【วัฒนธรรมญี่ปุ่น】สรุปความรู้พื้นฐานที่ควรรู้ไว้ก่อนจะไปดูใบไม้เปลี่ยนสีที่ญี่ปุ่น

  • 15 พฤศจิกายน 2022
  • Jacky Wong
  • Mon

【วัฒนธรรมญี่ปุ่น】สรุปความรู้พื้นฐานที่ควรรู้ไว้ก่อนจะไปดูใบไม้เปลี่ยนสีที่ญี่ปุ่น

ฤดูใบไม้ร่วงแล้ว! ถึงฤดูกาลแห่งใบไม้เปลี่ยนสีแล้วครับ

เมื่อย่างเข้าสู่เดือนพฤศจิกายน ฤดูกาลแห่งใบไม้เปลี่ยนสีซึ่งมีเพียงปีละครั้งก็จะถึงจุดสูงสุด  ต่อจากบทความเรื่องมารยาทการชมซากุระและสิ่งที่ต้องนำมาที่ควรรู้ไว้ก่อนไปเยือนญี่ปุ่นในฤดูใบไม้ผลิที่เคยลงไปในในฤดูกาลซากุระบาน ครั้งนี้ผมจะมาแนะนำความรู้พื้นฐานที่คุณควรรู้ไว้ก่อนไปเยือนจุดชมใบไม้เปลี่ยนสีกันครับ!

ผู้ที่กำลังจะเดินทางไปญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกเพื่อชมใบไม้เปลี่ยนสีควรเตรียมตัวให้พร้อม และแม้แต่ผู้มาเยือนประจำที่เคยไปญี่ปุ่นมาหลายครั้งแล้วในช่วงฤดูใบไม้ร่วงก็ควรลองทบทวนความรู้ก่อนมาญี่ปุ่นกันด้วยครับ!

เวลาที่ดีที่สุดในการชมใบไม้เปลี่ยนสีในญี่ปุ่นคือช่วงใด?

เวลาที่ดีที่สุดในการชมใบไม้เปลี่ยนสีในญี่ปุ่นคือช่วงใด?
ใบไม้เปลี่ยนสีที่อาราชิยามะ กรุงเกียวโต

ก่อนวางแผนการเดินทางไปญี่ปุ่น เรามาทำความเข้าใจช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการชมใบไม้เปลี่ยนสีในส่วนต่าง ๆ ของญี่ปุ่นกันก่อนดีกว่าครับ ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการชมใบไม้เปลี่ยนสีของทุกปีมีดังนี้ครับー

  • ภูมิภาคฮอกไกโด/โทโฮคุ:
    ต้นเดือนตุลาคมถึงปลายเดือนพฤศจิกายน
  • ภูมิภาคคันโต/โคชิน/โทไก:
    ปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม
  • ภูมิภาคคินกิ/ชูโกคุ/ชิโกกุ/คิวชู:
    ต้นเดือนธันวาคมถึงกลางเดือนธันวาคม

อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าของการเปลี่ยนสีของใบไม้จะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพอากาศของปี ดังนั้น ขอแนะนำให้ตรวจสอบการพยากรณ์เวลาที่ดีที่สุดเพื่อดูใบไม้เปลี่ยนสีที่ประกาศโดยแต่ละสถานที่ก่อนออกเดินทาง

เมื่อพูดถึงเว็บไซต์ที่โพสต์การพยากรณ์ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการชมใบไม้เปลี่ยนสี สื่อพยากรณ์อากาศอย่างเป็นทางการ "tenki.jp" ของ Japan Weather Association และ "weathernews.jp" ที่ดำเนินการโดย Weathernews Co., Ltd. ก็เป็นอันดับต้น ๆ ในด้านนี้ ช่วงตั้งแต่ประมาณต้นเดือนตุลาคมของทุกปี เว็บไซต์เหล่านี้จะแจ้งถึงเวลาที่ดีที่สุดในการชมใบไม้เปลี่ยนสีทั่วประเทศพร้อมแผนที่ และอัปเดตข้อมูลล่าสุดเป็นประจำในช่วงฤดู ลองไปใช้งานตอนที่รวบรวมข้อมูลใบไม้ร่วงของจุดหมายปลายทางที่เลือกดูนะครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง:

เวลาที่ดีที่สุดในการชมใบไม้เปลี่ยนสีในญี่ปุ่นคือช่วงใด?
ใบไม้เปลี่ยนสีที่ภูเขาอาซาฮิดาเกะ จังหวัดฮอกไกโด

ภูเขาอาซาฮิดาเกะมีระดับความสูง 2,291 เมตร ตั้งอยู่ภายในอุทยานแห่งชาติไดเซ็ตสึซังในจังหวัดฮอกไกโด เป็นที่รู้จักในฐานะ "จุดที่คุณสามารถมองเห็นใบไม้เปลี่ยนสีได้เร็วที่สุดในญี่ปุ่น" เนื่องจากเริ่มมีการเปลี่ยนสีตั้งแต่ปลายเดือนสิงหาคม คุณจึงสามารถเห็นใบไม้เปลี่ยนสีได้เร็วกว่าที่อื่นตั้งแต่ช่วงกลางเดือนกันยายนเลยครับ

เวลาที่ดีที่สุดในการชมใบไม้เปลี่ยนสีในญี่ปุ่นคือช่วงใด?
ใบไม้เปลี่ยนสีที่อาตามิไบเอ็น จังหวัดชิซุโอกะ

ในทางกลับกัน สวนบ๊วย อาตามิไบเอ็น ในอำเภออาตามิ จังหวัดชิซุโอกะ ก็ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น "ฤดูใบไม้เปลี่ยนสีที่ช้าที่สุดในญี่ปุ่น" ครับ เวลาที่ดีที่สุดในการชมใบไม้เปลี่ยนสีก็คือตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม และดอกบ๊วยจะเริ่มบานประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน ดังนั้นหากช่วงเวลาบังเอิญคาบเกี่ยวกัน คุณก็อาจจะได้ชมทั้งใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วงและดอกบ๊วยบานไปพร้อมกันครับ

ข้อมูลสถานที่

  • ชื่อสถานที่: อาตามิไบเอ็น (熱海梅園 / Atami Baien)
  • ที่ตั้ง: 8-11 Baien-cho, Atami-shi, Shizuoka
  • การเดินทาง: ประมาณ 15 นาทีโดยรถบัสที่มุ่งหน้าไปยัง ฺBaien/Ainohara จากสถานี JR Atami เดินต่ออีกประมาณ 2 นาทีจากป้ายรถบัส Baien

ช่วงเวลาเริ่มเปลี่ยนสีของใบไม้เปลี่ยนสีจะแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค ตั้งแต่ช่วงปลายฤดูร้อนถึงต้นฤดูหนาว คุณก็สามารถหาชมได้ที่ไหนสักแห่งทั่วประเทศญี่ปุ่น ดังนั้นเลือกจุดหมายปลายทางในเหมาะกับตารางเวลาของคุณกันนะครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง:

"แนวปะทะใบไม้เปลี่ยนสี" คืออะไร? 5 คำที่ใช้บ่อยเกี่ยวกับใบไม้ร่วง

เมื่อตัดสินใจเลือกจุดหมายปลายทางและจองเที่ยวบินและที่พักได้แล้ว สิ่งที่เหลือก็แค่คือตื่นเต้นไปกับการรวบรวมข้อมูล! คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับใบไม้เปลี่ยนสีจะมีประโยชน์มากในช่วงเวลาดังกล่าว มาเรียนรู้คำศัพท์ที่มักใช้ในสื่อญี่ปุ่นและรับรู้ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับใบไม้ร่วงกันบ้างครับ

โมมิจิการิ (紅葉狩り / Mo-mi-ji Ga-ri) - การล่าใบไม้เปลี่ยนสี

โมมิจิการิ (紅葉狩り / Mo-mi-ji Ga-ri) - การล่าใบไม้เปลี่ยนสี
ใบไม้เปลี่ยนสีที่หุบเขานารุโกะ จังหวัดมิยางิ

เป็นคำเก่าที่ปรากฏในกวีนิพนธ์วากะที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น ซึ่งก็คือ "มันโยชู" (万葉集 / Manyoshu) และมีความหมายว่า "ออกไปชมใบไม้เปลี่ยนสี" นอกจากนี้ยังมีทฤษฎีที่ว่า การที่ใช้ตัวอักษรคันจิ "狩り" (kari) ซึ่งแปลว่าว่า "ล่าสัตว์" นั้น เป็นเพราะสมัยก่อนพวกขุนนางและชนชั้นสูงนิยมใช้คำว่า "ล่าสัตว์" นี้เป็นเปรียบเปรยนี้ในการชื่นชมธรรมชาตินั่นเองครับ

โมมิจิเซ็นเซ็น (紅葉前線 / Mo-mi-ji Ze-n-se-n) - แนวปะทะใบไม้เปลี่ยนสี

โมมิจิเซ็นเซ็น (紅葉前線 / Mo-mi-ji Ze-n-se-n) - แนวปะทะใบไม้เปลี่ยนสี
ใบไม้เปลี่ยนสีบนเส้นทางแอลป์ทาเตยามะคุโรเบะ จังหวัดโทยามะ & จังหวัดนากาโนะ

เป็นแนวเส้นที่เชื่อมช่วงเวลาและสถานที่ที่ใบไม้เปลี่ยนสีของต้นเมเปิลและแปะก๊วยกำลังเริ่มหรืออยู่ในช่วงพีค เป็นศัพท์คล้ายคำว่าแนวปะทะอากาศเย็นในพยากรณ์อากาศนั่นเอง ช่วงประมาณต้นเดือนตุลาคม แนวเส้นจะออกจากฮอกไกโดทางทิศเหนือ และไปจนถึงคาโกชิมะทางทิศใต้ในช่วงต้นเดือนธันวาคม (เนื่องจากโอกินาว่ามีภูมิอากาศแบบกึ่งเขตร้อนและอากาศอบอุ่นตลอดทั้งปี จึงเป็นเรื่องยากที่จะเห็นใบไม้เปลี่ยนสี ยกเว้นพืชสีแดงบางชนิด)

นอกจากนี้ ตรงกันข้ามกับ "แนวปะทะใบไม้เปลี่ยนสี" ก็ยังมีคำว่า "ซากุระเซ็นเซ็น" (桜前線 / Sa-ku-ra Ze-n-se-n) ซึ่งหมายถึงวันที่คาดการณ์กันว่าดอกซากุระจะบานสะพรั่งตามพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่นในช่วงฤดูกาลดอกซากุระบานในฤดูใบไม้ผลิด้วยครับ

นิฮอนโคโยโนะเมโชะเฮียคคุเซ็น (日本紅葉の名所100選 / Ni-hon Ko-u-yo-u no Me-i-sho Hya-ku-se-n) - 100 อันดับจุดชมใบไม้เปลี่ยนสีในญี่ปุ่น

นิฮอนโคโยโนะเมโชะเฮียคคุเซ็น (日本紅葉の名所100選 / Ni-hon Ko-u-yo-u no Me-i-sho Hya-ku-se-n) - 100 อันดับจุดชมใบไม้เปลี่ยนสีในญี่ปุ่น
ใบไม้เปลี่ยนสีที่ภูเขาทาคาโอะ มหานครโตเกียว

จากจุดชมใบไม้ร่วงประมาณ 680 แห่งทั่วประเทศที่ได้รับการคัดเลือกโดยสมาคมการท่องเที่ยวญี่ปุ่นในปี 2010 แล้วนำมาคัดเลือกอย่างพิถีพิถันให้เหลือเพียง 100 แห่งโดยสำนักพิมพ์ชูฟุโนะโทโมะฉะ (主婦の友社 / Shufunotomosha) ในบรรดาที่ที่ถูกเลือกมาก็มีช่องเขานารุโกะในจังหวัดมิยากิ ภูเขาทาคาโอะในมหานครโตเกียว และร่องเขาคันคะเคในจังหวัดคางาวะครับ

ซากุระโมมิจิ (桜紅葉 / Sa-ku-ra Mo-mi-ji) - ใบไม้เปลี่ยนสีของต้นซากุระ

ซากุระโมมิจิ (桜紅葉 / Sa-ku-ra Mo-mi-ji) - ใบไม้เปลี่ยนสีของต้นซากุระ

ใบไม้เปลี่ยนสีต้นซากุระที่อำเภอนีงาตะ จังหวัดนีงาตะ

©Niigata Visitors & Convention Bureau

หมายถึงการเปลี่ยนสีเป็นสีแดงของใบต้นซากุระในฤดูใบไม้ร่วง ซากุระอาจมีภาพลักษณ์ติดตาเกี่ยวกับ “ฤดูใบไม้ผลิ” และ “สีชมพู” แต่ในความเป็นจริงแล้ว ใบไม้ของต้นซากุระเองก็เปลี่ยนเป็นสีแดงเช่นกัน ในบรรดาซากุระนั้น สายพันธุ์โซเมโยชิโนะ ซึ่งเป็นที่คุ้นเคยอย่างดีในหมู่นักท่องเที่ยว ก็ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีใบไม้เปลี่ยนสีที่สวยงามกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ครับ

อาโอโมมิจิ (青紅葉 / A-o Mo-mi-ji) - ใบเมเปิ้ลสีเขียว

อาโอโมมิจิ (青紅葉 / A-o Mo-mi-ji) - ใบเมเปิ้ลสีเขียว
ใบเมเปิ้ลสีเขียวที่สวนและพิพิธภัณฑ์ศิลปะโชคะโด อำเภอยาวาตะ กรุงเกียวโต

แม้ว่าจะใช้ตัวคันจิ "青" ที่แปลว่า "สีน้ำเงิน" แต่จริง ๆ แล้วหมายถึงใบเมเปิ้ลสีเขียวที่ยังไม่เปลี่ยนเป็นสีแดงในช่วงตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคมครับ โดยเฉพาะในกรุงเกียวโตมีจุดชมใบไม้สีเขียวขึ้นชื่อมากมาย เช่น บริเวณรอบสถานีเกียวโต กิอง วัดคิโยมิซุ ซากาโนะ-อาราชิยามะ และว่ากันว่ามีมีนักท่องเที่ยวค่อนข้างน้อยกว่าในฤดูสีเขียวสด ทำให้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเพลิดเพลินกับใบเมเปิ้ลสีเขียวกันมากขึ้นในฐานะสิ่งประจำต้นฤดูร้อนครับ

ข้อมูลสถานที่

  • ชื่อสถานที่: สวนและพิพิธภัณฑ์ศิลปะโชคะโด อำเภอยาวาตะ (八幡市立 松花堂庭園・美術館 / Shokado Garden and Art Museum)
  • ที่ตั้ง: 43-1 Yawata Ominaeshi, Yawata-shi, Kyoto
  • การเดินทาง: ประมาณ 10 นาทีโดยรถยนต์จากสถานี "Iwashimizu Hachimangu" ของ Keihan Railway

เกร็ดความรู้ที่ควรรู้ไว้ ①: “紅葉 = ใบไม้แดง” นั้นไม่ได้เป็นจริงเสมอไป!?

ในบรรดาผู้อ่าน FUN! JAPAN ก็คงมีหลายคนที่กำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นกันอยู่สินะครับ จากนี้ไปผมจะมาเจาะลึกและอธิบายเกี่ยวกับใบไม้เปลี่ยนสีกันครับ

ใบไม้เปลี่ยนสีที่สระคุโมบะ คารุอิซาวะ จังหวัดนางาโน่

ในภาษาญี่ปุ่น หากพูดถึง "紅葉" (ใบไม้สีแดง) หมายถึงปรากฏการณ์ที่ใบไม้ของพืชเปลี่ยนสีระหว่างช่วงฤดูใบไม้ร่วงไปจนถึงฤดูหนาว แต่เนื่องจากมีคันจิของ "紅" (beni หรือ kurenai สีแดงเข้ม) จึงมีภาพลักษณ์ว่าเป็นใบไม้สีแดง อย่างไรก็ตาม สีแดงก็ไม่ใช่สีเดียวที่ใบไม้จะเปลี่ยนสีไปเป็นครับ

โดยทั่วไป "โคโย" (こうよう / Ko-u-yo-u') ซึ่งหมายถึงการที่ใบไม้เปลี่ยนเป็นสีแดง จะเขียนด้วยคันจิว่า "紅葉" แต่ถ้าใบไม้เปลี่ยนเป็นสีเหลือง จะเขียนว่า "黄葉" (Ko-u-yo-u โคโย) แทนครับ 

ในความหมายกว้าง ๆ คำว่า "紅葉" เป็นคำเรียกรวมสำหรับทั้ง 3 สี อันได้แก่ "ใบไม้สีแดง" "ใบไม้สีเหลือง" และ "ใบไม้สีน้ำตาล" (褐葉 / ka-tsu-yo-u) ด้วย คำนี้ยังใช้เป้นคำนามกิริยา หมายถึงปรากฏการณ์การเปลี่ยนสีของใบของพืชอีกต่างหาก

เกร็ดความรู้ที่ควรรู้ไว้ ②: อะไรคือความแตกต่างระหว่าง "โคโย" (Ko-u-yo-u) และ "โมมิจิ" (Mo-mi-ji)?

เกร็ดความรู้ที่ควรรู้ไว้ ②: อะไรคือความแตกต่างระหว่าง โคโย (Ko-u-yo-u) และ โมมิจิ (Mo-mi-ji)?
ใบไม้เปลี่ยนสีที่ชิราคาวาโกะ จังหวัดกิฟุ

หากคุณเป็นผู้อ่าน FUN! JAPAN ที่กำลังเรียนภาษาญี่ปุ่นอยู่ คุณอาจเคยเห็นคำว่า "โมมิจิ" (もみじ / Mo-mi-ji) ที่เขียนด้วยคันจิว่า "紅葉" สินะครับ บางคนอาจคิดว่า ความหมายมันก็เหมือนกันหมดไม่ใช่เหรอ? แต่ "โมมิจิ" โดยพื้นฐานแล้วเป็นคำที่ใช้เรียกตัวพืชเอง และไม่รวมถึงความหมายของปรากฏการณ์การเปลี่ยนสีของใบไม้ครับ

อย่างไรก็ตาม "โมมิจิ" ยังเป็นคำลับ (คำและวลีที่เข้าใจได้เฉพาะกลุ่มเท่านั้น) ซึ่งหมายถึงเนื้อกวางด้วย

เกร็ดความรู้ที่ควรรู้ไว้ ③: อะไรคือความแตกต่างระหว่าง "โมมิจิ" (紅葉 - もみじ / Mo-mi-ji) และ "คาเอเดะ" (楓 - かえで / Ka-e-de)?

เนื่องจากลักษณะที่คล้ายคลึงกัน "楓" (kaede / คาเอเดะ) มักจะถูกจำสับสนกันกับ "紅葉" (momiji / โมมิจิ) แต่หากพูดในแง่พฤกษศาสตร์แล้ว โมมิจิจัดเป็นคาเอเดะ (เมเปิ้ล) ชนิดหนึ่ง และทั้งคู่ก็อยู่ในสกุลเมเปิ้ล (คาเอเดะในภาษาญี่ปุ่น) ครับ ในญี่ปุ่น ใบที่มีรอยหยักลึกมักเรียกว่า "○○โมมิจิ" และใบที่มีรอยหยักตื้น จะเรียกว่า "○○คาเอเดะ" แต่ก็ไม่มีความแตกต่างที่ชัดเจนระหว่างทั้งสอง และว่ากันว่ามีเพียงคนญี่ปุ่นเท่านั้นที่แบ่งแยกความแตกต่างชัดเจนแบบนี้ อาจจะเป็นเพราะมีคำแรกต่างกันสองคำก็เป็นได้ครับ

เกร็ดความรู้ที่ควรรู้ไว้ ③: อะไรคือความแตกต่างระหว่าง โมมิจิ (紅葉 - もみじ / Mo-mi-ji) และ คาเอเดะ (楓 - かえで / Ka-e-de)?

ใบไม้ที่มีรอยหยักลึก (ซ้าย) เรียกว่าโมมิจิ ในขณะที่ใบที่มีรอยหยักตื้น (ขวา) ซึ่งคงคุ้นตากันจากธงชาติแคนาดา เรียกว่าคาเอเดะครับ

ภาคผนวก: แปะก๊วยก็นับเป็น "โคโย" ด้วย?

ภาคผนวก: แปะก๊วยก็นับเป็น โคโย ด้วย?
ต้นแปะก๊วยในเมจิจิงงูไกเอ็น มหานครโตเกียว

แปะก๊วย (いちょう / I-cho-u) ก็เป็นอีกหนึ่งภาพที่งดงามที่สามารถเพลิดเพลินได้ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง พืชนั้นจัดอยู่ในสกุล Ginkgo ของวงศ์ Ginkgo biloba และก็ไม่ได้จัดอยู่ในประเภทเดียวกับ "โมมิจิหรือคาเอเดะ" (เมเปิ้ล) แต่ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ซึ่งเรียกว่า "黄葉" (Ko-u-yo-u / โคโย) ครับ

ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นครับ เมื่อใบไม้เปลี่ยนเป็นสีเหลือง คันจิจะถูกเขียนเป็น "黄葉" แทนการเขียนว่า "紅葉"แต่ก็ใช้คำกิริยาว่า "紅葉する" (Ko-u-yo-u su-ru / โคโยสุรุ เปลี่ยนสี) แม้ว่าการออกเสียงจะเหมือนกัน แต่คันจิก็ต่างกันเล็กน้อยและความหมายก็ต่างกันไปโดยสิ้นเชียงครับ น่าสับสนอย่างยิ่งเลยเชียว!

หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend