เจ้าบ่าวเจ้าสาวบางคู่จะสวมชุดกิโมโนในงานแต่งงานแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น แต่ชุดกิโมโนสำหรับงานแต่งงานมีหลายประเภท ครอบครัวของเจ้าบ่าวเจ้าสาวและแขกในงานแต่งงานสามารถสวมชุดกิโมโนร่วมงานได้เช่นกัน ในบทความนี้เราจะมาแนะนำประเภทของชุดกิโมโนสำหรับงานแต่งงานที่แตกต่างกันไปตามสถานที่และฐานะ
ชุดกิโมโนสำหรับงานแต่งงานของเจ้าสาวมีให้เลือก 3 แบบ
โดยทั่วไปแล้วชุดกิโมโนที่ผู้หญิงสวมใส่ในงานแต่งงานแบ่งเป็น 3 แบบ "ชิโรมุคุ" (Shiromuku ขาวใสไร้มลทิน) ชุดแต่งงานสีขาวทั้งชุด "อิโรอุจิคาเคะ" (Iro-Uchikake) ชุดกิโมแบบมีสีสันและลวดลาย แบบ"ฟุริโซเดะ" (Furisode) ชุดกิโมโนสำหรับหญิงสาวที่ยังไม่ได้แต่งงาน
ชิโรมุคุ (Shiromuku) ชุดแต่งงานกิโมโนสีขาว
ชิโรมุคุจะทอเป็นชุดสีขาวทึบ เป็นชุดแต่งงานแบบทางการมากที่สุดตั้งแต่สมัยโบราณ ในเซตของชุดแต่งงานแบบนี้จะมีที่ครอบผมสีขาวที่เรียกว่า "วาตาโบชิ" (Wataboshi) หรือ ซึโนคาคุชิ (Tsunokakushi) และจะมีอุปกรณ์ชิ้นเล็กชิ้นน้อยประดับตกแต่งชุดเจ้าสาวอีกด้วย นี่คือชุดที่ส่วนใหญ่สวมใส่ในพิธีแต่งงาน ซึ่งมีหมายความว่าปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายและเข้าร่วมพิธีแต่งงานอันศักดิ์สิทธิ์
สำหรับผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับชุดกิโมโนสีขาวโปรดอ่านบทความนี้
อิโรอุจิคาเคะ (Iro-Uchikake) กิโมโนแต่งงานหลากสี
กิโมโนแบบอิโระอุชิคาเคะมีสีสันที่สดใส เป็นชุดแต่งงานที่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกับชิโรมุคุ ตัวผ้ามีลวดลายที่ปักและย้อมสีที่สวยงาม ซึ่งทำให้สามารถเลือกสีและลวดลายผ้าได้อย่างเพลิดเพลิน นอกจากชุดแต่งงานสีขาวแล้ว อิโรอุจิคาเคะแบบดั้งเดิมซึ่งตัดเย็บด้วยผ้าสีแดง เขียว ดำ และสีอื่่นๆแล้ว ยังมีลวดลายซึ่งมีความหมายมงคลเช่น นกกระเรียน เต่า นกฟีนิกซ์ และพัด (Suehiro) ซึ่งปักด้วยด้ายสีทองและสีเงิน ระยะหลังมานี้เริ่มมีชุดสีพาสเทลซึ่งกำลังได้รับความนิยมจากคู่แต่งงานหนุ่มสาว
ฟุริโซเดะ (Furisode) ชุดกิโมโนสำหรับงานเฉลิมฉลอง
ฟุริโซเดะเป็นชุดกิโมโนสำหรับผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานและบางครั้งก็สวมใส่ในงานแต่งงานเพราะงานแต่งงานนั้นถือเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะสวมใส่ (ก่อนที่จะกลายเป็นผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว) ฟุริโซเดะมีน้ำหนักเบาจึงทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวกกว่าชิโรมุคุหรืออิโรอุชิคาเคะ ดังนั้นเจ้าสาวบางคนจะทำอิโระนาโอชิ (色直し เปลี่ยนสี ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนเสื้อผ้า) ในงานเลี้ยงฉลองงานแต่งงาน นอกจากนี้ยังมีฮิคิ-ฟุริโซะเดะ (Hiki-furisode) ซึ่งมีแขนยาวกว่าฟุริโซเดะทั่วไปซึ่งเป็นที่นิยมในงานเลี้ยงฉลองมงคลสมรสด้วย
ชุดกิโมโนแต่งงานของเจ้าบ่าว
ชุดกิโมโนแบบเดียวที่เจ้าบ่าวจะใส่ในงานแต่งงานคือ มงสึกิ ฮาโอริ ฮากามะ (Montsuki Haori Hakama) เป็นกิโมโนที่สวมกับฮาโอริและฮากามะประดับด้วยตราประจำตระกูล
ชุดแบบทางการนั้นสีอะไร?
มีทั้งสีขาว สีน้ำเงินกรมท่า สีเทาเป็นต้น แต่สีที่เป็นทางการมากที่สุดคือสีดำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุดสีดำที่มีตราประจำตระกูลทั้ง5แห่งนั้นดูสุภาพและทางการมากที่สุด
"มงสึกิ" (Montsuki) คืออะไร?
คำว่า"มง" (Mon) ใน "Montsuki" มาจากสัญลักษณ์ประจำตระกูล ซึ่งแต่ละครอบครัวก็จะมีตราประจำแตกต่างกันไป และเสื้อคลุมฮาโอริกับฮากามะสีดำที่มีตราประจำตระกูลทั้งห้าเป็นเครื่องแต่งกายแบบดั้งเดิมที่ถูกกำหนดให้เป็น "ชุดพิธีการสำหรับผู้ชาย" โดยถูกจัดให้เป็นกฎในยุคเมจิ ตราประจำตระกูลทั้ง 5 จะประดับไว้ตรงด้านหลังคอเสื้อ แขนเสื้อทั้ง 2 ข้าง และด้านหน้าอกอีก 2 ข้าง
อย่างไรก็ตามจำนวนตราประจำตระกูลบนชุดกิโมโนชายจะมีทั้งแบบ 5 3 หรือ1ตำแหน่ง โดยที่ มิตสึ-มง(Mitsu-mon) ตราประจำตระกูลถูกติดไว้ที่ด้านหลังและแขนเสื้อทั้ง 2 ข้าง ส่วนแบบ 1 ตำแหน่งจะอยู่ด้านหลังตรงบริเวณคอเสื้อที่เดียว
เสื้อทุกแบบขนาดของตราประจำตระกูจะมีขนาดเท่ากันคือประมาณ 4 ซม. สำหรับชุดของผู้ชายและประมาณ 2 ซม. สำหรับกิโมโนผู้หญิง หากตำแหน่งของตราไม่ถูกต้องจะไม่สามารถใช้ในสถานที่ที่เป็นทางการโดยทั่วไปได้
กิโมโนสำหรับครอบครัวและญาติของเจ้าสาวและเจ้าบ่าว
โดยทั่วไปแขกและญาติจะมีชุดกิโมโนที่ควรและไม่ควรสวมใส่ในงานแต่งงาน อันดับแรกเราขอแนะนำชุดกิโมโนสำหรับสมาชิกในครอบครัวและญาติที่มาร่วมงานแต่งงาน
ชุดกิโมโนสำหรับผู้หญิง:ครอบครัวและญาติ
ญาติและสมาชิกและ "นาโคโดะ" (แม่สื่อ) จะสวมชุดแบบคุโระ-โทเมโซเดะ (Kuro Tomesode) คือชุดกิโมโนสีดำที่มีตราประจำตระกูลติดไว้สำหรับผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว สำหรับคนที่ยังไม่แต่งงานจะสวมชุดแบบ "อิโระ-โทเมโซเดะ" (Iro Tomesode) กิโมโนที่มีสีสัน "โฮมงกิ" (Homongi) และ "ฟุริโซเดะ" (Furisode)
อย่างไรก็ตาม "นาโคโดะ" คือพ่อสื่อแม่สื่ออย่างเป็นทางการของเจ้าสาวและเจ้าบ่าวซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่น โดยประเพณีดั้งเดิมพ่อสื่อแม่สื่อจะเป็นคู่สามีภรรยากัน
ชุดกิโมโนสำหรับผู้ชาย: ครอบครัวและญาติ
ชุดกิโมโนของผู้ชายจะไม่มีความแตกต่างระหว่างแต่งงานหรือยังไม่ได้แต่งงาน ชุดกิโมโนสำหรับสุภาพบุรุษเรียกว่า "Montsuki Haori Hakama" ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสีดำหรือสีเทาจะไม่สวมใส่กิโมโนแบบมีสีสัน
ชุดกิโมโนของแขกที่มาร่วมงาน
ในส่วนนี้เราจะแนะนำชุดกิโมโนของแขกที่ได้รับเชิญเข้าร่วมงานแต่งงาน นอกจากนี้ยังแตกต่างกันไปสำหรับผู้ชายและผู้หญิง และสำหรับผู้หญิงที่แต่งงานแล้วหรือยังไม่ได้แต่งงาน
ชุดกิโมโนของแขกร่วมงานที่เป็นผู้หญิง
ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วที่เข้าร่วมในฐานะแขกในงานแต่งงานจะสวมกิโมโนแบบมีสี (iro tomesode) ส่วนผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานจะสวม ฟุริโซเดะ (furisode)
คุณสามารถสวม "โฮมงกิ" ในงานแต่งงานได้ไม่ว่าคุณจะแต่งงานหรือไม่ก็ตาม โดยชุดที่สวมใส่จะมีลวดลายที่งดงาม ชุดกิโมโนหรือโอบิที่ปักด้วยด้ายสีทองและสีเงินเพื่อร่วมยินดีกับคู่บ่าวสาว
ชุดกิโมโนของแขกร่วมงานที่เป็นผู้ชาย
ชุดของผู้ชายไม่มีการแยกว่าแต่งงานแล้วหรือยังไม่แต่งงาน แต่จะสวม "อิโร-มงซึกิ" (Iro-Montsuki) ชุดกิโมโนชายที่มีสีอื่น ๆ ที่ไม่ใช่สีดำ ฮาโอริคล้ายกับแจ็คเก็ตสูทแบบตะวันตกดังนั้นจึงควรสวมเสื้อคลุมฮาโอริในงานแต่งงานเสมอ
เป็นยังไงกันบ้าง? คุณอยากลองจัดงานแต่งงานสไตล์ญี่ปุ่นเพื่อถ่ายรูปดูไหม?
Comments