ขนมญี่ปุ่นดั้งเดิมที่เป็นที่รู้จักและพบเห็นได้ทั่วไป ได้แก่ ดังโงะ โยคัง(วุ้นถั่วแดง) โดรายากิ เป็นต้น แต่ในสมัยนี้ขนมวากาชิจะมีความหมายรวมถึง “ขนมโทกาชิ” ซึ่งได้วัฒนธรรมมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ “ขนมนัมบังกาชิ” ได้รับวัฒนธรรมมาจากขนมโปรตุเกส และยังมี “ขนมเซโยกาชิ” ที่เข้ามาพร้อมกับการเปิดประเทศรับวัฒนธรรมต่างชาติเข้ามา ส่วนตามท้องถิ่นก็มีขนมมากมาย เช่น โกเฮโมจิ (จังหวัดนางาโน่ จังหวัดกิฟุ ตามภูมิภาคจูบุ) ซึนดะโมจิ (จังหวัดมิยางิ) อุอิโร (จังหวัดไอจิ) เป็นต้น
ขนมโทกาชิ เผยแพร่เข้ามายังญี่ปุ่น
ในสมัยโบราณมักจะใช้ธัญพืชมาทำขนมโมจิหรือดังโงะ ต่อมาในศตวรรษที่ 7-9 ประเทศญี่ปุ่นได้รับวัฒนธรรมการทำขนมจากจีนแผ่นดินใหญ่เข้ามา โดยใช้แป้งสาลีและแป้งข้าวเจ้าทำให้รสชาติหวานแล้วทอดด้วยน้ำมัน หลังจากนั้นวัฒนธรรมการดื่มชาก็เข้ามาเป็นมื้อพักเบรกเล็กๆ โดยมีขนมญี่ปุ่นอย่างเซ็มเบ้ โมจิ โยคัง เป็นต้น
ขนมนัมบังกาชิอย่างคาสเทล่าได้เผยแพร่เข้ามายังนางาซากิ
เมื่อเข้าสู่ช่วงศตรวรรษที่ 16 ก็มีวัฒนธรรมขนมนัมบังกาชิเข้ามา ทั้งคาสเทล่า บิสกิต โบโร่ คอมเพโต้ แล้วได้มีการปรับประยุกต์ให้เข้ากับความชอบของชาวญี่ปุ่น พอถึงสมัยเอโดะจะมีคำเรียกชื่อขนมทางเกียวโตว่า “เกียวกาชิ” และทางฝั่งเอโดะเรียกว่า “โจกาชิ” ซึ่งขนมทั้งสองแบบนี้นิยมรับประทานกันในพระราชวังและในหมู่ชนชั้นสูง รวมถึงการเฉลิมฉลองวันเด็กผู้หญิง (ฮินะมัตสึริ) วันที่ 3 มีนาคม และวันเด็กผู้ชาย วันที่ 5 พฤษภาคม แต่เดิมก็จัดกันเฉพาะในพระราชวังและหมู่ชนชั้นสูงเท่านั้น แต่หลังจากนั้นก็เริ่มเผยแพร่เข้ามาในหมู่ชนชั้นกลางจนกลายเป็นประเพณีที่สืบต่อกันเรื่อยมา ซึ่งขนมวากาชิที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันนั้นเชื่อกันว่าครึ่งหนึ่งมีต้นกำเนิดในสมัยเอโดะ
วัฒนธรรมขนมตะวันตกได้เผยแพร่เข้ามาในสมัยเมจิ และมีผลต่อขนมวากาชิ
สมัยเมจิได้มีวัฒนธรรมขนมจากชาติตะวันตกเข้ามา ทั้งสปันจ์เค้ก บิสกิต เป็นต้น ซึ่งขนมเหล่านี้ได้มีผลทำให้ขนมญี่ปุ่นวากาชิมีการพัฒนารูปแบบไป โดยเฉพาะการใช้เตาอบแบบขนมฝรั่งก็ได้มีการนำมาใช้กับขนมคุริมันจู ปัจจุบันก็ได้มีขนมต่างๆ ถือกำเนิดขึ้นมาในประเทศญี่ปุ่น เช่น ชอตเค้ก มองบลังค์ ชีสเค้ก ชูว์ครีม ซึ่งจะเรียกเป็นประเภทว่า “โยกาชิ” ส่วนขนมดังโงะ โยคัง มันจู เหล่านี้จะเรียกเป็นประเภทว่า “วากาชิ”
Comments