ซีรี่ส์มารยาทญี่ปุ่น: คู่มือมารยาทการทานอาหารในญี่ปุ่น จากมารยาทพื้นฐานที่ควรทราบไปจนถึงวิธีการใช้ตะเกียบ

  • 19 พฤศจิกายน 2023
  • Pauli
  • Mon

ในประเทศญี่ปุ่น การมีมารยาทบนโต๊ะอาหารถือว่ามีความสำคัญมาก โดยการมีความสุภาพและการแสดงความขอบคุณก็เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดค่ะ อาหารญี่ปุ่นที่รู้จักกันในนาม "วาโชคุ" ได้รับการลงทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมที่ไม่สามารถจับต้องของยูเนสโก และมีกฎเฉพาะและมารยาทที่ไม่ธรรมดาที่ปฏิบัติตามภูมิปัญญาและประวัติศาสตร์ที่ยาวนานค่ะ

ในครั้งนี้ เราจะแนะนำหลักการพื้นฐานของมารยาทการรับประทานอาหารของญี่ปุ่น และจุดสำคัญที่ชาวต่างชาติควรทราบเมื่อรับประทานอาหารในญี่ปุ่นกันค่ะ

ก่อนรับประทานอาหาร พูดว่า "อิทาดาคิมัส" และหลังจากรับประทานอาหาร พูดว่า "โกะจิโซซามะเดชิตะ"

ตามที่อธิบายไว้ในบทความ ""สุขสันต์วันเกิด" "ขอเริ่มรับประทาน" "กลับมาแล้ว" และคำพื้นฐานอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนภาษาญี่ปุ่น!" คนญี่ปุ่นจะพูดว่า "อิทาดาคิมัส" ก่อนที่จะเริ่มทานอาหาร ไม่ว่าจะอยู่ที่บ้านหรือในร้านอาหาร และพูดว่า "โกะจิโซซามะเดชิตะ" หลังจากที่ทานอาหารเสร็จโดยพนมมือกล่าวค่ะ

"อิทาดาคิมัส" ถูกพูดเพื่อแสดงความขอบคุณต่อพระเจ้าและผู้ที่เตรียมอาหาร คำพูดนี้มีความสำคัญมากในวัฒนธรรมญี่ปุ่นและใช้เป็นส่วนหนึ่งของการแสดงความขอบคุณต่อผู้อื่นและธรรมชาติในระหว่างการทานอาหารค่ะ

"โกะจิโซซามะเดชิตะ" นิยมใช้หลังจากทานอาหารเสร็จเพื่อแสดงความขอบคุณต่อผู้ที่เตรียมอาหาร นอกจากนี้ยังใช้พูดเมื่อมีคนทำอาหารให้คุณด้วยค่ะ

ทำไมคนญี่ปุ่นใช้ตะเกียบแทนที่จะใช้ช้อนกับส้อม?

ส่วนใหญ่คนญี่ปุ่นใช้ตะเกียบแทนช้อนกับส้อมเมื่อพวกเขาทานอาหาร มีทฤษฎีที่หลากหลายและไม่แน่นอนว่าที่มาของธรรมเนียมเช่นนี้คืออะไร แต่ว่ากันว่ามีมาตั้งแต่สมัยยาโยอิ (ยุคก่อนคริสต์กาลศตวรรษที่ 9 และ 8 ถึงหลังคริสต์กาลคริสต์ศตวรรษที่ 3) นี่คือเวลาที่สมเด็จพระราชินีฮิมิโกะปกครองยามาไทโคคุ (ยามาโตะโนะคุนิ) หนึ่งในประเทศที่เชื่อว่าเคยมีอยู่บนหมู่เกาะญี่ปุ่น ในเวลานั้น ตะเกียบไม่ได้ใช้สำหรับการทานอาหาร แต่ใช้เพื่อถวายอาหารเครื่องบูชาให้แก่เทพเจ้า ตะเกียบในเวลานั้นทำด้วยการบากไม้ไผ่ออกเป็นสองซีกที่ฐานติดกัน คล้ายกับคีมหรือที่คีบค่ะ

การใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหารเริ่มขึ้นประมาณ 1400 ปีที่แล้วในสมัยอาสุกะ โอโนะ โนะ อิโมโกะ ผู้ดำรงตำแหน่งราชการ ได้นำวัฒนธรรมจีนกลับมายังญี่ปุ่นเมื่อเขาไปเยือนราชวงศ์ซุย (ราชวงศ์ของประเทศจีนในสมัยนั้น) ในฐานะทูต ในขณะนั้น มีวัฒนธรรมในการรับประทานข้าวด้วยตะเกียบในประเทศจีน ดังนั้น เจ้าชายโชโทคุ สมาชิกของราชวงศ์จักรพรรดิ ได้นำวัฒนธรรมในการรับประทานอาหารด้วยตะเกียบมาเผยแพร่ในการรับประทานอาหารในพระราชวังหลวง จากนั้น มีการกล่าวว่าการใช้ตะเกียบได้แพร่กระจายไปทั่วประเทศญี่ปุ่น ในขณะนั้น ตะเกียบที่ทำจากไม้ไผ่ก็เป็นที่นิยม ไม่ใช่ตะเกียบที่ทำจากไม้แบบในปัจจุบันค่ะ

ในทฤษฎีอื่นๆ หนังสือที่เก่าที่สุดของญี่ปุ่น จารึกโบราณ "โคะจิกิ" และพงศาวดารญี่ปุ่น "นิฮอนโชกิ" ระบุว่ามีตะเกียบอยู่ในญี่ปุ่นมาตั้งแต่ยุคโบราณแล้ว มีตำนานเขียนว่าเทพองค์หนึ่งนามว่า สุซาโนะโอะ โนะ มิโคโตะ ได้เห็นตะเกียบลอยอยู่บนแม่น้ำขณะที่กำลังชมแม่น้ำอยู่ ในสมัยเฮอัน วิถีการกินด้วยตะเกียบกลายเป็นที่แพร่หลายในหมู่คนญี่ปุ่นทุกคนค่ะ

การใช้ตะเกียบอย่างถูกต้อง

ร้านอาหารทั้งหมดในญี่ปุ่นเกือบจะมีตะเกียบให้ค่ะ มีกฎเกณฑ์ในการใช้ตะเกียบในญี่ปุ่นด้วยนะคะ

กล่าวกันว่ากฎพื้นฐานคือการใช้ส่วนปลายตะเกียบสัมผัสกับอาหารขึ้นมาจากปลายสุดได้ประมาณ 1.5 ถึง 3 ซม. และทานโดยไม่ทำให้ตะเกียบสกปรกมากเกินไป แต่ในปัจจุบัน ว่ากันว่าก็ยอมรับได้ถ้าใช้ตะเกียบจากปลายสุดขึ้นมาถึงประมาณ 4 ซม. ค่ะ

เมื่อจับตะเกียบ ให้จับด้วยมือขวาก่อน แล้วใช้มือซ้ายรับเพื่อปรับตำแหน่งตะเกียบในมือขวาอีกที กรรมวิธีการเปลี่ยนจากการหยิบมาสู่การจับในตำแหน่งที่ถูกต้องด้วยมือขวาที่เรียกว่า "สามมือ" ถือว่าเป็นกิริยาที่สวยงามค่ะ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ตะเกียบสามารถหาอ่านได้ใน "มารยาทที่ควรรู้ในการใช้ตะเกียบที่ญี่ปุ่น" ค่ะ

กรุณาเพลิดเพลินไปกับการรับประทานอาหารที่ร้านอาหารระหว่างการมาเที่ยวญี่ปุ่น แต่ก็อย่าลืมเรื่องมารยาทด้วยนะคะ

นอกจากนี้ เมื่อคุณใช้ตะเกียบในการรับประทานอาหาร การเตรียมที่วางตะเกียบก็สามารถทำให้ดูสวยงามได้ด้วยค่ะ การซื้อ "ชุดตะเกียบและที่วางตะเกียบ" มาเป็นของที่ระลึกจากญี่ปุ่นอาจจะเป็นไอเดียที่ดีค่ะ

วิธีการใช้ "โอชิโบริ" ที่ถูกต้อง

ในร้านอาหารญี่ปุ่น เมื่อคุณเข้ามา คุณจะได้รับน้ำ (หรือชา) และ "โอชิโบริ" คุณรู้ไหมว่าทำไมคุณถึงได้รับ "โอชิโบริ"?

ในสมัยเอโดะ (1603-1867) ผ้าขนหนูผ้าฝ้ายกลายเป็นที่นิยม และที่ประตูข้างหน้าของโรงเตี้ยมที่มีชื่อว่า "ฮาตาโงะ" มีถังน้ำและผ้าขนหนูเตรียมไว้ให้แก่นักเดินทางที่เข้ามาพัก แขกที่มาเข้าพักก็ใช้มันเพื่อทำความสะอาดมือและเท้าที่สกปรกจากการเดินทางค่ะ

ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนและชื้น ล้อมรอบด้วยทะเล ทำให้ผู้คนมักจะเหงื่อออกง่าย บวกกับความรักในความสะอาดของคนญี่ปุ่น เชื่อว่าได้นำไปสู่การเกิดขึ้นของโอชิโบริค่ะ ชื่อ "โอชิโบริ" ถูกกล่าวว่ามาจากการ "ชิโบรุ" (絞る / shiboru) ซึ่งหมายความว่าการบีบหรือบิดผ้าขนหนูที่เปียกเพื่อเอาน้ำออกและทำความสะอาดมือและเท้าที่สกปรกในสมัยเอโดะค่ะ

โอชิโบริได้กลายเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันของคนญี่ปุ่นในปัจจุบัน และมีวิธีที่ถูกต้องและมารยาทในการใช้โอชิโบริเมื่อคุณได้รับมันในร้านอาหารหรือร้านเหล้าอิซากายะค่ะ

เมื่อโอชิโบริถูกวางบนโต๊ะเมื่อคุณมาถึงร้าน

  1. กางโอชิโบริออก
  2. เช็ดมือทั้งสองข้างอย่างระมัดระวัง
  3. พับมันอย่างระมัดระวังและวางมันลงไปยังตำแหน่งเดิม

เมื่อโอชิโบริถูกส่งให้คุณถึงมือ

  1. พูดว่า "อาริงาโตะ" และยื่นมือขวาของคุณไปรับ
  2. จากสภาพดังกล่าว เช็ดมือทั้งสองข้างอย่างระมัดระวัง
  3. พับมันอย่างระมัดระวังและวางมันบนโต๊ะ

เมื่อคุณได้รับโอชิโบริแบบใช้แล้วทิ้ง

  1. รับโอชิโบริและตรวจสอบเครื่องหมายสุขอนามัยบนห่อฟิล์ม
    ※เครื่องหมายสุขอนามัยคือสัญลักษณ์ที่แสดงถึงความปลอดภัยของโอชิโบริ
  2. ฉีกปลายห่อฟิล์มและดึงโอชิโบริออกจากห่อ พับห่อฟิล์มที่เหลืออย่างระมัดระวังและวางมัน หรือขอให้พนักงานนำเอาไปทิ้งให้
  3. กางโอชิโบริด้วยมือทั้งสองข้างและเช็ดมือของคุณอย่างระมัดระวัง
  4. พับอย่างระมัดระวังและวางลงบนโต๊ะ

ถ้าคุณทำอะไรสักอย่างหกหรือเปรอะเปื้อน ให้เรียกหาพนักงานและขอผ้าเช็ดต่างหาก ในหลายกรณี จะเป็นการดีกว่าที่จะไม่เช็ดด้วยโอชิโบริค่ะ

ในญี่ปุ่น มารยาทพื้นฐานคือ "กินอาหารทั้งหมด"

ที่โต๊ะอาหารญี่ปุ่น ถือว่ามีมารยาทที่ดีถ้าคุณทานข้าวและกับทั้งหมดที่เสิร์ฟให้ โดยการทานอาหารทั้งหมดไม่ให้เหลือ คุณก็จะได้แสดงความขอบคุณต่อผู้ที่ทำอาหารและวัตถุดิบที่ใช้ด้วยค่ะ

หากคุณมีการแพ้อาหารหรือมีอาหารบางอย่างที่คุณไม่สามารถทานได้ คุณก็สามารถทานอาหารจนหมดโดยไม่เหลืออะไรทิ้งด้วยการตรวจสอบวัตถุดิบที่ใช้ที่ร้านอาหารก่อนทำการสั่งอาหารค่ะ

การทานอาหารจนหมดโดยไม่เหลืออะไรเป็นวิธีการขอบคุณผู้ที่เตรียมอาหารให้ และยังแสดงให้รู้ว่าอาหารอร่อยด้วย แต่ถ้าปริมาณที่ได้รับมากกว่าที่คิดไว้และคุณรู้สึกอิ่ม หรือถ้าคุณไม่สามารถทานจนหมดได้ ก็พอจะยอมรับได้หากมีเหลือไว้บางส่วนค่ะ

ความแตกต่างทางวัฒนธรรม: การทำเสียงเมื่อกินอาหารจำพวกเส้นหมี่

คุณเคยเห็นคนญี่ปุ่นทำเสียง "ซูด" ขณะกินราเม็งหรืออุด้งในญี่ปุ่นหรือไม่? ในประเทศอื่นๆ พฤติกรรมนี้ถือว่าเป็นการเสียมารยาท แต่ไม่ใช่ในญี่ปุ่นค่ะ โดยเกี่ยวข้องกับ "วัฒนธรรม" และ "ประเพณี" มันเป็นรูปแบบของ "ความสุภาพต่อคนที่ทำอาหาร" (ราเม็งต้องกินร้อนๆ จึงจะอร่อย การกินร้อนๆ โดยไม่ให้ลวกลิ้นคือการกินโดยดูดลมเข้าไปพร้อมเส้นแล้วกลืนเลย) อย่างไรก็ตาม ก็สามารถยอมรับได้เฉพาะเมื่อทำเสียงขณะกินเส้นหมี่หรือซุปในญี่ปุ่นเท่านั้นค่ะ

บทความนี้เป็นอย่างไรบ้างเอ่ย? เมื่อคุณไปทานอาหารกับคนญี่ปุ่นหรือเยี่ยมชมร้านอาหารและอิซากายะระหว่างการเที่ยวญี่ปุ่น เราหวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคุณนะคะ

หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend