ทางตอนใต้ของเกียวโต อันเป็นที่ตั้งของสถานที่ที่มีชาเขียวมัทฉะเป็นของดีขึ้นชื่อ วัฒนธรรมเซน และเรื่องเล่าของเก็นจิ สถานที่แห่งนี้คืออำเภออุจิ ที่ซึ่งมีแม่น้ำอุจิสายสำคัญ และเป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมเก่าแก่ต่าง ๆ ที่นี่ยังมีทั้งหิ่งห้อย กิจกรรมการตกปลาแบบโบราณด้วยนกกาน้ำ รูปปั้นของมุราซากิ ชิกิบุ (紫式部 / MURASAKI Shikibu) นักเขียนผู้โด่งดัง เจ้าของผลงานตำนานเก็นจิ (源氏物語 / The Tales of Genji)
ความเป็นมาของแม่น้ำอุจิที่ไหลผ่านเมืองอุจิ
อำเภออุจิ ตั้งอยู่ในจังหวัดเกียวโต เป็นอำเภอที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับที่ 2 รองจากนครเกียวโต แม่น้ำอุจิ (宇治川 / Uji-gawa) เป็นแม่น้ำชื่อดังของกรุงเกียวโตที่สร้างชีวิตให้แก่เมืองแห่งนี้มามากกว่าพันปี สะพานอุจิ (宇治橋 / Uji-bashi) ถูกสร้างขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 7 จากนั้นความเจริญก็ค่อยๆ คืบคลานเข้ามาสู่เมือง เพราะแม่น้ำสายนี้เป็นแหล่งน้ำสายสำคัญระหว่างเมืองนาระ เกียวโต และชิกะ
ในสมัยเฮอัน ท่านฟูจิวาระ (藤原氏 / Fujiwara) ผู้ปกครองชั้นสูงท่านหนึ่ง ได้ทำการสร้างคฤหาสน์หลังหนึ่งในแถบอุจิ นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของความเจริญที่เข้ามาในอำเภออุจิ อุโบสถโฮโอ (鳳凰堂 / Ho-O-do) ก็เป็นตัวแทนหนึ่งของสถาปัตยกรรมสมัยนั้น ก่อนที่อุโบสถโฮโอในอารามเบียวโดอิน (平等院 / Byodo-in) จะถูกสร้างขึ้น นักเขียนสาว มุราซากิ ชิกิบุ ได้แต่งเรื่องเกียวกับสังคมของชนชั้นสูงที่อาศัยอยู่ในเมืองอุจิในสมัยเฮอัน เรื่องเล่านี้มีชื่อว่า ตำนานเก็นจิ นั่นเอง
แม่น้ำอุจิไหลจากทางใต้ของทะเลสาบบิวะ (琵琶湖 / Biwa-ko) ในจังหวัดชิกะ ผ่านหุบเขาร่องลำน้ำในเกียวโต และไปรวมกับแม่น้ำโยโดะ (淀川 / Yodo-gawa) และไหลลงสู่อ่าวโอซาก้า แต่เดิมนั้นแม่น้ำอุจิไหลตรงไปยังอ่าวโอซาก้า แต่หลังจากที่โทโยโทมิ ฮิเดโยชิ (豊臣秀吉 / TOYOTOMI Hideyoshi) ได้เปลี่ยนเส้นทางน้ำให้ไหลผ่านปราสาทฟุชิมิโมโมยามะ (伏見桃山城 / Fushimi-Momoyama-jo) ทางไหลของน้ำจึงเปลี่ยนไป ซึ่งเป็นผลดีแก่การขนส่งวัสดุในการก่อสร้างปราสาทฟุชิมิโมโมยามะในปีค.ศ. 1594
ตามล่าหาหิ่งห้อยในแม่น้ำอุจิ: แสงสว่างตัวจ้อย สัญลักษณ์แห่งหน้าร้อน
ในบรรดาสายพันธุ์หิ่งห้อยที่พบเจอมากที่สุดคือ หิ่งห้อยเก็นจิ (源氏ほたる / Genji-hotaru) และหิ่งห้อยเฮเกะ (平家蛍 / Heike-hotaru) ซึ่งก็คงจะดีหากมีความเกี่ยวข้องกับตำนานเก็นจิด้วยสักหน่อย
แม่น้ำอุจิเป็นบ้านของหิ่งห้อย ซึ่งหิ่งห้อยสายพันธุ์ตัวใหญ่ของที่นี่ได้ถูกตั้งชื่อตามตัวละครเอกของเรื่องที่มีชื่อว่า ฮิคารุ เก็นจิ (光源氏 / HIKARU Genji) จากในฉากชื่อดังที่เขาออกมาปล่อยหิ่งห้อย ส่วนหิ้งห้อยพันธุ์ตัวเล็กก็ถูกตั้งชื่อว่าเฮเกะ (平家 / Heike ตระกูลไทระ) เมื่อหิ่งห้อยทั้งสองชนิดมาอยู่รวมกัน จึงเป็นเสมือนสงครามเก็มเป (源平の合戦 / Genpei no Kassen สงครามระหว่างตระกูลมินาโมโตะและตระกูลไทระ) เนื่องจากตามหน้าประวัติศาสตร์ ฝั่งมินาโมโตะ (源 / Minamoto) ซึ่งใช้ตัวอักษรตัวเดียวกับชื่อของเก็นจิ (源氏) เป็นฝ่ายชนะ พันธุ์ที่ตัวใหญ่กว่าจึงได้ชื่อว่า เก็นจิ ส่วนพันธุ์ที่เล็กกว่านั้นก็ได้ชื่อว่า เฮเกะ
ในเดือนพฤษภาคมจนถึงมิถุนายนของทุกปี จะมีกิจกรรมชมหิ่งห้อยที่สวนสาธารณะพฤกษศาสตร์อำเภออุจิ (宇治市植物公園 / Uji City Botanical Park) หากมีโอกาสก็มาที่นี่ให้ได้เลยนะคะ
การตกปลาด้วยนกกาน้ำ: วัฒนธรรมเก่าแก่กว่าพันปี
การตกปลาด้วยนกกาน้ำ เป็นวิธีการตกปลาแบบดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น พวกเขาจะปล่อยเจ้านกกาน้ำให้บินออกไปที่แม่น้ำ และเจ้านกจะจับปลาด้วยจงอยของมัน คุณจะได้เห็นวิธีการจับปลาแบบนี้ในภูมิภาคอื่น ๆ ของญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน แต่วิธีการตกปลาแบบนี้แถบแม่น้ำอุจิเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่สมัยเฮอัน จึงเป็นวิธีการที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วิธีการแบบนี้มักกระทำโดยผู้ชาย คุณจะไม่ค่อยเห็นผู้หญิงจับปลาด้วยวิธีนี้เท่าใดนัก แต่ที่นี่คุณอาจจะเห็นกลุ่มตกปลาที่มีผู้หญิงเป็นสมาชิกเพียง 2-3 เท่านั้น
อย่างไรก็ตามการตกปลาด้วยวิธีนี้เริ่มลดความนิยมลง แต่คุณอาจจะยังเห็นอยู่บ้างหากคุณทำกิจกรรมนั่งเรือชมแม่น้ำในช่วงกลางเดือนกรกฏาคมจนถึงกันยายน
รูปปั้นของ มุราซากิ ชิกิบุ ณ ริมแม่น้ำอุจิ
ด้วยความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของงานเขียนเรื่องเล่าของเก็นจิ นักเขียน มุราซากิ ชิกิบุ ที่ถึงแม้จะล่วงลับไปแล้ว ก็ยังคงได้ใกล้ชิดแม่น้ำอุจิ เพราะที่นี่มีรูปปั้นของเธออยู่ คุณสามารถแวะมาเยี่ยมเยียนเธอได้ ซี่งรูปปั้นของเธอจะอยู่ระหว่างแม่น้ำอุจิและสะพานอุจิ
ข้อมูลสถานที่แนะนำ
- สถานที่: แม่น้ำอุจิ (宇治川 /Uji River)
- ที่ตั้ง: Uji-shi, Kyoto
- การเดินทาง: เดิน 5 นาทีจากสถานีรถไฟ JR Uji บนสาย Keihan line
Comments