ทริปสุดเก๋นี้เหมาะสำหรับสาวๆ @ศาลเจ้าอิเสะ

  • 16 กันยายน 2019
  • 21 มีนาคม 2018
  • OTONAMIE

ศาลเจ้าอิเสะ หรือ อิเสะจิงกู (伊勢神宮 / Ise Jingu) เป็นศาลเจ้าเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น ที่ชาวญี่ปุ่นคุ้นเคยกันดี จนได้รับการเรียกว่า “โออิเสะซัง” “บ้านเกิดของศูนย์รวมจิตใจชาวญี่ปุ่น” จากประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2000 ปี มีผู้คนหลั่งไหลมาสักการะขอพรกันเนืองแน่น ทั้งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สิ่งของของย่านนี้ก็ได้รับความนิยมไปด้วย ทั้งความใส่ใจก็กลายเป็นวัฒนธรรมที่จับใจคนทุกรุ่นทุกวัยไปด้วย

เปลี่ยนลุคกันดูบ้าง เอาแบบที่ปกติตัวเองไม่ได้ใส่

ลองเลือกสีและลายเปลี่ยนลุคกันดูบ้าง ที่ร้านเช่ากิโมโน “โอบิยู”

เราจะไปส่วนไนคูของศาลเจ้ากันก่อน

นั่งรถบัสจากสถานีอุจิยามาดะ ที่ด้านหน้าสะพานอุจิ ก่อนหน้าที่จะมาที่นี่ได้คุยกับกลุ่มคนที่แนะนำการท่องเที่ยวโออิเสะซัง

มีเว็บไซต์ด้วยค่ะ: http://ise-machi.co.jp/dmo/

เมื่อได้มาเยือนหลายครั้งก็ทำให้รู้อะไรๆ เกี่ยวกับศาลเจ้าอิเสะมากขึ้น

คำว่า 内宮 (ไนคู - วังใน) และ 外宮 (เกะคู - วังนอก) จะออกเสียงต่างจากชื่อศาลเจ้าอื่นๆ ก็คือออกว่า “คู” ส่วนชื่อศาลเจ้าและที่อื่นๆจะออกเสียงว่า “กู” เช่น ศาลเจ้าเมจิจิงกู หรือตัวศาลเจ้าอิเสะจิงกูเองค่ะ (ทั้งนี้คำว่า 宮 มิยะ มีความหมายว่าวังค่ะ นิยมใช้กับศาลเจ้าที่เกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญที่ถูกยกให้เป็นเทพ)

ได้ความรู้กันบ้างแล้ว เราก็ข้ามสะพานไปกันดีกว่าค่ะ

แผ่นไม้บนสะพาน ได้ใช้เทคนิคการต่อไม้แบบ “สุริอาวาเสะ” (การประกอบเข้ารูป) ซึ่งเหมือนกับการนำแผ่นไม้ต่อเป็นท้องเรือ

นำแผ่นไม้มาต่อประกอบกันโดยไม่ใช้ตะปูเลยแม้แต่ตัวเดียวค่ะ

▲ รูปโดยนานะ

เป็นสะพานโค้งอันงดงาม เทคนิคคนสมัยโบราณสุดยอดมากเลยค่ะ

รู้ไหมว่า ศาลเจ้าอิเสะรับฝากสัตว์เลี้ยงด้วย??

เมื่อเดินเข้าไปด้านในศาลเจ้า ก็รู้สึกเหมือนได้ยินเสียงหมาเห่ามาจากที่ไหนก็ไม่รู้

ศาลเจ้าอิเสะห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้าภายในบริเวณไม่ใช่หรือ

แต่ไปลองดูดีๆอีกที ก็ตามคาดค่ะ ห้ามนำสัตว์เลี้ยงเข้าภายใน

เพราะเหตุนี้เอง ทั้งด้านหน้าของศาลเจ้าส่วนไนคู และเกะคูจึงมีบริการรับฝากสัตว์เลี้ยงฟรีค่ะ

แม่น้ำอิสุซุกาว่า บรรยากาศผู้คนหลั่งไหลมาสักการะ

ก่อนเข้าไปกราบไหว้ในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เราก็ต้องชำระร่างกายและจิตใจให้สะอาดก่อน

ที่นี้ยังมีธรรมเนียมการตักน้ำที่เรียกว่า "ฮัสซาคุโนะโอมิสึคุมิ" (การตักน้ำวันฮัสซาคุ) ซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นได้สืบทอดต่อกันมาด้วยค่ะ

น้ำสะอาดใสไหลเย็น สะท้อนแสงดูสวยดีนะคะ

เช้าตรู่ของวันที่ 1 สิงหาคม (วันฮัสซาคุ) ชาวบ้านจะตักน้ำจากแม่น้ำใส่ขวดพลาสติกแล้วนะไปถวายที่ศาลทามะมัตสึริโนะคามิในบริเวณไนคูค่ะ

ความเชื่อยังกล่าวต่อด้วยว่า ให้นำน้ำกลับไปวางที่หิ้งพระที่บ้านได้เปรียบเสมือนเป็นน้ำมนต์ที่คอยคุ้มครองให้ปลอดภัยแคล้วคลาดตลอดทั้งปี บรรยากาศร่มเย็นของต้นไม้สูงใหญ่ในศาลเจ้า เมื่อหลับตาก็จะได้ยินเสียงลมพัดใบไม้ปลิวไสว รู้สึกสงบจังเลย

รูปโดยนานะ

ศาลเจ้าอิเสะไม่ใช่สถานที่สำหรับขอพรจากเทพเจ้า แต่เป็นสถานที่สำหรับขอบคุณเทพเจ้า

ถ้าว่ากันตามตรง ศาลเจ้าอิเสะนั้นเรียกกันว่า จิงกู (แปลคร่าวๆก็คือ วังแห่งเทพ) เพราะภายในมีศาลย่อยถึง 125 ศาลและเทพที่บูชาถึง 140 องค์ค่ะ โดยไนคู (วังใน) บูชาเทวีอามาเทราสึโอมิคามิเป็นหลัก ส่วนเกะคู (วังนอก) บูชาเทพ โทโยอุเกะโนะโอมิคามิ ค่ะ

ที่เรือนเทวาลัยหลักประจำไนคูและเกะคูนั้นบูชานิกิมิทามะ (和御魂 วิญญาณแห่งความกลมกลืน หนึ่งในสี่ภาคของดวงวิญญาณเทพ ภาคอื่นๆได้แก่ อะรามิทามะ วิญญาณแห่งความเกรี้ยวกราด ซาคิมิทามะ วิญญาณแห่งความสุข และคุชิมิทามะ วิญญาณแห่งปาฏิหารย์ดังนั้นเราควรจะมาขอบคุณเทพเจ้าที่คอยปกป้องคุ้มครองมากกว่าจะมาขอพรเรื่องต่างๆ ณ เรือนแห่งนี้ค่ะ

▲อนุญาติถ่ายภาพได้จนถึงตัวหลักของศาลเจ้า

สถานที่สักการะขอบคุณที่ศาลเจ้าเตรียมไว้ให้นั้นสามารถถ่ายรูปได้ถึงแค่ตรงหน้าบันไดนี้ค่ะ แต่หากต้องการที่จะขอพรเป็นการส่วนตัวก็มีเรือนเฉพาะ คือที่เรือน "อารามัตสึริโนะมิยะ" ค่ะ

ส่วนเรือนที่เห็นเป็นที่บูชาดวงวิญญาณภาค อารามิทามะ (荒御魂) ด้านที่มีอิทธิฤทธิ์เกรี้ยดกราด เป็นวิญญาณภาคที่จะปรากฏขึ้นในเวลาวิกฤติค่ะ ขอพรอะไรก็ขอแต่เรื่องดีๆนะคะ

เสาค้ำไม้หน้าจั่วของตัวศาลเจ้าเก่า จะถูกนำไปใช้เป็นต้นเสาโทริอิ

ศาลเจ้าอิเสะนั้นจะมีการสร้างเรือนศาลหลักขึ้นใหม่เป็นประจำทุกๆ 20 ปี และมีการอัญเชิญเทพต่างๆ จากที่เก่าไปยังที่ใหม่ค่ะ ซึ่งเรียกกันว่า "ชิคิเน็น เซ็นกู" โดยหลังจากที่เทพได้ออกจากเรือนหลักหลังเก่าแล้ว เสาค้ำไม้หน้าจั๋ว (มุนาโมจิโนะบาชิระ) ของเรือนหลักทั้งของไนคูและเกะคูจะถูกนำไปใช้เป็นต้นเสาโทริโอะทั้งสองข้างของสะพานอุจิบาชิค่ะ

พอดีไม่สามารถถ่ายรูปเรือนหลักมาให้ชมได้ แต่ว่ากันว่าขนาดของเสาค้ำไม้หน้าจั๋วของเรือนหลักนั้นใหญ่กว่าของศาลย่อยมิชิเนะโนะมิคุระแห่งนี้ถึง 5 เท่าเลยค่ะ

เสาค้ำไม้หน้าจั๋วและหลังคา munamochi-bashira. 

ไม่เคยรู้มาก่อนเลยนะคะเนี่ย ว่าในศาลเจ้าอิเสะก็มีการหมุนเวียนใช้ทรัพยากรด้วย

เข้าไปกราบสักการะพร้อมกับไกด์ที่คอยแนะนำใช้เวลา 2 ชั่วโมง

ความรู้สึกจะแตกต่างกันมากกับการเข้ามาสักการะเองกับมีไกด์ ไกด์จะคอยแนะนำให้ความรู้เรื่องต่าง ทั้งๆที่ฉันได้มีโอกาสมาที่นี่หลายครั้งแล้วค่ะ

แต่ครั้งนี้มีไกด์คอยบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ทำให้รู้สึกเหมือนมาที่นี่เป็นครั้งแรกเลย

▲ ตรงสะพานอุจิลองสังเกตดูโลหะครอบเสาต้นที่สองทางซ้ายมือนะคะ ภายในเขาได้บรรจุยันต์ศักดิ์สิทธิ์ไว้ด้วย

แมวกวัก เมี๊ยว เมี๊ยว เดินเล่นถนนโอคาเกะโยโกโจ

แยกกับคุณไกด์แล้ว เราไปเดินเล่นที่ถนนโอคาเกะโยโกโจ ศาลเจ้าอิเสะนั้นเปรียบได้ว่า ชาวญี่ปุ่นต้องมากราบไหว้สักการกันให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต

ใกล้กับศาลเจ้าก็มีย่านการค้าที่คึกคักที่คอยให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศอย่างอบอุ่น

ในถนนโอคาเกะโยโกโจ มีร้านงานฝีมือที่ทำแมวกวักขายมากมาย ลองมาเดินหาดูนะคะ

เราจะไปกันต่อที่ศาลเจ้าส่วนเกะคูยามเย็น อาหารสำหรับเทพก็พอเพียงไม่แพ้กัน

ได้คุยกับกลุ่มคนที่แนะนำการท่องเที่ยวโออิเสะซังอีกครั้ง

มีเว็บไซต์ด้วยค่ะ: http://ise-machi.co.jp/dmo/

รูปโดยนานะ

วิธีการก็เหมือนเดิม ชำระล้างมือและบ้วนปากให้สะอาดก่อน

รูปโดยนานะ

เทพประจำศาลเจ้าโทโยอุเกะไดจิงกู (เกะคู) เป็นเทวีแห่งอาหาร ได้รับการบูชาเป็นเทพแห่งผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรม

จะมีการถวายอาหารให้แก่องค์เทวีทุกวันในตอนเช้าและเย็น วันละ 2 เวลา

การปรุงอาหารนั้นดำเนินการกันที่อิมิบิยะเด็นซึ่งเป็นครัวสำหรับเทพค่ะ การจุดไฟสำหรับปรุงอาหารก็ใช้วิธีการแบบดั้งเดิมไม่มีเครื่องมือสมัยใหม่ช่วยแม้ในปัจจุบัน

วัตถุดิบเครื่องปรุงที่นำมาประกอบอาหารเพื่อถวายเทพเจ้านั้น ได้แก่ข้าว ปลาคัตสึโอ ปลา สาหร่าย ผัก ผลไม้ เกลือ น้ำ และเหล้าสาเก 3 จอก แล้วก็ทั้งเกลือ ทั้งอาหาร ทั้งชุดกิโมโนไปจนถึงภาชนะจานชาม ล้วนหาและทำขึ้นเองภายในเรือนอิมิบิยะเด็นทั้งหมด ฉันก็เพิ่งรู้ในครั้งนี้เหมือนกันค่ะ แปลกใจไม่เบาเลยเช่นกันค่ะ

อาหารจะถูกนำไปถวายที่เรือนมิเกะโดโนะ ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ทำต่อเนื่องกันมาทุกวันเป้นเวลานานกว่า 1500 ปีแล้ว สุดยอดมากเลยค่ะ

ภายในบริเวณศาลเจ้า จะเห็นหินทามะจาริ

หินทามะจาริ (หินกรวดโรยทางเดิน) ที่อยู่ที่พื้น คืออะไร

ประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเฉพาะในเขตของเทพเจ้าจะมีการวางหินที่สะอาดบริสุทธิ์ไว้ค่ะ

▲Kawara-no-Harisho

รู้สึกถึงความอบอุ่นและพลังจากต้นไม้

ว่ากันว่า ด้วยการเดินบนกรวดที่สะอาด ผู้มาสักการะจะได้รับการชำระล้างจิตใจให้สะอาดก่อนเข้าไปสักการะบูชาเทพเจ้าไปด้วยค่ะ

▲Kameishi ( คาเมะอิชิ)

เจอหินรูปหัวใจด้วย ขอให้พบเนื้อคู่ด้วยเถิ้ดดด

ไปยังเรือนหลักแห่งเกะคู

เช่นเดียวกับที่ไนคูค่ะ เรือนหลักเป็นที่บูชาดวงวิญญาณของเทวีโทโยอุเกะโอมิคามิในภาคนิกิมิทามะ (วิญญาณแห่งความกลมกลืน) ซึ่งก็ไม่ควรขอพรแต่ควรแสดงความเคารพและขอบคุณค่ะ มีบรรยากาศเงียบสงบและอากาศบริสุทธิ์มาก

ส่วนของเกะคูนั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นต้นกำเนิดความงามในแบบญี่ปุ่น ซึ่งเป็นศิลปะแบบที่เรียกว่าต้นตำหรับหรือดึกดำบรรพ์ก็ว่าได้ค่ะ

เรียบง่าย รู้สึกสงบ เมื่อหลับตาก็จะรู้สึกถึงความศักดิ์สิทธิ์ของที่นี่ การที่เราได้มีชีวิตอยู่ในทุกวันนี้ การมีสุขภาพที่แข็งแรง มีครอบครัว มีเพื่อนฝูง มีอาหารการกิน มีงานทำ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องธรรมดาทั่วๆ ไป เราควรรู้สึกนึกขอบคุณที่เรามีทุกอย่างพร้อม มีความสุขกับชีวิตของเราในแต่ละวัน พอได้คิดอย่างนี้ จึงทำให้รู้สึกถึงการมีตัวตนและการอยู่กับปัจจุบันได้อย่างแท้จริง  

หลังจากสักการะเสร็จแล้ว หน้าตาดูผ่องใสขึ้นบ้างไหมคะ?? 

การมาเยือนศาลเจ้าอิเสะ (เกะคู ไนคู) ครั้งนี้

ได้รับการแนะนำโดยกลุ่มไกด์นำเที่ยวโออิเสะซัง

ได้รับทั้งความรู้มากมาย เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของศาลเจ้าอิเสะที่เราไม่เคยรู้มาก่อน

วันนี้ฉันสนุกมาก เป็นประสบการณ์ที่วิเศษอีกวันหนึ่งเลยค่ะ

หากใครสนใจอยากมีไกด์คอยแนะนำระหว่างการมาสักการะที่ศาลเจ้าอิเสะ

ก็ลองเข้าไปที่เว็บไซต์: http://ise-machi.co.jp/dmo/

________________________________________

กลุ่มไกด์แนะนำการท่องเที่ยวโออิเสะซัง

  • Ise Machi-zukuri Co., Ltd.
  • เว็บไซต์: http://ise-machi.co.jp/dmo/
  • ที่ตั้ง: Miyagi Prefecture, Ise-shi, Iwabuchi 1-chome 7-17, 〒516-0037
  • กรุณาโทรศัพท์สอบถามหากมีข้อสงสัย
  • สถานีอุสึคุชิคุนิคังโค เจ้าหน้าที่แนะนำการท่องเที่ยวโออิเสะซัง
  • โทรศัพท์: 0596-24-3501

ผู้เขียน: Miki Fukuda

ตำแหน่งรองผู้แทนของ OTONAMIE OTONA MASTER

ทำงานแผนกเลขานุการของประธานบริษัทในกรุงโตเกียวและหัวหน้าOffice work center

เคยเป็นนักศึกษาด้านสังคมมาหลายปีแล้ว ในปี 2014 ได้ย้ายจากเมืองโตเกียวมายังจังหวัดมิเอะเมืองKuwanaในปีพ. ศ. 2557 เนื่องจากสามีต้องย้ายมาที่นี่

ถึงแม้จะรู้สึกเสียใจกับการที่ต้องจากบ้านมา แต่ก็มีความอยากรู้อยากเห็นในสภาพแวดล้อมใหม่ๆ

ด้วยความที่ไม่ได้เป็นคนในพื้นที่ จึงรู้สึกว่าสถานที่แห่งนั้นมีเสน่ห์อย่างมาก

OTONAMIE http://otonamie.jp/

*เว็บไซต์นี้มีฟังก์ชั่นเกี่ยวกับการแปลด้วย Google Translate

หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend