ดังที่เราได้แนะนำไว้ใน "ฤดูกาลปาร์ตี้ส่งท้ายปีเก่ากำลังจะมาถึงแล้ว! ความรู้รอบตัวที่ควรรู้ไว้เกี่ยวกับเมนูอิซากายะของญี่ปุ่นและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์" ค่ะ ในญี่ปุ่นก็มักจะมีการจัดปาร์ตี้ดื่มเหล้าจำนวนมากตั้งแต่ธันวาคมถึงปีใหม่ เป็นช่วงเวลาที่เรียกว่า "ฤดูกาลปาร์ตี้ส่งท้ายปีเก่า" (โบเน็นไคซีซัน) ค่ะ ในบทความนี้ เราจะแนะนำวลีญี่ปุ่นที่เหมาะสำหรับฤดูกาลปาร์ตี้ส่งท้ายปีเก่า วิธีการเพลิดเพลินไปกับ "สาเก" ในระหว่างการไปเที่ยวญี่ปุ่น และวัฒนธรรมเกี่ยวกับสุราประจำช่วงปีใหม่ค่ะ ถ้าคุณวางแผนที่จะไปเยือนญี่ปุ่นในช่วงสิ้นปี อย่าลืมอ่านบทความนี้นะคะ!
※การดื่มสุราโดยผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะถือเป็นการผิดกฎหมายในญี่ปุ่น โปรดทราบและปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการดื่มสุราของประเทศไทยด้วย
สัมผัสกับ "SAKE" แท้ๆ ในประเทศญี่ปุ่น! ไม่ว่าจะเป็นแบบเย็นหรือร้อน ชื่อของสาเกจะเปลี่ยนตามอุณหภูมิ
เหล้าสาเก หรือที่คนญี่ปุ่นเรียกว่า นิฮอนชุ (日本酒 / Nihonshu - สุราญี่ปุ่น) ทำจากการเติมน้ำใส่ข้าว (ข้าวสำหรับสาเก) และหัวเชื้อโคจิแล้วหมัก ปัจจุบันได้รับความนิยมไปทั่วโลกภายใต้ชื่อว่า "สาเก" แต่ในญี่ปุ่น รสชาติและกลิ่นจะเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่ดื่ม และชื่อเรียกก็เปลี่ยนด้วยเช่นกันค่ะ
ในที่นี่ เราจะมาแนะนำชื่อของสาเกที่เปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ! เมื่อไปเยือนญี่ปุ่น ลองไปดื่มที่อุณหภูมิต่างๆ และค้นหาอุณหภูมิสาเกที่คุณชอบดูนะคะ
*หมายเหตุ สำหรับคนญี่ปุ่น คำว่าสาเกหรือโอสาเกแปลว่าสุราหรือเครื่องดื่มมึนเมาทั่วไปค่ะ ถ้าต้องการสั่งเหล้าสาเก เรียกนิฮอนชุหรือชื่ออื่นๆ ที่เราแนะนำข้างล่างนะคะ
สาเกจะเปลี่ยนแปลงยังไงเมื่อเย็นลงหรืออุ่นขึ้น?
เมื่อคุณดื่มสาเกแบบเย็น ก็จะเรียกกันว่า "เรชุ" (冷酒 / Reishu) โดยทั่วไปเหล้าสาเกที่เย็นจะมีรสชาติที่คมและสดชื่น และคุณสามารถสนุกกับความรู้สึกที่สดชื่นเย็นสบายได้ค่ะ ในบรรดาวิธีการเพลิดเพลินกับสาเกแบบเย็น ยังมีวิธีที่สนุกที่เรียกว่า "มิโซเระซาเกะ" (みぞれ酒 / Mizorezake) ที่เทสาเกที่ได้รับการทำความเย็นจัดจนเกือบจะเป็นน้ำแข็ง นั่นก็คือสาเกซึ่งเกือบจะเป็นน้ำแข็งที่เปลี่ยนเป็นสภาพของหนืดเนื่องจากแรงกระแทกกับแก้วค่ะ คุณสามารถสนุกกับลักษณะที่คมเข้มและกระบวนการทำที่ราวกับการแสดงโชว์ได้ค่ะ
เมื่อดื่มที่อุณหภูมิปกติ (ประมาณ 15-25℃) มันเรียกว่า "ฮิยะ" (冷や / Hiya) และเสน่ห์ของมันคือคุณสามารถสนุกกับกลิ่นและรสชาติที่ดีของเหล้าสาเกมากกว่าแบบเรชุค่ะ
นอกจากนี้ วิธีการดื่มที่แนะนำในฤดูหนาวก็ต้องเป็นสาเกร้อนค่ะ โดยการทำให้ร้อนขึ้นเช่นนี้ รสชาติของข้าวซึ่งเป็นวัตถุดิบก็จะเพิ่มขึ้น และคุณสามารถสนุกกับกลิ่นที่หลากหลาย และมันเข้ากับอาหารฤดูหนาวอย่างดี เช่น เมนูปูและหม้อไฟค่ะ! การเพลิดเพลินกับสาเกร้อนระหว่างที่นั่งในโต๊ะอุ่นขาโคทัตสึและอร่อยไปกับเมนูอาหารปีใหม่ในช่วงปีใหม่ นี่คือวิธีการใช้เวลาช่วงปีใหม่แบบครอบครัวญี่ปุ่นตามวิถีดั้งเดิมค่ะ
ชื่อของสาเกที่เปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ
ดังที่แนะนำข้างต้น สาเกญี่ปุ่นถูกแบ่งออกเป็นสามประเภท คือ สาเกเย็น (冷酒 / Reishu / เรชุ) สาเกอุณหภูมิปกติ (冷や/ Hiya / ฮิยะ) และสาเกร้อน (熱燗 / Atsukan / อัตสึคัง) สำหรับสาเกเย็นและสาเกร้อน มีชื่อเรียกที่แบ่งแยกกันไปทุกๆ 5 องศาค่ะ
ชื่อหลักมีดังนี้
- 5℃: ยูกิบิเอะ (雪冷え / Yukibie - เย็นหิมะ)
- 10℃: ฮานาบิเอะ (花冷え / Hanabie - เย็นดอกไม้)
- 15℃: ซุซูบิเอะ (涼冷え / Suzubie - เย็นสบาย)
- 30℃: ฮินาตะคัง (日向燗 / Hinatakan - อุ่นแดด)
- 35℃: ฮิโตะฮาดะคัง (人肌燗 / Hitohadakan - อุ่นผิวกาย)
- 40℃: นุรุคัง (ぬる燗 / Nurukan - อุ่นน้ำอุ่น)
- 45℃: โจคัง (上燗 / Joukan - อุ่นมาก)
- 50℃: อัตสึคัง (熱燗 / Atsukan - สาเกร้อน)
คำญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องกับสุราที่ควรรู้ไว้สำหรับฤดูกาลงานเลี้ยงส่งท้ายปีเก่าของญี่ปุ่น!
ในช่วงฤดูกาลปาร์ตี้ปลายปี มีการใช้ภาษาญี่ปุ่นที่ไม่ธรรมดามากมายในงานปาร์ตี้ที่มีการดื่มสุรา จากนี้เราจะแนะนำความหมายของภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษแบบวะเส (ภาษาอังกฤษแบบญี่ปุ่นประดิษฐ์) ที่นักศึกษามหาวิทยาลัยญี่ปุ่นและพนักงานบริษัทญี่ปุ่นมักจะใช้ในปาร์ตี้ปลายปี!
คำที่เกี่ยวข้องกับการดื่มที่มักจะใช้ในการสนทนา
โจโงะ (上戸 / Jougo - คนที่ดื่มเหล้าได้มาก) และ เกะโกะ (下戸 / Geko - คนที่ดื่มเหล้าได้น้อย)
ในญี่ปุ่น คนที่ดื่มแอลกอฮอล์ได้มากหรือไม่ก็จะเรียกเป็น "โจโงะ" และ "เกะโกะ" ตามลำดับค่ะ โจโงะหมายถึงคนที่ดื่มหนัก (คอแข็ง) ในขณะที่เกะโกะหมายถึงคนที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์และคนที่เมาง่าย (คออ่อน) คำนี้ว่ากันว่าเป็นการอ้างอิงถึง "การจำแนกครัวเรือนตามจำนวนชายหนุ่มในครัวเรือน" ที่กำหนดโดยประมวลกฎหมายไทโฮริตสึเรียวเมื่อประมาณ 1,300 ปีที่แล้ว ว่ากันว่าในสมัยนั้น ปริมาณเครื่องดื่มมึนเมาที่มอบให้ในงานแต่งงานและในพิธีอื่นๆ ระหว่างครัวเรือน "โจโงะ" (ครัวเรือนชั้นสูง) ที่มีเด็กผู้ชายจำนวนมาก กับครัวเรือน "เกะโกะ" (ครัวเรือนชั้นล่าง) ที่มีผู้ชายน้อยกว่า ก็ต่างกันไปนั้นเองค่ะ จนในปัจจุบัน คำว่า "โจโงะ" ก็จึงถูกใช้แสดงถึงคนที่ดื่มสุราได้ และ "เกโกะ" ก็หมายถึงบุคคลที่ไม่ดื่มสุราค่ะ
- ตัวอย่างการใช้งาน:
- Aซัง: "Bくん、1杯目からずっとバナナシェイクしか飲んでないの?" / "B-kun ippai me kara zutto banana sheiku shika nonde nai no?" (Bคุง หลังจากแก้วแรกมานี่ดื่มแต่บานาน่าเช็คใช่ป่าวเนี่ย?)
- Bคุง: "うん、僕下戸だから甘いフルーツジュースしか飲めないんだ" / "un, boku geko dakara amai furu-tsu ju-su shika nomenai n da" (ครับ พอดีผมเป็นพวกคออ่อน เลยดื่มได้แต่น้ำผลไม้หวานๆ ครับ)
บุเรโค (無礼講 / Bureikou - งานแบบเป็นกันเอง)
"บุเรโค" เป็นหนึ่งในคำที่มักใช้ในงานปาร์ตี้ส่งท้ายปีเก่าขององค์กร หมายถึงการดื่มโดยไม่คำนึงถึงสถานะทางสังคม ลำดับชั้นภายในองค์กร หรือมารยาทที่เป็นทางการ เป็นคำที่ใช้โดยบุคคลที่ปกติจะมีตำแหน่งหรืออายุต่างกัน เช่น ประธานาธิบดี ผู้บังคับบัญชา ผู้อาวุโส เพื่อให้สื่อสารระหว่างกันได้อย่างง่ายขึ้นระหว่างการดื่มสังสรรค์ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะไม่ใช่คำที่ใช้ในชีวิตประจำวันแบบ "บุเรโค" แต่พิธีดื่มที่เคารพความแตกต่างดังกล่าวก็เรียกว่า "เรโค" (礼講 / reikou) ค่ะ
- ตัวอย่างการใช้งาน:
- Bคุง: "C会長、先月入社したばかりのBと申します。グラスにおビールつがせていただきます!" / "C-shachou, sengetsu nyuusha shita bakari no B to moushimasu. gurasu ni o bi-ru tsugasete itadakimasu!" (ท่านประธาน C ผม B เพิ่งเข้าบริษัทมาเมื่อเดือนก่อนครับ ขออนุญาตรินเบียร์ให้นะครับ)
- ประธาน C: "おお、君が新しく入った子か!今日は無礼講だから、Cさんでよいよ。うちに関する意見なんでも言ってくれていいからね" / "oo, kimi ga atarashiku haitta ko ka! kyou wa bureikou dakara, C-san de yoi yo. uchi ni kan-suru iken nandemo itte kurete ii kara ne" (โอ้ เธอคือเด็กที่เข้ามาใหม่เองหรอกรึ วันนี้กินแบบเป็นกันเอง เรียก Cซัง ก็ได้นะ ถ้ามีความเห็นอะไรให้ทางนี้บอกมาได้เลยล่ะ)
- Bคุง: "ありがとうございます、では遠慮なく! Cさん、僕、来月から別の部署に行きたいです!" / "arigatou gozaimasu, de wa enryo naku! C-san, boku, raigetsu kara betsu no busho ni ikitai desu!" (ขอบคุณครับ งั้นขอพูดแบบไม่เกรงใจเลยนะครับ Cซัง เดือนหน้าผมอยากไปฝ่ายอยู่อื่นครับ!)
ชัมปอง (ちゃんぽん / Champon - กินหลายๆ อย่าง)
เมื่อเราพูดถึง "ชัมปอง" ในบริบทของการดื่มสังสรรค์ มันก็จะไม่ได้หมายถึงอาหารเส้นที่แสนอร่อยอย่างที่ทุกคนเข้าใจ แต่กลับใข้หมายถึงการดื่มสุราประเภทต่างๆ ในงานเดียว ตัวอย่างเช่น อาจจะเริ่มด้วยเบียร์ ตามด้วยเลมอนซาว่า แล้วค่อยๆ ดื่มสาเก วิสกี้... ฯลฯ การดื่มสุราประเภทต่างๆสามารถทำให้คุณไม่รู้สึกเบื่อ แต่เนื่องจากปริมาณแอลกอฮอล์และขนาดของเครื่องดื่มนั้นก็แตกต่างกันไป จึงทำให้คุณดื่มเกินขีดจำกัดตัวเองได้ง่าย ซึ่งอาจนำไปสู่การเมามากไม่รู้ตัวค่ะ
- ตัวอย่างการใช้งาน:
- Aซัง: "Dくん、ちゃんぽんで飲みすぎ!ちゃんとお水飲みなよ!" / "D-kun, champon de nomisugi! chanto omizu nomi na yo!" (Dคุง ดื่มแบบชัมปองมากเกินไปแล้ว! อย่าลืมดื่มน้ำให้เพียงพอด้วยนะ!)
- Dคุง: "ちゃんと水飲むからもっと色々飲ませてよ。俺、あと10杯は飲まないと帰らないからね!" / "chanto mizu nomu kara motto iroiro nomasete yo. ore, ato juppai wa nomanai to kaeranai kara ne!" (เดี๋ยวผมดื่มน้ำให้พอแหละครับ แต่ขอผมลองอันอื่นๆ หน่อย ผมว่าจะไม่กลับบ้านจนกว่าจะดื่มอีกอย่างน้อย 10 แก้ว!)
เซ็นเบโระ (せんベロ / Senbero)
คำนี้เป็นการย่อของวลีญี่ปุ่น "สถานที่ที่คุณสามารถดื่มจนเมามายได้ด้วยเงินเพียงพันเยน" (千円でベロベロになるまで飲める店 / sen en de berobero ni naru made nomeru mise) และหมายถึงการสนุกกับการดื่มแอลกอฮอล์ในราคาถูก มักจะหมายถึงผับและบาร์ยืนที่ราคาไม่แพง โดยมีสถานที่ที่เป็นที่นิยมสำหรับเซ็นเบโระกระจุกตัวอยู่ในพื้นที่เช่นอุเอโนะ โอคาจิมาจิ อาซากุสะ อะคาบาเนะ อิเคะบุคุโระ และชินจูกุ นอกจากนี้ แม้กระทั่งตามผับปกติ ก็ยังมีบางที่ที่นำเสนอเมนูเซ็นเบโระซึ่งมาพร้อมขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มหนึ่งแก้วด้วยค่ะ
- ตัวอย่างการใช้งาน:
- พนักงาน E: "ご注文いかがですか?" / "go chuumon ikaga desu ka?" (ไม่ทราบว่าจะสั่งอะไรคะ?)
- Bคุง: "せんベロセットに、もつ煮込みとおでんください!" / "senbero setto ni, motsu nikomi to oden kudasai" (ผมขอเป็นเซ็ต Senbero พร้อมกับเครื่องในต้มและโอเด้งครับ!)
โนมิโฮ (飲みほう / Nomihou มาจาก 飲み放題 / Nomihoudai - ดื่มไม่อั้น)
โนมิโฮได (เรียกสั้นๆ ว่า โนมิโฮ) เป็นระบบยอดนิยมในร้านอาหารญี่ปุ่นที่ให้คุณเพลิดเพลินกับเครื่องดื่มได้ไม่อั้นในเมนูที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยจ่ายเงินเป็นจำนวนคงที่จำนวนหนึ่ง มีแผนบางส่วนที่รวมเครื่องดื่มไม่อั้นตั้งแต่ต้น และแบบอื่นๆ ที่คุณสามารถเพิ่มเครื่องดื่มได้ไม่อั้นโดยมีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมเมื่อสั่งอาหารก่อนค่ะ เป็นระบบที่สะดวกมากในช่วงปาร์ตี้ส่งท้ายปีเก่าหรือเมื่อคุณกำลังดื่มสังสรรค์กับกลุ่มเพื่อน และเสน่ห์สำคัญคือคุณสามารถเพลิดเพลินได้นานโดยไม่ต้องกังวลเรื่องราคาค่าเครื่องดื่มค่ะ
- ตัวอย่างการใช้งาน:
- Bคุง: "僕はソフトドリンクだけで十分だけど、Dくん飲み放題つける?" / "boku wa sofuto dorinku dake de juubun dakedo, D-kun nomihoudai tsukeru?" (ผมดื่มแค่ซอฟต์ดริ้งค์ก็พอ แต่ Dคุงจะขอเป็นแบบดื่มได้ไม่อั้นไหม?)
- Dคุง: "え!Bくん全然飲まんの?じゃあ、俺だけ飲みほうつけようかな" / "e! B-kun zenzen noman no? jaa, ore dake bomihou tsukeyou kana" (อื้ม! Bคุงไม่ดื่มเลยเหรอ? งั้น เฉพาะผมเอาเป็นแบบดื่มไม่อั้นดีมั้ยนะ)
ออลโนมิ (オール飲み / Oru-nomi - ดื่มจนเช้า)
คนญี่ปุ่นมักจะใช้คำว่า ออล-สุรุ (オールする / o-ru suru - มาจากคำว่า all-nighter การทำอะไรข้ามคืนถึงเช้า) เพื่อหมายถึงการดื่มและสนุกสนานตลอดทั้งคืนจนดึกดื่นหรือจนกว่ารถไฟขบวนแรกจะออก ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ผู้คนมากมายจะกินดื่มกันจนถึงเวลาปิดร้านอาหารหรือรถไฟขบวนสุดท้ายแล้วจึงย้ายไปสถานบันเทิง เช่น บาร์คาราโอเกะที่เปิดถึงประมาณตี 5 หรือบาร์ที่เปิดดึก คุณจะพบคนญี่ปุ่นจำนวนมากสนุกสนานกับเพื่อนร่วมงานและเพื่อนสนิทมิตรสหายจนถึงรถไฟขบวนแรกเริ่มวิ่งค่ะ
- ตัวอย่างการใช้งาน:
- Dคุง: "うわ~!話し込んだら終電逃しちゃったな。Bくんどうする?"/ "uwa~! hanashi kondara shuuden nogashi chatta na. B-kun dou suru?" (เหย! คุยเพลินจนตกรถเที่ยวสุดท้ายเลยแฮะ Bคุง เอาไงต่อ?)
- Bคุง: "僕はここから20分ぐらい歩いたら、家帰れるから今日は帰ろうかな?" / "boku wa koko kara nijuppun gurai aruitara, ie kaereru kara kyou wa kaerou kana?" (ผมเหรอ เดินจากนี่ไป 20 นาทีก็ถึงบ้านแล้ส วันนี้คงกลับบ้านเลยมั้ง?)
- Dคุง: "え、家近いの!じゃあ、Bくん家で、オールで家飲みしよう♪" / "e, ie chikai no! jaa, B-kunchi de, o-ru de ie nomi shiyou♪" (อ้าว บ้านใกล้นี่! งั้น ดื่มจนเช้าที่บ้าน Bคุงกันดีดว่า♪)
- Bคุง: "え……いいよ" / "e... iiyo" (อืม... ก็ได้นะ)
ธรรมเนียมที่คนญี่ปุ่นมักทำกันในช่วงส่งท้ายปีเก่า
โนมินิเคชั่น (飲みにケーション / Nomini-cation)
โนมินิเคชั่น เป็นคำผสมระหว่างวลีภาษาญี่ปุ่นที่หมายถึง "ไปดื่ม" (飲みに行く / nomi ni iku / โนมิ นิ อิคุ) และคำว่า "คอมมิวนิเคชั่น" ในญี่ปุ่น มีความเชื่อว่าการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับผู้บริหารและเพื่อนร่วมงานสามารถทำให้การสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับงานดำเนินไปอย่างราบรื่น ในส่วนของโนมินิเคชั่น บางบริษัทอาจมีการกำหนดให้เป็นหน้าที่ของพนักงานที่ต้องเข้าร่วมปาร์ตี้ส่งท้ายปีเก่าและปาร์ตี้ส่งคนที่ออก/ต้อนรับคนเข้าใหม่เลยค่ะ
เอ็นไคเก (宴会芸 / Enkai-gei - การแสดงในงานสังสรรค์) และเอ็นไคเกม (宴会ゲーム / Enkai-game - เกมในงานสังสรรค์)
ในปัจจุบันเนื่องจากการระบาดของ COVID อาจทำให้การจัดถูกยกเลิกไปบ้าง แต่ในงานปาร์ตี้ดื่มสังสรรค?ที่มีคนเข้าร่วมมาก เช่น งานปาร์ตี้ส่งท้ายปีเก่าของบริษัทและโรงเรียน เอ็นไคเกและเอ็นไคเกมก็มักถูกใช้เป็นส่วนที่ทำให้งานมีความสนุกสนานรื่นเริงค่ะ เอ็นไคเกคือการแสดงเช่นการร้องเพลง การเต้น การแสดงเลียนแบบบุคคล และการแสดงตลกที่มีจุดประสงค์เพื่อทำให้ผู้เข้าร่วมงานเฮฮากันค่ะ ส่วนเอ็นไคเกมนั้น รางวัลและเงินรางวัลจะถูกใช้เป็นแรงจูงใจให้คนแข่งขันกันอย่างเช่นการเล่นบิงโก ควิซ และเกมเป่ายิงฉุบเป็นต้นค่ะ
การปิดงานสังสรรค์ (酒の締め / Sakenoshime)
ในประเทศญี่ปุ่น ในตอนท้ายของงานดื่มสังสรรค์และงานปาร์ตี้ส่งท้ายปีเก่า จะมีการ "*ปรบมือ" (手締め / teshime / เทะชิเมะ หรือ 手打ち / teuchi / เทะอุจิ) ที่ทำพร้อมกันโดยผู้เข้าร่วมทุกคน เช่น การปรบมือครั้งเดียวหรือการปรบมือสามครั้งค่ะ
นอกจากนี้ การทานราเม็งหรืออาหารอื่นๆ กันเพื่อเป็น "เมนูปิดท้ายการดื่มสุรา" (酒の締め / sakenoshime) หลังจากปาร์ตี้ดื่มสุราก็เป็นสิ่งที่นิยมทำกันทั่วไป แต่ในระยะหลังมานี้ จำนวนของผู้ที่ไม่ดื่มสุราโดยเฉพาะในรุ่นใหม่มีการเพิ่มขึ้นมาก ทำให้การกินขนมหวานเช่นพาร์เฟ่ตอนกลางคืนและไอศกรีมตอนกลางคืนเพื่อเป็นเมนูปิดท้ายเพิ่มมากขึ้นตามค่ะ "เมนูปิดท้าย" สำหรับสุรานี้ก็ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของธรรมเนียมญี่ปุ่นที่จะปิดท้ายเวลาที่แสนสนุกสนานกันค่ะ
※ธรรมเนียมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม การตบมือตามจังหวะพร้อมกับการร้องเสียงเพื่อฉลองการสิ้นสุดของกิจกรรมต่าง ๆ เช่นงานแต่งงาน งานศพ, และพิธีกรรมอื่น ๆ
นี่คือประเพณีปีใหม่ของญี่ปุ่น! คำศัพท์เกี่ยวกับสาเกที่ควรจำสำหรับปีใหม่
ตามที่กล่าวไว้ใน "เคล็ดลับการส่งท้ายปีเก่า (โทชิโกชิ) และไหว้พระไหว้เจ้ารับปีใหม่ (ฮัตสึโมเดะ) วิธีการใช้เวลาช่วงสิ้นปีเก่าและเข้าปีใหม่ในญี่ปุ่น" ในญี่ปุ่นมีประเพณีที่จะดื่มสุราเพื่อฉลองในวันสิ้นปีและวันปีใหม่ ที่นี่เราจะแนะนำคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับสุราที่คุณอาจต้องการทราบสำหรับช่วงฤดูกาลขึ้นปีใหม่ค่ะ
โอโทโสะ (お屠蘇 / Otoso - สุราอวยพร)
นี่คือสุราที่ดื่มเพื่อฉลองในวันปีใหม่เพื่อขับไล่วิญญาณชั่วและอวยพรให้มีชีวิตยาวนาน ตามประเพณี มันเป็นสุราที่ทำจากสมุนไพรที่แช่ในเหล้าสาเกและเหล้ามิริน และเสิร์ฟในจอกสาเกที่ทาด้วยสีแดงที่เรียกว่า "โทโซกิ" (屠蘇器) และจอกสาเกแบนที่มีชั้นสามชั้น อย่างไรก็ตาม หลายครัวเรือนในปัจจุบันหันมาดื่มเหล้าสาเกในภาชนะใส่สุราทั่วไปกันค่ะ นอกจากนี้ หากไม่มีภาชนะใส่สุราที่เพียงพอ ก็ยอมรับได้ที่จะดื่มหนึ่งแก้วต่อครั้งในการแยกดื่มสามครั้งตามธรรมเนียมโดยใช้ภาชนะเดียววน 3 ครั้งแทนค่ะ
โอมิคิ (お神酒 / Omiki - สุราถวายเทพ)
นี่คือสุราที่ใช้ถวายแด่เทพ และเป็นหนึ่งในการถวายบูชา (神饌 / shinsen) ที่ศาลเจ้าหรือแท่นบูชาในบ้าน มีความเชื่อว่าโอมิคิที่ถวายแด่เทพเจ้าจะมีพลังวิญญาณ และในการเข้าวัดหรือศาลเจ้าครั้งแรกของปีใหม่ (ฮัตสึโมเดะ) บางศาลเจ้าจะมอบโอมิคิให้แก่ผู้มาสักการะเพื่อเป็นการอวยพรให้ปลอดภัยจากโรคและภัยพิบัติค่ะ
ทารุซาเกะ (たる酒 / Taruzake - สุราถังไม้)
นี่คือสาเกที่บ่มในถังไม้ที่ทำจากไม้ซีดาร์เป็นระยะเวลาหนึ่งและมีกลิ่นของไม้ซีดาร์ ในวันปีใหม่และโอกาสเฉลิมฉลอง จะมอบให้กับผู้เข้าร่วมเป็นเครื่องดื่มดีในพิธีคากามิบิราคิค่ะ
คากามิบิราคิ (鏡開き / Kagami-biraki - การเปิดกระจก)
คากามิบิราคิเป็นหนึ่งในพิธีพิเศษสำหรับเริ่มต้นงานและพิธีกรรมในช่วงปีใหม่ และเป็นพิธีที่จะเปิดถังไม้บ่มสาเกโดยการทุบฝาไม้ด้วยค้อนไม้ค่ะ "คากามิ" (鏡 / kagami - 'กระจก') ใน "คากามิบิราคิ" หมายถึงความกลมเกลียว และ "ฮิราคุ" (開く / hiraku - 'การเปิด') หมายถึงการกระจายโชคดี ด้วยการเปิด "กระจก" นี้ก็กล่าวกันว่าเป็นการเปิด "โชคลาภ" ด้วยค่ะ
Comments