พื้นที่โฮคุริคุตั้งอยู่ทางฝั่งทะเลญี่ปุ่นของเกาะฮอนชูตอนกลาง มีแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมและหมู่บ้านออนเซ็นที่กระจายอยู่ทั่วทั่ว และในช่วงไม่นานมานี้ก็ได้รับความสนใจเป็นพิเศษจากทั้ง 47 จังหวัดในญี่ปุ่นค่ะ
จังหวัดอิชิคาว่าที่มีเมืองคานาซาว่าอยู่ จังหวัดโทยามะที่มีชื่อเสียงเพราะเส้นทางอัลไพน์คุโรเบะทาเตยามะและออนเซ็นอุนาซึกิ, จังหวัดฟุกุอิที่มีหนึ่งในสามพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และจังหวัดนีงาตะที่เป็นจุดรวมของสุราญี่ปุ่นที่รู้จักกันทั่วโลกในชื่อ "สาเก" และสถานที่เล่นสกียอดนิยม แต่ละจังหวัดก็มีเสน่ห์ที่ไม่เหมือนใครค่ะ
ครั้งนี้เราจะแนะนำลักษณะและความแตกต่างในบุคลิกภาพของคนในแต่ละจังหวัดในภูมิภาคโฮคุริคุ ค่านิยมร่วม และแม้กระทั่งภาษาและสำเนียงท้องถิ่นภูมิกันค่ะ! การทราบข้อมูลเหล่านี้จะทำให้การเดินทางของคุณไปยังโฮคุริคุน่าสนใจมากขึ้นค่ะ!
ทบทวนความสัมพันธ์ทางภูมิศาสตร์และสภาพการคมนาคมขนส่งของแต่ละจังหวัดในพื้นที่โฮคุริคุ
"ภูมิภาคโฮคุริคุ" หมายถึงพื้นที่ฝั่งที่ตั้งอยู่ติดกับทะเลญี่ปุ่นในภูมิภาคชูบุ ซึ่งตั้งอยู่ในส่วนกลางของหมู่เกาะญี่ปุ่นค่ะ
จังหวัดนิงกาตะและจังหวัดโทยามะที่ติดกับภูมิภาคโทโฮคุ (จังหวัดยามากาตะ, จังหวัดฟุกุชิมะ) และพื้นที่คันโต-โคชินเอ็ตสึ (จังหวัดกุนมะและจังหวัดนากาโนะ) จังหวัดอิชิคาวะที่ตั้งอยู่บนคาบสมุทรโนโตะที่ยื่นออกไปในทะเลญี่ปุ่น และจังหวัดฟุกุอิที่ติดกับจังหวัดกิฟุ จังหวัดชิกะ และกรุงเกียวโตค่ะ
ชื่อ "โฮคุริคุ" ก็มาจาก "เส้นทางสายโฮคุริคุ" (北陸道 / Hokuriku-dou - เส้นทางสายตอนเหนือของแผ่นดิน) หนึ่งในการแบ่งภูมิภาคการบริหารในระบบริตสึเรียวโบราณ และเส้นทางสายโฮคุริคุนี้ประกอบด้วย 7 ดินแดนที่ตรงกับจังหวัดในแถบโฮคุริคุ 4 จังหวัดในปัจจุบัน: ดินแดนวากาสะและดินแดนเอจิเซ็น (จังหวัดฟุกุอิ) ดินแดนคางะและดินแดนโนโตะ (จังหวัดอิชิคาว่า), ดินแดนเอ็ตจู (จังหวัดโทยามะ) ดินแดนเอจิโกะและดินแดนซาโดะ (จังหวัดนีงาตะ)
ในปัจจุบัน เมื่อกล่าวถึง "โฮคุริคุ" ก็อาจหมายถึงจังหวัดโทยามะ อิชิคาว่า ฟุกุอิ และนีงาตะรวม 4 จังหวัดเลย หรืออาจหมายถึงแค่ 3 จังหวัดที่ไม่รวมนีงาตะก็ได้ค่ะ
พื้นที่โฮคุริคุที่ตั้งอยู่ในส่วนกลางของประเทศญี่ปุ่น สามารถเข้าถึงได้ง่ายจากทั้งภูมิภาคคันโตและคันไซโดยใช้ Hokuriku Shinkansen, Joetsu Shinkansen ไปจนถึงรถไฟด่วนพิเศษบนเส้นทางปกติค่ะ หากคุณเดินทางจากสถานี Tokyo หรือสถานี Omiya ในจังหวัดไซตามะ คุณสามารถขึ้น "Kagayaki" บน Hokuriku Shinkansen ซึ่งให้คุณเดินทางไปที่คานาซาว่าผ่านทางโทยามะในระยะเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาทีค่ะ คุณยังสามารถเข้าถึงพื้นที่นี้ผ่านทาง "Hakutaka" ซึ่งหยุดที่สถานที่น่าสนใจอย่างเช่น คุโรเบะอุนาซึกิออนเซ็น โทยามะ ชิน-ทากะโอกะ คานาซาว่า และ "Toki" ซึ่งหยุดที่สถานที่เที่ยวอย่างเอจิโกะ-ยูซาวะและนางาโอกะ นอกจากนี้ยังใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมงจากโอซาก้าไปที่คานาซาว่าบนรถไฟด่วนพิเศษของ JR "Thunderbird" และมีรถบัสทางด่วนจำนวนมากที่ให้บริการ ทำให้เป็นตัวเลือกที่แนะนำสำหรับผู้ที่ให้ความสำคัญกับความคุ้มค่าต่อราคาที่จ่ายค่ะ
ลักษณะและสถานที่ท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัดในโฮคุริคุที่เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติมีอะไรบ้าง?
ในส่วนนี้เราจะแนะนำเสน่ห์น่าสนใจของจังหวัดทั่ง 4 จังหวัดในโฮคุริคุรวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นตัวแทนของจังหวัดกันค่ะ! โฮคุริคุมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายในแต่ละจังหวัด ดังนั้นขอแนะนำให้ทัวร์ 4 จังหวัดโดยใช้บัตรโดยสารแบบพาสและอื่นๆ ค่ะ!
จังหวัดอิชิคาว่า
ในคานาซาว่าซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของโฮคุริคุก็มีสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมเช่น อุทยานปราสาทคานาซาว่า, สวนเค็นโรคุเอ็น, วัดเมียวริวจิที่มักเรียกกันว่า "วัดนินจา" และซากคฤหาสน์ซามูไรนางามาจิ นอกจากนี้ยังมีแหล่งน้ำพุร้อนออนเซ็นมากมายเช่นคางะและโนโตะ และยังเป็นที่สนใจในเรื่องความอร่อยของอาหารท้องถิ่นและขนมญี่ปุ่นที่ใช้อาหารทะเลสดๆ อย่างโนโดกุโระด้วยค่ะ
จังหวัดโทยามะ
มีชื่อเสียงเรื่องน้ำพุร้อนออนเซ็นและทิวทัศน์ที่สวยงามในทุกฤดูอย่างหุบเขาคุโรเบะและทิวเขาทาเตะยามะค่ะ! คุณยังสามารถเพลิดเพลินไปกับซูชิและอาหารทะเลสดๆ ที่สถานที่อย่างตลาดปลาฮิมิได้ด้วยค่ะ
จังหวัดฟุกุอิ
พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์จังหวัดฟุกุอิและรูปทรงผาหินที่ไม่ธรรมดาของโทจินโบะที่มักถูกใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำละครทีวีในญี่ปุ่นนั้นก็สร้างชื่อให้จังหวัดค่ะ นอกจากนี้ยังมีจุดที่ไม่สามารถต้านทานได้สำหรับคนรักประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นและปราสาท เช่น ปราสาทมารุโอกะและปราสาทเอจิเซ็นโอโนะ รวมถึงทิวทัศน์ของเมืองในอาณัติปราสาทจากสมัยสงครามแว่นแคว้น (สมัยเซ็นโกคุ) เช่น ซากคฤหาสน์ตระกูลอาซาคุระแห่งอิจิโจดานิ ปูเอจิเซ็นเองก็มีชื่อเสียงเช่นกันค่ะ
จังหวัดนีงาตะ
เป็นที่รู้จักดีเพราะข้าวแบรนด์ของจังหวัดเช่น "อุโอนุมะ โคชิฮิคาริ" และการผลิตสาเก นอกจากนี้ อุโมงค์คิโยตสึเคียวที่กลายเป็นกระแสเพราะรูปสวยที่ปรากฏบนโลกโซเชียลและทุ่งนาขั้นบันไดแห่งโฮชิโทเงะก็ยังเป็นที่นิยมอีกด้วยค่ะ ในพื้นที่เช่น นาเอบะ, ยูซาวะ, และมิโยโกะ มีลานสกีมากมายที่คุณสามารถสนุกกับกิจกรรมในหิมะได้ จึงดึงดูดนักกีฬาฤดูหนาวมากมายในฤดูหิมะค่ะ
ถ้าจะไปเที่ยวโฮคุริคุ ก็ควรรู้ภาษาถิ่นและเกร็ดน่ารู้ไว้!
ในส่วนต่อไป เราจะมาแนะนำภาษาท้องถิ่นของโฮคุริคุและเรื่องราวท้องถิ่นที่น่ารู้ค่ะ! เวลาไปเที่ยว ลองสังเกตภาษาถิ่นและบรรยากาศของเมืองนั้นไว้ก็น่าสนุกนะคะ
ลักษณะเฉพาะของภาษาถิ่นโฮคุริคุอยู่ที่ความน่ารัก⁉ การลงท้ายประโยคนั้นมีเสน่ห์!
"ภาษาถิ่นโฮคุริคุ" หมายถึงภาษาถิ่นที่ใช้ในเกาะซาโดะและเมืองคิวอะโอมิโจในอำเภออิโตอิกาว่า จังหวัดนีกาตะ จังหวัดโทยามะ จังหวัดอิชิคาว่า และภูมิภาคเรโฮคุของจังหวัดฟุกุอิ คำท้องถิ่นที่ใช้ก็แตกต่างกันไปตามสถานที่ แต่หนึ่งในลักษณะเฉพาะของภาษาถิ่นโฮคุริคุโดยรวมคือการออกเสียงที่เอื้อนสบายๆ ในตอนท้ายของวลีซึ่งถือกันว่าน่ารักค่ะ
ตัวอย่างเช่น ในภาษาถิ่นโทยามะ มักจะเพิ่ม "~cha" (ちゃ ฉ่า จ่า) ท้ายคำ ยังมีคำว่า "naan" (なーん / นาน) ซึ่งเป็นรูปแบบที่ถูกบิดเบือนของ "nani mo" (ไม่มีอะไร) ซึ่งแสดงถึงการปฏิเสธอย่างนุ่มนวลคล้ายกับคำอย่าง "iie" (อีเอะ ไม่) หรือ "zenzen" (เซ็นเซ็น ไม่เลยสักนิด) ตัวอย่างของวลีที่ใช้คำภาษาถิ่นทั้ง 2 นี้คือ "naan, chigau cha" (なーん、違うちゃ / นาน ชิกาอุจ่า - ไม่, มันไม่ใช่)
ภาษาถิ่นฟุกุอิยังขึ้นชื่อในเรื่องการใช้ถ้อยคำที่น่ารัก หากคุณต้องการใช้วลีเดียวกันในภาษาถิ่นฟุคุอิกับภาษาคันไซสำหรับ "~yanen" ให้ต่อท้ายด้วยคำว่า "~no" พร้อมพูดเหน่อค่ะ
ลักษณะของฟุกุอิคือคำพูดที่มีท่าทีที่อ่อนโยนและดูเหมือนผู้หญิงโดยพูดตวัดเสียงขึ้นตอนท้ายแบบเสียงเหน่อ ตัวอย่างเช่น ถ้าจะพูดว่า "そうだね、約束は明日だったね" (sou da ne, yakusoku wa ashita datta ne - ใช่แล้ว สัญญาคือวันพรุ่งนี้" ในภาษาถิ่นฟุกุอิ ก็จะกลายเป็น "ほやの、約束は明日やったの" (hoya no, yakusoku wa ashita yatta no)
ภาษาถิ่นโฮคุริคุที่โดดเด่นอื่นๆ มีดังนี้:
- つるつるいっぱい (Tsuru-tsuru ippai) - สภาพน้ำที่เติมจนถึงขอบแต่ยังไม่ล้นเพราะแรงตึงผิว ตัวอย่างการใช้: "お水つるつるいっぱいで!" (o-mizu tsuru-tsuru ippai de! - เติมน้ำให้ถึงขอบแก้วเลย!)
- 小銭こわす (Kozeni kowasu) - แตกแบงค์ แลกเหรียญ "Kowasu" แปลว่า "แลก" ไม่ใช่แปลว่า "พัง" (壊す) แบบในภาษาญี่ปุ่นมาตรฐาน ตัวอย่างการใช้: "小銭にこわしてくれる?" (kozeni ni kowasite kureru? - ช่วยแตกเป็นเหรียญได้ไหม?)
- コケ (Koke) - คำภาษาถิ่นอิชิคาว่า แปลว่าเห็ดทุกชนิด อย่างเช่นมัตสึทาเกะ ชีตาเกะ ไมตาเกะ ชิเมจิ ฯลฯ ไม่ได้แปลว่าราหรือมอสแบบภาษามาตรฐาน ตัวอย่างการใช้ Example of use: "これコケけ?" (kore koke ke? - อันนี้เห็ดใช่มั้ย?)
โฮคุริคุเป็นสวรรค์แห่งของหวาน! คานาซาว่าและฟุกุอิเป็นพื้นที่ชั้นนำที่คอของหวานนิยมมารวมตัวกัน
โฮคุริคุเป็นสถานที่ที่มีของหวานอร่อยมากมาย! โดยเฉพาะในพื้นที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอย่างมากคือคานาซาว่า ซึ่งอยู่อันดับหนึ่งในการจัดอันดับการใช้จ่ายในขนมหวานของประเทศ (ค่าเฉลี่ยจากปี 2020 ถึง 2022) มันคือเมืองในญี่ปุ่นที่ใช้จ่ายเงินในขนมหวานมากที่สุด
สิ่งนี้เกิดจากวัฒนธรรมการดื่มชาและขนมหวานที่หยั่งรากลึกในคานาซาว่าตั้งแต่ยุคที่เจริญรุ่งเรืองที่เรียกว่า "คางะฮยัคคุมังโกคุ" (加賀百万石 / Kaga Hyakumangoku คางะหนึ่งล้านโคคุ *ผลิตข้าวได้ ~ 0.15 ตัน) และด้วยความที่ตั้งอยู่ติดทะเลญี่ปุ่นและมีความชื้นสูงตลอดทั้งปี พื้นที่ที่ได้รับลมทะเลมักจะทำให้รู้สึกกระหายน้ำมาก ทำให้ง่ายต่อการขายเครื่องดื่มและไอศกรีมค่ะ
นอกจากนี้ยังรักษาอันดับหนึ่งในหมวดหมู่ทั่วไปมานานกว่า 10 ปีและครั้งนี้ก็ยังชนะอันดับหนึ่งในหมวดหมู่แยกเฉพาะในหมวด "ขนมญี่ปุ่นอื่น ๆ" "เค้ก" "ขนมตะวันตกอื่น ๆ" "ช็อกโกแลต" และ "ไอศกรีม / ซอร์เบต"
นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงเรื่องมิซุโยคังด้วยค่ะ แถมจังหวัดฟุกุอิซึ่งเป็นภูมิภาคผลิตข้าวก็เข้ามาติดอันดับในหมวดโยคังและข้าวเกรียบเซ็มเบ้ด้วย นอกจากนี้ โทยามะและนีงาตะยังเป็นจุดที่น่าสนใจสำหรับคนรักขนมหวานและคาเฟ่ เนื่องจากร้านขายช็อกโกแลตเฉพาะทางและคาเฟ่ที่มีสไตล์กำลังเปิดไล่ตามกันมาทีละร้านในจังหวัดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาค่ะ
วัฒนธรรมอาหารและผักดองของโฮคุริคุก็ไม่ธรรมดา⁉ มันไม่ใช่ซูชิ แต่เป็น "นาเระซูชิ"
โดยทั่วไป เมื่อพูดถึง "สึเกะโมโนะ" (ของดอง) เรามักจะนึกถึงผักที่ถูกดอง แต่ในภูมิภาคโฮคุริคุ การทำของดองด้วยอาหารทะเลเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการทำอาหารที่บ้านค่ะ
ตัวอย่างเช่น คาบุระซูชิ มาสุซูชิ และไดค่อนซูชิ ก็เป็นตัวอย่างตามแบบฉบับ "※นาเรซูชิ" ค่ะ คาบุระซูชิเป็นอาหารที่ผ่านกระบวนการหมักแบบดั้งเดิมที่เป็นตัวแทนของจังหวัดอิชิคาว่า ทำโดยการใส่ปลาบุริ (ปลา yellowtail) ลงระหว่างหัวผักคาบุระ (หัวผักกาด) ที่ถูกดองด้วยเกลือแล้ว เป็นอาหารท้องถิ่นที่รสชาติของปลาและความหวานและความเปรี้ยวของหัวผักกาดมีความสมดุลที่ดี ส่วนไดค่อนซูชิก็ใช้ปลาแฮริ่งกับหัวไชท้าวค่ะ
นอกจากนี้จังหวัดนีงาตะรวมถึงจังหวัดอื่นๆ เองก็ยังเป็นภูมิภาคที่ผลิตข้าวอย่างมาก และการผลิตอาหารที่หมักด้วยข้าวหัวเชื้อโคจิก็กำลังเจริญรุ่งเรือง มีเครื่องปรุงอร่อยๆ หลากหลายชนิด เช่น มิโสะ โชยุ และน้ำส้มสายชู รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น สาเก สาเกหวาน และโชจูค่ะ
※นาเรซูชิ อาหารหมักที่ทำโดยการหมักปลา, เกลือ, และข้าวและแป้งอื่น ๆ ในระยะยาวเพื่อทำให้เกิดการหมักด้วยกรดแลกติก คล้ายกับส้มปลาดองของไทย
แนะนำเรื่องน่ารู้ของแต่ละจังหวัดในโฮคุริคุ!
จากที่นี่เราจะแนะนำข้อมูลเฉพาะของแต่ละจังหวัดที่เราได้เคยแนะนำใน "ซีรี่ส์รวบรวม 47 จังหวัดของญี่ปุ่น" กันค่ะ!
ชาวอิชิคาว่าชอบแกงกะหรี่!? ถ้าคุณเบื่ออาหารทะเลและขนมหวานระหว่างการท่องเที่ยว ตรงไปที่ร้านแกงกะหรี่ได้เลย
จังหวัดอิชิคาว่ามีชื่อเสียงสำหรับซูชิและอาหารอื่นๆ ที่ใช้อาหารทะเลสดจากทะเลญี่ปุ่น แต่อาหารท้องถิ่นที่ชาวจังหวัดนิยมรับประทานคือแกงกะหรี่มากกว่าอาหารทะเลค่ะ
※ตามการสำรวจที่ทำโดย NTT Town Page (โตเกียว) ในปี 2022 พบว่าในจังหวัดอิชิคาว่ามีร้านขายแกงกะหรี่ 5.56 ร้านต่อประชากร 100,000 คน ทำให้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศซ้อนกันเป็นปีที่ 3 แล้ว! เมื่อเทียบกับฮอกไกโดที่อยู่ในอันดับที่สอง (4.31 ร้านต่อประชากร 100,000 คน) และจังหวัดโอซาก้าที่อยู่ในอันดับที่สาม (2.91 ร้านต่อประชากร 100,000 คน) จะเห็นว่ามีร้านข้าวแกงกะหรี่มากกว่าอย่างเห็นได้ชัดค่ะ
※NTT Town Page "ตัวแทนอาหารประจำชาติญี่ปุ่น! อันดับจำนวนการลงทะเบียนร้านแกงกะหรี่แบ่งตามจังหวัด"
โดยเฉพาะในคานาซาว่า มีกะหรี่ท้องถิ่นที่เรียกว่า "แกงกะหรี่คานาซาว่า" ที่ชาวบ้านท้องถิ่นโปรดปรานกันมากค่ะ
ไม่มีการจำกัดความที่เข้มงวดสำหรับแกงกะหรี่คานาซาว่า แต่โดยทั่วไปคือ "น้ำแกงรูส์ที่หนืดและเหนียว" "แกงกะหรี่ที่มีซอสสำหรับราดคัตสึ" และ "เสิร์ฟบนจานสแตนเลสสตีล" ค่ะ
หลังจากที่คุณได้ลิ้มลองอาหารทะเลที่หรูหราเช่นซูชิและซาชิมิแล้ว ลองพักกระเพาะด้วยแกงกะหรี่คานาซาว่าที่รสชาติเผ็ดและอิ่มอร่อยดูก็ดีนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง:
ชาวโทยามะจ่ายไม่อั้นเพื่อครอบครัว! "เอ็ตชูโนะฮิตโตสึโนโคชิ"
อัตราการครอบครองบ้านในโฮคุริคุ อยู่ในระดับสูงสุดในทั่วประเทศ! ในบรรดานั้น จังหวัดโทยามะเคยอยู่ในอันดับที่หนึ่งของประเทศเมื่อพิจารณาจากอัตราการครอบครองบ้าน และยังได้รับอันดับที่หนึ่งในการจัดอันดับ "จำนวนเงินออมเฉลี่ย" ของจังหวัดในปี 2022 ผู้อยู่อาศัยให้ความสำคัญกับการส่งมอบทรัพย์สินและมรดกให้แก่รุ่นหลัง ลักษณะเฉพาะของการครอบครองบ้านหลังเดี่ยวนี้แข็งแกร่งมากจนมีคำว่า "เอ็ตชูโนะฮิตโตสึโนโคชิ" ในโทยามะซึ่งหมายถึง "การส่งมอบทรัพย์สินหนึ่งอย่างเช่นบ้านหรือที่ดิน" โดยปกติแล้ว ชาวจังหวัดมีความรู้สึกที่แข็งแกร่งว่า "การเป็นเจ้าของบ้านจะแสดงถึงการเป็นผู้ใหญ่" และพวกเขาพิถีพิถันเรื่องขนาดของบ้านและเป็นบ้านเดี่ยวหรือไม่ ดังนั้น ใน "การเปรียบเทียบพื้นที่รวมต่อหน่วยที่อยู่อาศัยตามจังหวัด" ปี 2015 โทยามะก็เคยได้รับอันดับที่หนึ่งด้วยขนาด 152.18 ตารางเมตรค่ะ
นอกจากนี้ จำนวนรถต่อครัวเรือนและค่าใช้จ่ายสำหรับของขวัญแต่งงานและงานพิธียังเป็นอันดับต้นๆ ในประเทศ!
ถ้าคุณเยี่ยมชมโทยามะ อย่าลืมตรวจสอบทิวทัศน์ของเมืองที่เต็มไปด้วยบ้านเดี่ยวขนาดใหญ่ที่ไม่พบในจังหวัดอื่นๆ ด้วยนะคะ
บทความที่เกี่ยวข้อง:
จริงๆแล้ว ชาวจังหวัดนีงาตะมีใจค่อนไปหาโตเกียว⁉
จังหวัดนีงาตะ บางครั้งถูกจัดเป็นภูมิภาคโฮคุริคุ และบางครั้งเป็นภูมิภาคคันโตโคชินเอ็ตสึ บางทีเพราะสถานการณ์เช่นนี้ ชาวจังหวัดนีงาตะ จึงมีความโน้มเอียงไปหาโตเกียวมากจนน่าประหลาดใจค่ะ
ในความเป็นจริงแล้ว หนึ่งใน YouTubers ชั้นนำของญี่ปุ่น HIKAKIN ก็มาจากจังหวัดนีงาตะ นอกจากนี้ยังมีคนดังหลายคน เช่น Ken Watanabe และ Sachiko Kobayashi ที่ย้ายไปอยู่ที่โตเกียวจากจังหวัดนีงาตะและยังคงผลิตผลงานอยู่เรื่อยๆ ค่ะ
นอกจากนี้ ผู้ผลิตสาเกที่อยู่ในนีงาตะที่ชื่อ "Yoshinogawa" ได้ทำการโฆษณาชุดที่เรียกว่า "Tokyo Niigata Story" บน Joetsu Shinkansen ตั้งแต่ปี 2011 ถึง 2019 ในโฆษณาเหล่านี้ 4 สาวจากนีงาตะที่ย้ายสัมโนครัวไปที่โตเกียวก็เป็นตัวละครหลัก โฆษณามีภาพถ่ายที่น่าสนใจและข้อความโฆษณาที่สื่อถึงความรู้สึกของทั้ง 4 คนค่ะ
นอกจากนี้ เส้นทางระหว่างนีงาตะกับโตเกียวก็มีบริการรถบัสทางด่วนและรถบัสรอบดึกอย่างดี ด้วยค่าโดยสารในช่วง 2,000 ถึง 3,000 เยน ซึ่งถูกกว่า Shinkansen มาก ไม่แปลกใจที่ว่าทำไมวัยรุ่นจากนีงาตะที่มีใจโหยหาเมืองใหญ่จึงอยากย้ายไปที่โตเกียวกันค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง:
- 【รวมรวม 47 จังหวัดของญี่ปุ่น: นีงาตะ】จังหวัดที่โดดเด่นด้วยของอร่อยมากมายนอกเหนือจากข้าวกับความเข้าหาโตเกียวที่แข็งขันของชาวจังหวัด!
ฟุกุอิกับคานาซาว่า - คู่แข่งตลอดกาลตามหลังเกียวโตกับโอซาก้า
พื้นที่โฮคุริคุที่ทั้งหมดมีพรมแดนติดกับทะเลญี่ปุ่น มีชื่อเสียงเรื่องอาหารทะเลและน้ำพุร้อนออนเซ็น อาจเป็นเพราะความคล้ายคลึงกันเหล่านี้ ทำให้มักถูกเปรียบเทียบระหว่างกันและกัน และดูเหมือนว่าผู้อยู่อาศัยในแต่ละพื้นที่ก็มองจังหวัดข้างเคียงเป็นคู่แข่งไปหมดค่ะ...
โดยเฉพาะในจังหวัดฟุกุอิ มีความรู้สึกที่แข็งแกร่งเรื่องการแข่งขันกับจังหวัดอิชิคาว่า (โดยเฉพาะคานาซาว่า) ดังนั้นการพูดถึงคานาซาว่าต่อหน้าคนจากจังหวัดฟุกุอิจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำค่ะ
ในขณะที่ชาวจังหวัดอิชิคาว่าภาคภูมิใจในกิจกรรมท่องเที่ยวเช่นสวนเค็นโรคุเอ็นในคานาซาว่าและทองคำเปลว ชาวจังหวัดฟุกุอิก็อวดถึงพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์จังหวัดฟุกุอิ และปูเอจิเซ็นรวมถึงการเป็นจังหวัดบ้านเกิดของผู้ชนะรางวัลทองคำประจำที่การประกวดรสชาติในต่างประเทศ และพื้นที่ผลิตสาเกญี่ปุ่น และขวดแก้วค่ะ
ฟุกุอิ ที่เทียบเท่ากับอิชิคาว่าในระดับโลก ก็เป็นที่ที่ควรแวะไปเที่ยวค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง:
【รวมรวม 47 จังหวัดของญี่ปุ่น: ฟุกุอิ】ไม่ได้มีดีแค่โทจินโบและปราสาทเอจิเซ็นโอโนะเท่านั้น! ที่จริงแล้วยังเต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวระดับโลก
Comments