ประวัติความเป็นมาและเรื่องราวของโชกิที่คุณควรทราบ

  • 7 กุมภาพันธ์ 2019
  • FUN! JAPAN Team

โชกิเป็นเกมที่ประกอบไปด้วยหมากทั้งหมด 40 ชิ้นมี 8 ประเภทเรียกว่า “โคมะ” (駒) และผู้ชนะในเกมนี้คือคนที่สามารถทำให้ขุนของฝ่ายตรงข้ามไม่สามารถเครลื่อนไหวได้ เพียงแค่คุณมี “กระดาน” (盤) และ “หมาก” (駒) คุณสามารถเล่นเกมนี้ได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม สำหรับเกมโชกิเป็นที่นิยมในญี่ปุ่นมาเป็นเวลานาน และในปี 2016 ไม่นานมานี้ ซาโตชิ ฟูจิสามารถเป็นโปรโชกิที่อายุน้อยที่สุดเพียงอายุ 14 ปีเท่านั้น จากความสำเร็จทำให้เขาได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และส่งผลให้วัยรุ่นสมัยใหม่เริ่มมีความสนใจในเกมโชกิมากขึ้น วันนี้เราจะมาแนะนำกฎกติกาและประวัติศาสตร์ของเกมโชกิญี่ปุ่นค่ะ!

เรื่องราวของโชกิ

ต้นกำเนิดของโชกิมีหลากหลายทฤษฎีว่ากันว่าญี่ปุ่นไม่ได้เป็นผู้ริเริ่ม ต้นกำเนิดนั้นมาจากอินเดียโบราณเผ่า Chatlanga และตั้งแต่นั้นมันแพร่กระจายไปทั่วยุโรปและเอเชีย และมีการปรับเปลี่ยนกันอย่างอิสระ เช่น China Shan Chi,หมากรุกตะวันตกและโชกิญี่ปุ่น มีการกล่าวว่าเรื่องราวเริ่มต้นจากอินเดียและส่งต่อไปยังจีนและคาบสมุทรเกาหลีรวม และแพร่ไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่น

ในสมัยเฮอัน โชกิญี่ปุ่นถูกเรียกว่า "เฮอันโชกิ" และพอเข้าสู่สมัยเอโดะ โชกุนได้ก่อตั้งสถานที่สำหรับเล่นโชกิขึ้นจึงทำให้โชกิมักเป็นกิจกรรมที่เล่นกันบ่อยๆ

ในปี 1947 สหพันธ์โชโกประเทศญี่ปุ่นได้ก่อตั้งขึ้น มีการจัดการแข่งขันอย่างจริงจังสำหรับโปร 8 ประเภท เช่น Ryuo Battle, Masters Battle และ Eio Battle รวมไปถึงมีการจัดฝึกอบรม, จัดห้องเรียนโชกิ และเมื่อเร็วๆนี้เกมโชกิผ่านอินเตอร์เน็ตก็เป็นที่นิยมและเหมาะสำหรับวัยรุ่น

ปัจจุบันมีผู้เล่นมืออาชีพประมาณ 200 คนในประเทศญี่ปุ่น เพื่อที่จะเป็นนักเล่นมืออาชีพโชกิคุณต้องเข้าสู่สถาบันการฝึกอบรมทุนการศึกษา โดยต้องมีการเลื่อนขั้นจาก ขั้นที่ 6 5 4 3 ตามลำดับ การเข้าร่วมการแข่งขันขั้นที่ 3 นั้นมีปีละสองครั้ง และสำหรับอันดับสูงสุด 2 คนจะได้เลื่อนขั้นเป็นขั้นที่ 4 หากขั้นสูงกว่านั้นจะเรียกผู้เล่นว่าโชกิมืออาชีพและสามารถเข้าร่วมในการต่อสู้ที่สูงขึ้นไปอีกได้

ข้อมูลพื้นฐานที่ควรรู้เกี่ยวกับโชกิ

1)ต่อสู้บนกระดานโชกิทั้งหมด 81 ช่อง

สำหรับบอร์ดโชกินั้นแบ่งเป็น 9x9 ซึ่งหากนับรวมช่องทั้งหมดจะได้ 81 ช่อง โดย 3 แถวฝั่งในเป็นพื้นที่ของฝ่ายเรา ส่วนอีก 3 แถวตรงข้ามเป็นพื้นที่ฝ่ายตรงข้าม

2)หมากมี 8 ชนิด ทั้งหมด 20 ชิ้น

หมากทั้ง 8 ประเภทนั้นประกอบด้วย ขุน (王将) 1 ชิ้น, เรือ (飛) 1 ชิ้น, บิชอป (角) 1 ชิ้น, นายพลทอง (金) 2 ชิ้นและนายพลสีเงิน (銀) 2 ชิ้น, ม้า (桂) 2 ชิ้น, เคียว (香) 2 ชิ้น, เบี้ย (歩)9 ชิ้น รวมทั้งหมด 20 ชิ้น โดยในการเล่นนั้นเป็นการผลัดเปลี่ยนกันระหว่าง 2 ฝ่าย ใช้หมากทีละตัว ใครที่สามารถล้มขุนได้ก่อนคือผู้ชนะ

3)ตำแหน่งของหมากถูกกำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มเกม

หากดูจากรูปเราจะเห็นได้ว่าหมากแต่ละชิ้นถูกกำหนดตำแหน่งเอาไว้แล้ว ในการเล่นตามธรรมเนียมจะให้ผู้มีอาวุโสเป็นคนเริ่มเกมก่อน หลังจากที่วาง “ขุน” ตัวเองแล้วก็จะเป็นลำดับต่อไปที่ให้ผู้มีอาวุโสน้อยกว่าวางขุนตาม

4)การเดินของหมาก มีอยู่ 4 ประเภท

การเดินหมากพื้นฐานมีสี่ประเภท คือ "เดิน" "กิน", "เลื่อนขั้น", "วาง" การเคลื่อนไหวของหมากถูกกำหนดไว้สำหรับแต่ละชิ้น (อ่านรายละเอียดในข้อ 5) การจดจำวิธีการเดินของหมากแต่ละชิ้นเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องจำให้ได้เป็นอย่างแรก

เดินหน้า/進む…ไม่ว่าหมากชิ้นใดก็สามารถเดินหน้าได้ หมากบางชิ้นสามารถเดินเป็นระยะทางไกลได้ บางชิ้นเดินข้ามหมากของตนหรือของฝ่ายตรงข้ามได้ บางชิ้นเดินหน้าได้อย่างเดียวถอยหลังไม่ได้

กิน/取る…หากหมากของฝ่ายตรงข้ามของคุณอยู่ในตำแหน่งที่หมากของคุณสามารถเคลื่อนย้ายไปได้ คุณสามารถนำชิ้นส่วนของฝ่ายตรงข้ามออกและย้ายไปยังช่องนั้นแทนได้ หากหมากของฝ่ายตรงข้ามสามารถเคลื่อนไหวไปยังช่องที่มีหมากของคุณได้ หมากของคุณก็สามารถถูกฝ่ายตรงข้ามกินได้เช่นกัน ชิ้นหมากที่คุณกินไปสามารถใช้เป็นชิ้นหมากเพิ่มเติมในฐานะ "โมจิโกมะ" (持ち駒) หรือหมากในมือ

วาง/打つ…เวลาจะใช้หมากในมือ ให้กล่าวว่า “อุตสึ” (打つ) หมากที่จะวางลงกระดานต้องเป็นช่องที่ไม่มีหมากอื่นอยู่

เลื่อนขั้น/成る…เมื่อหมากของคุณไปถึงพื้นที่ฝั่งตรงข้ามหรือเมื่อฝั่งตรงข้ามมาถึงพื้นที่ฝั่งของคุณ สามารถพลิกตัวหมากและเปลี่ยนข้อจำกัดและวิธีการเดินได้ตามชิ้นหมากที่เปลี่ยนไป เรียกว่าการ”เลื่อนขั้น” (成る) นอกจากนี้ยังสามารถเลื่อนขั้นหลังจากเดินออกพื้นที่ฝั่งตรงข้ามได้อีกด้วย

5)วิธีการเดินของหมากแต่ละชิ้นถูกกำหนดไว้แล้ว!

ชิ้นหมากทั้ง 8 ประเภทมีวิธีการเดินที่ถูกกำหนดไว้แล้ว ขอแนะนำบางส่วนให้ทราบกันก่อนเลย

ขุน/โอโช/王将… การเดินเหมือนขุนในหมากรุกไทย เดินได้ทุกทิศทางรอบตัวเพียงหนึ่งช่อง ด้านหลังของชิ้นหมากโอโชจะว่างไม่เขียนอะไรไว้ และไม่สามารถเลื่อนขั้นได้ ในโชกินับเป็นชิ้นหมากที่สำคัญที่สุด หากโอโชไม่สามารถเดินไปทางใดได้(โดยไม่ถูกกิน) ก็ถือว่าแพ้

เรือ/ฮิฉะ/飛車… การเดินเหมือนเรือในหมากรุกทั่วไป สามารถเดินในแนวตั้งและแนวนอนได้ไม่จำกัดช่อง แต่ไม่สามารถข้ามหมากตัวอื่นได้ การ”เลื่อนขั้น” จะกลายเป็นมังกร 竜(龍) สามารถเดินแบบทะแยงได้แต่ได้ทีละช่อง

บิชอบ/คาคุ/角行… สามารถเดินทแยงได้ไม่จำกัดช่องจนกว่าจะเจอหมากตัวอื่นหรือขอบกระดาน เวลา”เลื่อนขั้น” จะกลายเป็น “ม้าเร็ว” 馬 สามารถเดินแนวตั้งและนอนได้แต่ทีละช่อง

6)ฝ่ายไหนทำให้ขุนของฝ่ายตรงข้ามเดินไปไหนไม่ได้ก่อนชนะ!

ในโชกิ ฝ่ายใดสามารถทำให้ขุน(โอโช)ของฝ่ายตรงข้ามเดินไปไหนไม่ได้ก่อนถือว่าเป็นฝ่ายชนะ ประเด็นสำคัญคือจะล้อมขุนยังไงนั่นเอง

ทักษะสำคัญที่ใช้ในโชกิ

ทักษะที่สำคัญในการเล่นโชกิคือ "ความสามารถในการอ่านเกมล่วงหน้า" ลองคิดดูว่าจะให้หมากชิ้นไหนวางอยู่ตรงไหน แล้วคู่ต่อสู้วางหมากชิ้นไหนลงตรงไหน แล้วหลังจากนั้นคุณจะวางหมากลงตรงไหน ... เคล็ดลับอยู่ที่การอ่านเกมล่วงหน้า 3 ตา เมื่อจำนวนชิ้นหมากในมือเพิ่มขึ้น พอเข้าสู่เกมระยะกลาง แม้จะบอกให้อ่านเกมล่วงหน้าสามตา ความเป็นไปได้ที่คุณต้องอ่านก็ยิ่งเพื่อมากขึ้นเรื่อยๆ

ไม่นานมานี้ โชกิเริ่มได้รับความนิยมในฐานะหมากกระดานที่ช่วยเสริมทักษะการอ่านเกมล่วงหน้าและการคิดเชิงตรรกะ และในฐานะสิ่งที่น้าเรียนรู้ไว้อย่างหนึ่ง ลองเล่นดูให้ได้สักครั้งก็ยังดี! กระดานและหมากของโชกิ ถ้าเป็นของคุณภาพสูงก็จะทำจากไม้ ของราคาไม่แพงก็ทำจากพลาสติกหรือเรซิ่นสังเคราะห์ คุณสามารถซื้อได้ในราคา 2,000-3,000 เยนสำหรับเซตปกติ และประมาณ 1,000 เยนสำหรับเซ็ตพกพาขนาดเล็ก!

หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend