เคล็ดลับการส่งท้ายปีเก่า (โทชิโกชิ) และไหว้พระไหว้เจ้ารับปีใหม่ (ฮัตสึโมเดะ) วิธีการใช้เวลาช่วงสิ้นปีเก่าและเข้าปีใหม่ในญี่ปุ่น

  • 27 ธันวาคม 2021
  • Asami Koga
  • Mon

เคล็ดลับการส่งท้ายปีเก่า (โทชิโกชิ) และไหว้พระไหว้เจ้ารับปีใหม่ (ฮัตสึโมเดะ) วิธีการใช้เวลาช่วงสิ้นปีเก่าและเข้าปีใหม่ในญี่ปุ่น
© TCVB

ในญี่ปุ่น เมื่อหมดช่วงคริสต์มาส จู่ๆ ทั้งเมืองก็กลายเป็นบรรยากาศส่งท้ายปีและขึ้นปีใหม่ บ้านและธุรกิจต่าง ๆ มีการทำความสะอาดครั้งใหญ่ในช่วงสิ้นปี และทุกคนต่างก็กำลังยุ่งอยู่กับการเตรียมตัวสำหรับวันส่งท้ายปีเก่าและวันขึ้นปีใหม่กันค่ะ คุณรู้จักธรรมเนียมปฏิบัติในช่วงวันปีใหม่ของญี่ปุ่นมากแค่ไหน โดยเฉพาะเกี่ยวกับโซบะข้ามปี โซนิ อาหารรับปีใหม่โอเซจิ การไหว้พระไหว้เจ้ารับปีใหม่ฮัตสึโมเดะ เงินรับขวัญปีใหม่โอโตชิดามะ ฯลฯ
วันนี้ฉันจึงอยากจะมาแนะนำธรรมเนียมปฏิบัติและอาหารรสเลิศที่เป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นในช่วงวันหยุดปีใหม่ให้ทราบกันค่ะ

เคล็ดลับการส่งท้ายปีเก่า (โทชิโกชิ) และไหว้พระไหว้เจ้ารับปีใหม่ (ฮัตสึโมเดะ) วิธีการใช้เวลาช่วงสิ้นปีเก่าและเข้าปีใหม่ในญี่ปุ่น

วันโอมิโซกะ (大晦日) วันโชกัตสึซังกะนิจิ (正月三が日) คือ?

วันโอมิโซกะ (大晦日) วันโชกัตสึซังกะนิจิ (正月三が日) คือ?

วันสุดท้ายของเดือนธันวาคมในญี่ปุ่นเรียกว่า "วันโอมิโซกะ" (大晦日 / oomisoka วันส่งท้ายปีเก่า) และเป็นวันที่เตรียมตัวสำหรับต้อนรับเทพเจ้าประจำปี หรือที่เรียกว่า โทชิงามิซามะ (年神様 / toshigamisama) ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 3 มกราคม เรียกว่า "วันโชกัตสึซังกะนิจิ" (正月三が日 / ปีใหม่สามวันแรก) และครอบครัวและญาติ ๆ จะมารวมตัวกันเพื่อเฉลิมฉลองปีใหม่กันค่ะ

อนึ่ง สถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร และร้านค้าหลายแห่งจะปิดให้บริการในช่วงสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่ "เน็นมัตสึเน็นชิ" (年末年始 / nenmatsunenshi) ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม ถึง 3 มกราคม ดังนั้น หากคุณวางแผนจะไปเที่ยวญี่ปุ่นในช่วงเวลานี้ เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสถานที่แต่ละแห่งจะมีการประกาศล่วงหน้าค่ะ ขอแนะนำให้ไปตรวจสอบดูก่อนมาเที่ยวนะคะ

การเตรียมตัวสำหรับการข้ามปีในญี่ปุ่น วิธีใช้เวลาในวันวันส่งท้ายปีเก่าและขึ้นปีใหม่

การเตรียมตัวสำหรับการข้ามปีในญี่ปุ่น วิธีใช้เวลาในวันวันส่งท้ายปีเก่าและขึ้นปีใหม่
© TCVB

ปลายเดือนธันวาคมในญี่ปุ่น ตามที่บ้านและที่ทำงาน มักจะมีการ "ทำความสะอาดครั้งใหญ่" เพื่อขจัดฝุ่นที่หมักหมมสะสมในระหว่างช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา

ในหลาย ๆ กรณีก็จะมีการประดับประดาเครื่องตกแต่งรับปีใหม่ โดย "ชิเมนาวะ" (しめ縄 / shimenawa) และ "คาโดมัตสึ" (門松 / kadomatsu) จะถูกนำมาประดับที่หน้าประตูหน้าบ้านเพื่อให้เทพเจ้าสามารถมาโปรดที่บ้านได้โดยไม่หลงทางหรือลังเล นอกจากนี้ ภายในบ้านยังมีการประดับ "คางามิโมจิ" (鏡餅 / kagamimochi) ซึ่งเป็นข้าวตำโมจิทรงกลมขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ซ้อนกันเป็นขั้นบันไดและวางส้มแมนดารินไว้บนสุด เป็นการประดับเพื่อไหว้เทพเจ้าค่ะ

การเตรียมตัวสำหรับการข้ามปีในญี่ปุ่น วิธีใช้เวลาในวันวันส่งท้ายปีเก่าและขึ้นปีใหม่

ชาวญี่ปุ่นหลายคนยังนิยมการรับประทาน "โทชิโกชิโซบะ" (年越しそば / toshikoshisoba โซบะข้ามปี) ใน "วันโอมิโซกะ" วันที่ 31 ธันวาคมด้วยค่ะ

มีหลายทฤษฎีที่อธิบายว่าทำไมต้องกินโทชิโกชิโซบะในวันส่งท้ายปีเก่า เช่น เส้นหมี่ที่ยาวมีความหมายสื่อถึง "อายุยืนยาว" เอย โซบะนั้นขาดได้ง่ายกว่าบะหมี่ชนิดอื่น จึงยังหมายถึงการ "ตัดขาดจากภัยพิบัติในปีที่จะเข้ามานี้" ด้วยเอย เป็นต้นค่ะ มักจะมีการวางเทมปุระกุ้งบนโทชิโกชิโซบะนี้ เพราะว่ารูปร่างโค้งงอของกุ้งนั้นเป็นสัญลักษณ์ของอายุขัยยืนยาว เพราะเปรียบได้กับรูปลักษณ์ของชายชราหลังค่อม เมื่อสุกแล้วกุ้งจะเปลี่ยนเป็นสีแดง เชื่อกันว่าเป็นสีมงคล กุ้งจึงเป็นส่วนประกอบมาตรฐานในอาหารปีใหม่ และมักรับประทานในอาหารปีใหม่นอกเหนือจากโทชิโกชิโซบะด้วยค่ะ

และกิจกรรมหลักสำหรับวันส่งท้ายปีเก่าคือการลั่นระฆังข้ามปี โจยะโนะคาเนะ (除夜の鐘 / joya no kane) ค่ะ! โจยะโนะคาเนะก็คือการลั่นระฆังวัดตอนเที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม (วันโอมิโซกะ) คนญี่ปุ่นจำนวนมากกินโซบะโทชิโกชิแล้วมุ่งหน้าไปที่วัดเพื่อฟังเสียงระฆังกันค่ะ

โจยะโนะคาเนะเป็นหนึ่งในกิจกรรมทางพุทธศาสนาและพระสงฆ์ก็จะเป็นผู้ลั่นระฆัง 108 ครั้ง แต่แท้จริงแล้ว มันเป็นงานประจำปีที่มุ่งหวังจะขจัด "กิเลส" (煩悩 / bonnou) อันเป็นต้นเหตุของความทุกข์ร้อนใจของมนุษย์ทั้ง 108 ประการ จึงเรียกว่า "โจยะโนะคาเนะ" (除夜の鐘 แปลได้ว่า ระฆังแห่งคืนการชำระล้าง) นั่นเองค่ะ

ฝันแรก ฮัตสึยูเมะ พระอาทิตย์ขึ้นครั้งแรก ฮัตสึฮิโนะเดะ การสักการะครั้งแรก ฮัตสึโมเดะ... ญี่ปุ่นให้ความสำคัญ กับสิ่ง "แรก" ในปีใหม่

ฝันแรก พระอาทิตย์ขึ้นครั้งแรก การสักการะครั้งแรก... ญี่ปุ่นให้ความสำคัญ กับสิ่งแรกในปีใหม่

ในญี่ปุ่น สิ่งแรกที่คุณทำในปีใหม่เรียกว่า "ฮัตสึ●●" และถือเป็นสิ่งสำคัญมาก
ตัวอย่างเช่น การชมพระอาทิตย์ขึ้นในเช้าวันที่ 1 มกราคม ซึ่งเป็นวันแรกของปีใหม่ เรียกว่า "ฮัตสึฮิโนะเดะ" (初日の出 / hatsuhinode พระอาทิตย์ขึ้นครั้งแรก) เพื่อการดูพระอาทิตย์ขึ้นครั้งแรกของปี คนญี่ปุ่นบางคนก็ถ่อสังขารไปปีนเขาฟูจิและภูเขาสูงอื่น ๆ หรือปีนขึ้นไปบนเนินเขา เพื่อเฝ้ารอชมพระอาทิตย์ขึ้นกันเลยค่ะ
หลังจากชมพระอาทิตย์ขึ้นครั้งแรกแล้ว ให้ไปที่วัดหรือศาลเจ้าเพื่อสักการะครั้งแรก เป็น "ฮัตสึโมเดะ" (初詣 / hatsumoude) ค่ะ
นอกจากพระอาทิตย์ขึ้นครั้งแรกและการสักการะครั้งแรก ความฝันที่คุณมีเป็นครั้งแรกในปีใหม่เรียกว่า "ฮัตสึยูเมะ" (初夢 / hatsuyume) และการยิ้มครั้งแรกเรียกว่า "ฮัตสึวาราอิ" (初笑い / hatsuwarai) เป็นต้นค่ะ

เมนูเด็ดเฉพาะช่วงสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่

เมนูเด็ดเฉพาะช่วงสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่
© TCVB

ในช่วงปีใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 3 มกราคม คนญี่ปุ่นจะรับประทานอาหารตามธรรมเนียมแบบดั้งเดิมของปีใหม่ เช่น อาหารปีใหม่โอเซจืกับโอโซนิ และเล่นเกมปีใหม่ เช่น ฟุคุวาราอิ (福笑い / fukuwarai การติดหน้าโอฟุคุโดยหลับตา) และไพ่คารุตะ (かるた / karuta) เป็นต้น เพื่อสร้างความกลมเกลียวกันในครอบครัวกันค่ะ

ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หลายครอบครัวในวันส่งท้ายปีเก่าจะพากันกินโทชิโกชิโซบะ แต่ท็อปปิ้งจะแตกต่างกันไปตามภูมิภาค เช่น กุ้งและปลาเฮอริ่ง เป็นต้นค่ะ

เมนูเด็ดเฉพาะช่วงสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่
เมนูเด็ดเฉพาะช่วงสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่

เมื่อพูดถึงอาหารเทศกาลกินในวันปีใหม่ก็ต้องเป็น โอเซจิเรียวริ (おせち料理 / osechi-ryouri) อาหารปีใหม่
นี่คือกล่องอาหารแบบซ้อนเรียงเป็นชั้นที่เรียกว่า จูบาโกะ (重箱 / juubako) ที่อัดแน่นไปด้วยส่วนประกอบต่างๆ เช่น ถั่วดำ ไข่ปลาเฮอริ่งที่เรียกว่า "คาซูโนโกะ" (数の子 / kazunoko) กุ้งย่าง หัวไชเท้ากับแครอทดองที่เรียกว่า "โคฮาคุนามาสุ" (紅白なます / kouhakunamasu) ไข่ม้วนแบบดาเตะมากิ (伊達巻 / datemaki ไข่ผสมปลากะพงนำไปอบแล้วม้วน) และส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ใส่ความปรารถนาขอให้มีอายุยืนยาวและปราศจากโรคภัย เหมือนเป็นไคเซกิในรูปแบบกล่องเบนโตะค่ะ
อีกเมนูมาตรฐานสำหรับปีใหม่เรียกว่า "โอโซนิ" (お雑煮 / ozouni) ซึ่งเป็นซุปที่ทำจากหัวไชเท้า แครอท กับปลาและหอยต่าง ๆ ตามภูมิภาค เคี่ยวในมิโสะหรือโชยุค่ะ
ซุปและส่วนผสมของโซนิแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคและมีโอโซนิทั่วประเทศหลายสูตรที่มีการใส่โมจิ แต่ประเภทของโมจิจะแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคอีกค่ะ เช่นมีพื้นที่ที่ใส่โมจิแบบสี่เหลี่ยม โมจิแบบทรงกลม ไปจนถึงอังโกะโมจิ (โมจิใส่ถั่วแดง) ด้วยค่ะ

เมนูเด็ดเฉพาะช่วงสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่
เมนูเด็ดเฉพาะช่วงสิ้นปีเก่าขึ้นปีใหม่

นอกจากนี้ยังมีเครื่องดื่มที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะช่วงปีใหม่อีกด้วย

โอโทโสะ (お屠蘇 / otoso) เป็นเครื่องดื่มยอดนิยมที่มักจะดื่มกันในช่วงปีใหม่เพื่อกำจัดสิ่งชั่วร้ายที่สะสมมาเป็นปีออกไป และดื่มอวยพรให้อายุยืนยาวกันค่ะ
"อะมาซาเกะ" (甘酒 / amazake) เป็นอีกหนึ่งเครื่องดื่มปีใหม่ที่พบตามในวัด ทำจากข้าวและหัวยีสต์โคจิ อย่างที่กล่าวมาแล้ว ในช่วงวันปีใหม่ก็มีอาหารอร่อยมากมาย แต่มันก็เลยไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนจะอ้วนขึ้นกันเร็วในช่วงหยุดยาวฤดูหนาว (หยุดปีใหม่) ค่ะ

คุณสามารถเพลิดเพลินกับอาหารปีใหม่ได้อย่างง่ายดายที่ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อ!

คุณสามารถเพลิดเพลินกับอาหารปีใหม่ได้อย่างง่ายดายที่ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อ!

หากคุณกำลังเดินทางไปญี่ปุ่นในช่วงปีใหม่ ลองแวะไปที่ซูเปอร์มาร์เก็ตหรือร้านสะดวกซื้อดูนะคะ
อาหารโอเซจิในกล่องจูบาโกะนั้นมักจะต้องจองล่วงหน้า ดังนั้นจึงหาซื้อได้ยากในวันจริงค่ะ แต่เครื่องประกอบต่าง ๆ ในโอเซจิอย่างถั่วดำ ดาเตะมากิ และปลาอัดคามาโบโกะ ก็มีจำหน่ายแยกต่างหากที่ซูเปอร์มาร์เก็ตค่ะ การเลือกซื้อเฉพาะสิ่งที่อยากกิน และนำไปกินที่โรงแรมอาจเป็นวิธีพิเศษในการเพลิดเพลินกับปีใหม่ด้วยก็ได้เหมือนกันค่ะ

นอกจากนี้ ในญี่ปุ่น ผู้ใหญ่เช่นพ่อแม่และญาติ ๆ มักจะให้เงินค่าขนมแก่ลูกๆ ในถุงของขวัญปีใหม่ โอโทชิบุคุโระ (年玉袋 / otoshibukuro) ในช่วงปีใหม่ ธรรมเนียมนี้เรียกว่า "โอโตชิดามะ" (お年玉 / otoshidama) ค่ะ
ในช่วงเวลานี้ของปี ร้านเครื่องเขียนและร้านสะดวกซื้อขายซองจดหมายสีแดงน่ารักมากมายพร้อมตัวการ์ตูนยอดนิยม ดังนั้นจึงแนะนำให้ซื้อเป็นของที่ระลึกสำหรับการเดินทางไปญี่ปุ่นในช่วงเวลาพิเศษนี้ค่ะ

คุณสามารถเพลิดเพลินกับอาหารปีใหม่ได้อย่างง่ายดายที่ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านสะดวกซื้อ!


หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend