พื้นฐานของหมากล้อมญี่ปุ่น(Igo) เคล็ดลับการเล่นและราคา

  • 14 กุมภาพันธ์ 2019
  • FUN! JAPAN Team

เพียงแค่มีกระดานและตัวเดินหมากเท่านั้นก็สามารถเพลิดเพลินและเล่นเกมนี้ได้ทุกที่ทุกเวลา "หมากล้อมญี่ปุ่น(Igo)" ผู้เล่นมี 2 คน อีกฝ่ายจะถือหมากหินสีดำ ส่วนอีกฝ่ายจะถือหมากหินสีขาว และกระดานหมากที่มีขนาดที่แน่นอน เป็นเกมที่ดูว่าหมากสีไหนจะถูกล้อมมากกว่ากัน หลายคนอาจมองว่าเป็นเกมที่มีกฎกติกายาก แต่ถ้าจำได้แล้วก็เป็นเรื่องง่ายเลย เราขอแนะนำข้อควรรู้และกฎกติกาการเล่นเกม รวมถึงเคล็ดลับเพื่อให้เล่นได้อย่างสนุก!

ประวัติของหมากล้อมญี่ปุ่น(Igo)

ต้นกำเนิดของเกมหมากล้อมเกิดขึ้นเมื่อมากกว่า 2000 ปีก่อนคริสตกาล โดยประเทศต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน จักรพรรดิจีนโบราณชื่อGyoteiและ Shunteiได้นำวิธีนี้มาใช้อบรมลูก และยังถูกใช้ในการดูดวงสมัยโบราณอีกด้วย หลังจากนั้นก็ได้เผยแพร่ไปยังประเทศเกาหลี จากนั้นประมาณปี 607 ก็ได้เผยแพร่มาสู่ประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ยุคAsuka, Nara, Heianในหมู่ขุนนางและได้ถ่ายทอดไปสู่ยุค Kamakura และ Muromachi นอกจากนั้นก็ได้แพร่กระจายไปยังซามูไรและพ่อค้า เรียกได้ว่าเป็นยุคทองของเกมหมากล้อมนี้ในปลายยุคเอโดะ ได้มีการกล่าวกันว่าโลกของเกมหมากล้อมได้รับการพัฒนาด้วยความช่วยเหลือจากโชกุนและไดเมียว

หลังจากนั้นในปี 1924 (ปีที่ 13 Taisho) ได้มีการก่อตั้งสมาคมเกมหมากล้อมแห่งญี่ปุ่น"Nihon Kiin" ที่เขตChiyodaโตเกียว จะมีการฝึกอบรมผู้เล่นมืออาชีพ กำหนดระดับของผู้เล่นมืออาชีพ เปิดเป็นสถานที่แข่งขันเกมหมากล้อมและอื่น ๆ

เมื่อพูดถึงเกมหมากล้อมญี่ปุ่น มักจะมีผู้เล่นผู้ชายที่อายุประมาณอายุ 50 ปี และ 60 ปีมากกว่าคนหนุ่มสาว แต่มีมังงะ "Hikaru no Go" ทำให้ได้เริ่มเป็นที่นิยมเล่นของคนหนุ่มสาวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

เกมหมากล้อมญี่ปุ่นคืออะไร

เกมที่ใช้แผ่นกระดานกับหมากสีดำและหมากสีขาว ผู้เล่น 2 คนนั่งหันหน้าเข้าหากัน อีกฝ่ายมีหมากสีดำ อีกฝ่ายมีหมากสีขาว ใครที่มีพื้นที่หมากล้อมครอบคลุมได้ใหญ่กว่าอีกฝ่ายก็ถือว่าเป็นผู้ชนะ 

ขนาดกระดานหมากที่เป็นมาตรฐานมีแนวตั้ง 19 ช่องและในแนวนอน 19 ช่องและจุดตัดกัน (ตา) คือ 19 × 19 = 361 สำหรับผู้เริ่มต้นอาจใช้กระดานที่มีด้านแนวตั้งและแนวนอน 13 จุด หมากหินชุดนี้ประกอบด้วย "สีดำ 181ชิ้นและสีขาว 180 ชิ้นรวมทั้งหมด 361ชิ้น"

หมากหินที่ราคาสูงนั้น สีขาวจะทำมาจากหอย สีดำจะทำมาจากหิน ถ้าราคาทั่วไปทำจากแก้วพลาสติกและอื่น ๆ 

ที่เก็บหมากทำจากต้นเกาลัด(ซ้าย)ที่เก็บหมากทำจากต้นเคยาคิ(ขวา)
รูปภาพโดย) Nihon Kiin (ภาษาอังกฤษ)https://www.nihonkiin.or.jp/english/

ภาชนะเก็บหมากที่เรียกว่า goke เป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการเก็บหมากและฝาด้านบนใช้สำหรับยึดหินของฝ่ายตรงข้าม

พื้นฐานของเกมหมากล้อมที่ควรรู้

1)ผู้เล่นสองคนวางหินแต่ละก้อนสลับกันในตำแหน่งที่เส้นแนวตั้งและแนวนอนของเส้นกระดานที่ตัดกัน

คุณสามารถวางหมากที่ไหนก็ได้ แต่คล้ายกับเกมOthello ไม่ได้ให้หมากวางบนในช่องตารางแต่ให้วางที่จุดตัดของเส้น และไม่สามารถพลิกหมากให้เปลี่ยนสีเป็นอีกด้านหนึ่งได้ การวางหมากจะเรียกว่า「utsu」

2)ผู้ที่มีพื้นที่ครอบคลุมมากกว่าคู่ต่อสู้ถือเป็นฝ่ายชนะ

ผู้ที่มีพื้นที่ครอบคลุมมากกว่าคู่ต่อสู้ถือเป็นฝ่ายชนะดังนั้นต้องวางแผนการเดินหมากให้ล้อมมากที่สุด

ตัวอย่าง) หมากดำ 16 ชิ้นล้อมตาราง 9 ช่อง

รูปภาพโดยNihon Kiin (ภาษาอังกฤษ)https://www.nihonkiin.or.jp/english/

ตัวอย่าง)หมากดำ 9 ชิ้นล้อมตาราง 16 ช่อง
รูปภาพโดย) Nihon Kiin (ภาษาอังกฤษ) https://www.nihonkiin.or.jp/english/

3)เพื่อที่จะ "เอาหมากของคู่ต่อสู้" ต้องล้อมรอบหมากด้วยหมากของตัวเอง

เมื่อล้อมหมากของคู่ต่อสู้ไว้ ก็สามารถชิงหมากมาได้
รูปภาพโดย) Nihon Kiin (ภาษาอังกฤษ)https://www.nihonkiin.or.jp/english/

การเล่นโดยล้อมหมากโของฝ่ายตรงข้ามไว้ จะทำให้สามารถชิงหมากมาเป็นของตัวเองได้ หมากที่ชิงมาได้นั้นเรียกว่า "Agehama" และจะกลายเป็นหมากของตัวเอง นำหมากไปวางไว้บนฝาภาชนะเก็บหมากที่เรียกว่า goke เพื่อที่จะลดพื้นที่บนตารางหมากของฝ่ายตรงข้าม เมื่อวางแล้วหมากจะไม่สามารถเคลื่อนย้ายหรือเอาออกได้ยกเว้นว่ามันถูกล้อมรอบด้วยหมากของฝ่ายตรงข้าม

4)คนที่ล้อมรอบตารางหมากกว่าก็จะชนะ!

เกมนี้เรียกได้ว่าเป็นการแย่งพื้นที่ในตาราง พยายามวางหมากให้ล้อมรอบตารางได้มากที่สุดก็จะเป็นผู้ชนะไ

สิ่งที่ทางเราได้แนะนำในบทความนี้ค่อนข้างน้อย ผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมโปรดตรวจสอบเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ Nihon Kiin  (ภาษาอังกฤษ) https://www.nihonkiin.or.jp/english/

หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend