เรื่องราวลี้ลับและสยองขวัญ ตอนที่ 19: ชิจิโกะซัง งานฉลองรับขวัญเด็ก และต้นกำเนิด

  • 11 มิถุนายน 2020
  • 8 พฤศจิกายน 2018
  • Mon
  • Mon

เรื่องราวลี้ลับและสยองขวัญ ตอนที่ 19: ชิจิโกะซัง งานฉลองรับขวัญเด็ก และต้นกำเนิด

เดือนพฤศจิกายนเป็นเดือนแห่งการฉลองรับขวัญสำหรับเด็กๆหลายคน โดยเฉพาะเด็กที่มีอายุ 7 ขวบ 5 ขวบ และ 3 ขวบ ซึ่งจะเห็นได้จากเด็กเล็กๆบางคนสวมใส่ชุดกิโมโนหรือฮากามะตามแบบญี่ปุ่นไปที่ศาลเจ้ากับครอบครัว นั่นแหล่ะครับ งานฉลองชิจิโกะซัง หรือ 七五三

"ชิจิโกะซัง" คืออะไร

ถ้าว่าตามชื่อ ชิจิโกะซัง 七五三 ก็แปลตามตัวว่า 7-5-3 ในภาษาญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นการฉลองรับขวัญเด็กที่มีอายุครบ 7 ขวบ 5 ขวบและ 3 ขวบ ตัวงานมีวันเวลาอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 พฤศจิกายนของทุกปี แต่ในปัจจุบันก็มีการไปไหว้ศาลเจ้าก่อนวันจริงเพื่อหลีกเลื่องผู้คนหรือไปในวันที่สะดวกหากวันจริงเป็นวันธรรมดา

A girl at the shrine for Shichi-Go-San

ในการฉลองแบบปัจจุบัน ทั้งเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงจะฉลองชิจิโกะซังเพียง 2 ครั้งเท่านั้น โดยตอน 3 ขวบจะมีการฉลองทั้งเด็กชายและเด็กหญิง ส่วนตอน 5 ขวบจะฉลองเฉพาะเด็กผู้ชาย และตอน 7 ขวบจะเป็นงานเฉพาะเด็กผู้หญิง ส่วนศาลเจ้าที่ไปจะเป็นที่ใดก็ได้ จะศาลเจ้าใกล้บ้านก็ได้ ศาลเจ้าชื่อดังไกลๆก็ดี

ต้นกำเนิดของชิจิโกะซัง

Hakama: a kilt/skirt to wear with Kimono

ในยุคสมัยเฮอัน (พ.ศ. 1347-1185) เด็กๆในตระกูลผู้ดีหรือตระกูลนักรบ ทั้งชายและหญิง จะโกนผมจนกว่าจะถึงอายุ 3 ขวบ และจะเข้าพิธี คามิโอคิโนะกิ (髪置きの義 พิธีไว้ผม) ก่อนจึงค่อยเริ่มไว้ผมยาว ครั้นพอถึงอายุ 5-7 ขวบ จึงเริ่มสวมฮากามะเป็นครั้งแรกในพิธี ฮากามะกิโนะกิ (袴着の義 พิธีสวมฮากามะ) หรือพิธี ชักโกะโนะกิ (着袴の義 พิธีใส่ฮามากะ).

พอถึงสมัยคามาคุระ (พ.ศ. 1728-1876) ก็มีการจัดพิธีเปลี่ยนสายคาดเอวเวลาสวมกิโมโนจากเชือก (紐 ฮิโมะ) เป็นสายโอบิ (帯) ซึ่งเรียกว่า พิธีโอบิโทคิโนะกิ (帯解の義) เข้าสมัยมุโรมาจิ (พ.ศ. 1879-2116) พิธีคามิโอคิโนะกิก็เริ่มแพร่หลายสู่สามัญชนเนื่องจากสามารถปฏิบัติได้ไม่เกี่ยงชาติตระกูล ส่วนพิธีอื่นๆต้องเป็นผู้มีอันจะกินจึงสามารถซื้อเสื้อผ้าดีๆมาสวมใส่ได้ พอถึงช่วงต้นสมัยเอโดะ (พ.ศ. 2146) มีการปรับเปลี่ยนให้เฉพาะเด็กผู้ชายเท่านั้นที่เข้าพิธีฮากามะกิโนะกิ พอถึงช่วงปลายสมัยเอโดะ (พ.ศ. 2411) มีการแยกการเข้าร่วมพิธีโอบิโทคิโนะกิ โดยเด็กผู้ชายจะเข้าร่วมตอน 5 ขวบ ส่วนเด็กผู้หญิงเข้าร่วมตอน 7 ขวบ

สายคาดเอว โอบิ

จนกระทั่งสมัยเมจิ (พ.ศ. 2411-2455) พิธีทั้งสามก็เรียกรวมๆกันว่า ชิจิโกะซัง () แต่ธรรมเนียมปฏิบัติก็เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ในช่วงแรกก็ถือปฏิบัติเฉพาะใหมู่ชนชั้นสูงและผู้มีอันจะกิน แต่ก็แพร่หลายเข้าสู่คนทั่วไปอีกครั้งเมื่อชุดกิโมโนสามารถหาซื้อได้ทั่วไป ซึ่งกลายเป็นรากฐานของพิธีชิจิโกะซังในปัจจุบัน

อดีตอันน่าหดหู่ที่นำไปสู่การกำเนิดพิธีชิจิโกะซัง

ยุคที่อัตราการเสียชีวิตในวัยเด็กสูง

ในยุคสมัยที่วิทยาศาสตร์ด้านการแพทย์ไม่ได้พัฒนาเหมือนในปัจจุบัน อัตราการเสียชีวิตในวัยเด็กก่อนอายุ 7 ขวบมีสูงมาก ในญี่ปุ่นสมัยนั้นจึงมีคำกล่าวที่ว่า เด็กที่อายุยังไม่ถึง 7 ขวบเป็น "เด็กของเทพ" (神の子) ซึ่งหมายถึง เทพต่างๆอาจจะมาขอรับตัวกลับไปเมื่อไหร่ก็ได้ การเติบโตจนมีอายุเกิน 7 ขวบจึงถือเป็นเรื่องมหัศจรรย์มากในสมัยนั้น เนื่องจากในช่วงอายุระหว่างที่ฟันน้ำนมขึ้นตอน 3 ขวยจึงถึง 7 ขวบเป็นช่วงที่เสี่ยงต่อการป่วยหรือเป็นโรคต่างๆได้ง่าย แต่เดิมการฉลองชิจิโกะซังจึงเป็นการไหว้ขอพรเทพพระเจ้าให้เด็กเติบโตอย่างมีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง

การกำหนดวัน

การกำหนดวันอย่างเป็นทางการให้เป็นวันที่ 15 พฤศจิกายนนั้น มีความเกี่ยวข้องกับการที่โทกุกาว่า อิเอมิตสึ เริ่มสวดภาวนาให้บุตรของตน โทกุกาว่า สึนาโยชิ ในวันพิเศษวันหนึ่ง

หาดอินาสะโนะฮามะ และโขดหินเบ็นเท็น

เดือนนี้ถูกเลือกเนื่องจากในปฏิทินโบราณ เดือนสิบเป็นเดือนที่เทพทุกองค์จะไปรวมตัวกันที่ศาลเจ้าใหญ่อิสึโมะ (出雲大社 อิสึโมะไทฉะ) ในจังหวัดชิมาเนะ (เชื่อกันว่าจะไปถึง ณ ที่หาดอินาสะโนะฮามะ 稲佐の浜) ดังนั้นเดือนนี้จึงมีชื่อเรียกว่า คามิอะริสึกิ (神在月 เดือนมากเทพ) ในแถบอิสึโมะ ส่วนที่อื่นมีชื่อเรียกว่า คันนะสึกิ (神無月 เดือนไร้เทพ) แต่ก็อย่างที่เคยได้กล่าวไปในบทความก่อน ปฏิทินสุริยคติจะเร็วกว่าปฏิทินจันทรคติของจีนไปหนึ่งเดือน จึงเหมือนงานโอบง บางพื้นที่ก็ยึดตามตัวเลขและจัดพิธีในเดือนตุลาคม ส่วนบางพื้นที่ก็คำนึงถึงความต่างและจัดงานในเดือนพฤศจิกายนตามระบบช้าหนึ่งเดือน

ยักษ์หลับไหล

ในระบบปฏิทินโหราศาสตร์จีนแบบ 28 คฤหาสน์ (二十八宿) วันพระจันทร์เต็มดวง (ขึ้น 15 ค่ำ หรือวันที่ 15 ตามปฏิทินจันทรคติจีน) ถือเป็นวันที่"อสูรหลับไหล" (อสูร หรือ โอนิ ไม่ออกมาเพ่นพ่าน) จึงถือเป็นวันดี แต่ก็เช่นเดียวกับโอบง การนับวันก็ทำให้ง่ายขึ้นตามปฏิทินสุริยคติโดยถือเป็นวันที่ 15 แทนวันพระจันทร์เต็มดวง บางตำราก็บอกว่าการเลือกวันมาจากผลรวมของเลข 7+5+3 ซึ่งได้ผลลัพธ์เท่ากับ 15 พอดี

เพลงประกอบการละเล่นเด็ก: บันทึกเรื่องราวที่เขียนลงเป็นตัวหนังสือไม่ได้

The Narrow Path to Tenjin-Sama

ในเพลงประกอบการละเล่นเด็ก โทริอันเสะ (通りゃんせ การเล่นรีรีข้าวสาร) แม้ว่าจะไม่ได้กล่าวถึงงานชิจิโกะซังโดยตรงก็ตาม แต่ก็มีเนื้อเพลงที่กล่าวถึงการเดินทางไปหาเทพ เท็นจินซามะ (天神様) เพื่อไหว้พระขอพรรับขวัญให้เด็กที่อายุครบ 7 ขวบอยู่ด้วยส่วนหนึ่ง ส่วนเทพ เท็นจิน ก็เป็นเทพแห่งการศึกษาของญี่ปุ่น เพราะงั้นในครั้งหน้า เราจะมาค้นเพลงประกอบการละเล่นเด็กให้ลึกขึ้นเพื่อดูเนื้อหาที่ซ่อนอยู่ แล้วคุณจะต้องแปลกใจกับความหมายที่คาดไม่ถึง!

บทความก่อนๆ

หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend