ในภาษาญี่ปุ่นนั้นคำว่า 年末年始 (Nenmatsu Nenshi) หมายถึงช่วงเวลาตั้งแต่ปลายปีจนถึงต้นปีใหม่ ในช่วงนี้แต่ละพื้นที่อาจกำหนดวันที่ไม่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วมักหมายถึงช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคมคือปลายปีและวันที่ 1 มกราคมคือต้นปี ซึ่งในช่วงเวลาปลายปีและต้นปีนั้นมีทั้งกิจกรรมต่างๆและอาหารที่แตกต่างกันไป เอาล่ะค่ะ เรามาดูกันดีกว่าว่าช่วงปีใหม่ในญี่ปุ่นจากสายตาคนต่างชาตินั้นน่าสนใจขนาดไหน
1、ร้านขายล็อตเตอรี่ในช่วงปีใหม่แถวยาวมาก!
เวลาที่คุณเดินเล่นรอบๆตามถนนในญี่ปุ่น สังเกตมั้ยคะว่าร้านขายล็อตเตอรี่มีเยอะมากเลย หากคนที่ซื้อเป็นคนญี่ปุ่นไม่น่าแปลกใจเท่าไหร่ และในช่วงเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงเดือนธันวาคม มีล็อตเตอรี่ Year-end jumbo lottery ออกวางจำหน่ายทำให้เป็นช่วงที่ฮิตเป็นอย่างมาก Year-end jumbo lottery นั้นมีตัวเลขทั้งหมด 6 หลัก โดยผลรางวัลจะประกาศในวันที่ 31 ธันวาคม รางวัลที่ 1 คือเงินรางวัลจำนวน 700 ล้านเยน และยังมีรางวัลอื่นๆอีกเรียกได้ว่ามูลค่ารวมแล้วถึง 1000 ล้านเยนเลยล่ะ อีกทั้ง ที่สถานีกินซ่า ยูระคุโจในโตเกียว หรือสถานรโอซาก้าจะมีสถานที่จัดจำหน่าย ว่ากันว่าโอกาสถูกรางวัลนั้นสูงมากจึงทำให้บริเวณแห่งนั้นในช่วงสิ้้นปีแถวจะยาวสุดๆ การรอลุ้นรางวัลในช่วงสิ้นปีแบบนี้เรียกได้ว่าเป็นสีสันของช่วงสิ้นปีเลยค่ะ
2、คำทักทายวันที่ 31 ธันวาคมกับวันที่ 1 มกราคมไม่เหมือนกัน!
ยกตัวอย่างเช่นหากเป็นช่วงท้ายปีเจอกับเพื่อนและเรารู้สึกว่าเราจะไม่ได้เจอคนนั้นก่อนขึ้นปีใหม่แล้ว เวลาแยกกันจะพูดคำว่า「良いお年を」(Yoiotoshiwo) 「良いお年を」นั้นย่อมาจากคำว่า 'ขอให้เป็นปีที่ดีเข้ามา'คำว่า 良い (สื่อถึงสุขภาพร่างกายแข็งแรง) 年 (สื่อถึงช่วงวันเริ่มปีใหม่) และในทางกลับกัน หากเป็นวันที่ 1 มกราคมจะพูดคำว่า 「あけましておめでとうございます」(Akemashite omedetougozaimasu) แปลว่าสวัสดีปีใหม่นั่นเอง เป็นคำแสดงความอวยพรให้กับฝ่ายตรงข้ามค่ะ แม้ว่าคำพูดจะแตกต่างกันก็จริง แต่ความรู้สึกที่ขอให้อีกฝ่ายมีความสุขนั้นเหมือนกันนะ!
★☆บทความที่เกี่ยวข้อง☆★
3、อาหารที่ต้องทานเมื่อเข้าสู่ช่วงสิ้นปีไปจนถึงต้นปี!
อาหารที่คนญี่ปุ่นต้องทานเมื่อถึงวันสิ้นปีอย่าง 31 ธันวาคมคือโซบะ สำหรับโซบะในข่วงสิ้นปีนั้น เรียกว่า Toshikoshi soba โซบะนั้นเวลาทานมักจะขาดง่าย ซึ่งหมายถึงการตัดขาดเรื่องราวไม่ดีในอดีตนั่นเอง อีกทั้ง โซบะนั้นมีลักษณะเส้นทั้งผอมและยาวจึงมีความหมายเรื่องอายุยืนยาวเข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย เค้าว่ากันว่าเป็นอาหารที่ทำให้โชคดี
และสำหรับอาหารที่ต้องทานเมื่อเข้าสู่ปีใหม่จะเรียกว่า Osechi ลักษณะคือเป็นอาหารที่ถูกบรรจุในกล่องไว้อย่างสวยงาม ซึ่งความหมายหลากของอาหารนั้นล้วนเกี่ยวข้องกับความเชื่อเรื่องโชคลางทั้งสิ้น การทำ Osechi นั้นเป็นอาหารที่ต้องใช้เวลาในการทำค่อนข้างนาน และอาหารอีกอย่างที่ขาดไม่ได้เลยคือ Zouni (ซุปใส่โมจิผสมผักและเนื้อ) สำหรับการทำ Zouni นั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้้นที่ หากเป็นภาคคันโตจะใช้โมจิเหลี่ยม แต่ถ้าเป็นแถบคันไซจะใช้โมจิกลม เท่านั้นยังไม่พอการทานโมจิย่างก็เป็ยการของที่เหมาะกับช่วงปีใหม่สุดๆ!และว่ากันว่าหากต้องการลดการระคายเคืองในทางเดินอาหาร วันที่ 7 มกราคมในตอนเช้าคนญี่ปุ่นจะมีวัฒนธรรมการทานข้าวต้มผักทั้ง 7 ชนิด
★☆บทความที่เกี่ยวข้อง☆★
4、ของตกแต่งช่วงปีใหม่เพื่อต้อนรับเหล่าเทพ!
ในช่วงคริสต์มาสที่ขาดไม่ได้เลยคือต้นคริสต์มาส สำหรับช่วงวันปีใหม่ของตกแต่งปีใหม่ก็เป็นสิ่งของที่ขาดไม่ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งในแต่ละพื้นที่นั้นจะแตกต่างกันไปแต่โดยปกติทั่วไปแล้วจะเป็น Kadoumatsu (ต้นสนหรือกิ่งสนที่นำมาประดับประตูบ้านในช่วงปีใหม่) Shimenawa (เชือกศักดิ์สิทธิ์) และ Kagamimochi (โมจิที่เตรียมไว้สำหรับปีใหม่เพื่อถวายแด่เทพเจ้า) นำมาตกแต่งบ้าน ซึ่งแต่ละอย่างก็จะมีสไตล์และการดีไซน์ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับการเลือกของเจ้าของบ้าน โดยเมื่อเลือกแล้วจะนำไปแขวนไว้หน้าประตูบ้าน ส่วน Shimenawa นั้นมีความหมายว่าเป็นบริเวณของเทพเจ้าทำให้สามารถปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายออกไปได้ สำหรับการตกแต่ง Shimennawa ในช่วงปีใหม่นั้นมีทั้งดอกไม้ พัดและส้มประดับอยู่ด้วย และ Kagamimochi นั้นขนมโมจิที่นำมาวางซ้อนกัน 2 ชั้นและชั้นบนเป็นส้มหนึ่งผลวางตรงกลาง มีรูปร่างคล้ายกระจกกลม
สำหรับของตกแต่งทั้ง 3 ประเภทนี้ต้องประดับไว้ภายในวันที่ 28 ธันวาคม เพราะมีความเชื่อกันว่าหากนำมาประดับหลังจากวันที่ 29 แล้วจะกลายเป็นลางไม่ดี และการประดับต้นสนนั้น หากเป็นภูมิภาคคันโตจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมไปจนถึง 7 มกราคม แต่ถ้าเป็นคันไซจะถึง 11 มกราคม และบางพื้นที่ประดับนานถึง 15 มกราคม สำหรับการตีโมจินั้นมักจะตีกันวันที่ 11 มกราคมซึ่งถือเป็นวัน Kagamibiraki no hi โดยโมจิที่ได้นั้นจะนำไปทำเป็นซุป Zouni นั่นเอง
5、1 มกราคมต้องส่งการ์ดอวยพรปีใหม่!
ที่ญี่ปุ่นนั้นมีวัฒนธรรมการส่งการ์ดอวยพรกันในวันขึ้นปีใหม่ โดยสามารถหาเซื้อได้จากตามร้านค้าทั่วไป หรือเลือกรูปถ่ายสวยๆและนำไปปรินท์ได้ด้วยตัวเอง โดยการ์ดต้องถูกส่งให้ถึงมือผู้รับภายในวันที่ 1 มกราคม!และที่น่าสนใจที่สุดคือการ์ดอวยพรปีใหม่ที่แนบเงินอั่งเปาด้วย!ในยุคปัจจุบันล้วนใช้เมลล์หรือ SNS กันเป็นเรื่องทั่วไปเช่นนี้ การที่คุณจะได้รับการ์ดอวยพรที่เขียนด้วยมือถือเป็นเรื่องที่ไม่ธรรมดาเลยใช่มั้ยล่ะ (ส่งให้ถึงผู้รับในวันที่ 1 มกราคมนั้นหมายถึงคนที่อยู่ในญี่ปุ่นเท่านั้นนะ)
6、ไปวัดครั้งแรกของปีกับเพื่อนร่วมงาน!
โดยปกติแล้วการไปไหว้พระกับครอบครัวในวันปีใหม่นั้นถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่การไปไหว้พระกับเพื่อนร่วมงานตามวัดหรือศาลเจ้าที่อยู่ใกล้ๆนั้นอาจสะท้อนได้ถึงวัฒนธรรมพิเศษภายในองค์กรที่ทำงาน โดยเรริ่มจากประธานบริษัทไปจนถึงสมาชิคในบริษัท ทุกคนจะสวมชุดสูทไปทำพิธีกรรมทางศาสนาร่วมกัน เพื่อร่วมกันขอพรให้ธุรกิจและการงานเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปอีก ช่างเป็นประสบการณ์ที่ไม่มีที่ไหนเหมือนเลยว่ามั้ยคะ
★☆บทความที่เกี่ยวข้อง☆★
- สถานที่ไปฮัตสึโมเดะยอดนิยม 5 แห่งที่คนญี่ปุ่นไปกันเป็นจำนวนมาก ~ฉบับญี่ปุ่นตะวันออก~
- สถานที่ที่คนญี่ปุ่นนิยมไปไหว้พระในวันขึ้นปีใหม่ Best 5 ~ฉบับญี่ปุ่นตะวันตก~
- ฮัตสึโมเดะ(Hatsumode) คืออะไร? ไปเยี่ยมชมวัดหรือศาลเจ้าที่ญี่ปุ่นในวันปีใหม่กันค่ะ
Comments