป

แหล่งขุดค้นทางโบราณคดี

นาราซึ่งมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นขุมสมบัติของโคฟุง (เนินฝังศพ: สุสานโบราณที่มีเนินดินสูง) และสุสาน (หลุมฝังศพของราชวงศ์) เมื่อคุณเดินไปรอบ ๆ จังหวัด คุณมักจะเจอเนินเขาเล็ก ๆ และสวนสาธารณะสีเขียว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่า อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามันจะหายากสำหรับนักท่องเที่ยว แต่ก็ไม่ได้หายากเลยสำหรับคนในท้องถิ่น ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่เด็ก ๆ จะวิ่งไปรอบ ๆ และเล่นบนเนินสุสานและรอบ ๆ หลุมฝังศพ อนึ่ง เป็นเรื่องปกติของนาราที่จะทำการขุดค้นก่อนที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ เนื่องจากอาจจะมีการค้นพบเจออะไรใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้เมื่อทำการขุดดิน ซากปรักหักพังและสุสานโบราณก็ถูกค้นพบติด ๆ กันทุกครั้งที่พยายามจะหาทำเลสร้างบ้าน จนชาวนาราบางคนถึงกับคร่ำครวญว่า "คงไม่สามารถสร้างบ้านในจังหวัดได้ตลอดชีวิต" ... นี่แหละค่ะ นารา ที่ที่โบราณสถานล้ำค่าอยู่ในชีวิตประจำวันค่ะ

คลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชาวนารา

หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend