วันนี้เราจะพูดถึงเรื่องเงินกันค่ะ! เงินบาทไทยนั้นมีเล็กกว่าเยนญี่ปุ่น (¥ หรือ 円) มาก (ขนาดและอัตราแลกเปลี่ยนเทียบกับค่าครองชีพ) ในไทย ธนบัตรสีน้ำตาลอ่อนซึ่งใหญ่ที่สุดในไทย (1.000 บาท) มีค่าเท่ากับ (เมื่อใช้อัตราแลกเปลี่ยนง่าย ๆ ว่า 1 บาทคือ 3 เยน) 3,000 เยนเท่านั้นค่ะ
ส่วนธนบัตรที่ใหญ๋ที่สุดในญี่ปุ่นคือธนบัตร 10,000 เยนค่ะ มีค่าเท่ากับ 3.333 บาทเลยเชียว! ฟังดูแปลกพิลึกเลยสินะคะว่าคุณสามารถพกพาเงินจำนวนนั้นได้ในธนบัตรเพียงแผ่นเดียว คนส่วนใหญ่ที่เพิ่งเริ่มมาลองใช้ชีวิตในญี่ปุ่นคงจะรู้สึกแบบเดียวกัน โดยเฉพาะถ้าคุณมาจากประเทศทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เหมือนเราค่ะ
เราขอมาแนะนำข้อมูลเพื่อช่วยให้คุณเข้าใจเงินเยนญี่ปุ่นมากขึ้นกันนะคะ!
ตารางสกุลเงินญี่ปุ่นและอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินต่างประเทศ
ในที่นี้เราได้รวบรวมตารางอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินอย่างง่ายพร้อมข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินจากประเทศต่าง ๆ ลองนำไปใช้ได้นะตามสะดวกเลยคะ
อัตราแลกเปลี่ยนเยนญี่ปุ่นเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (JPY to USD)
- ¥10000=$92
- ¥5000=$46
- ¥3000=$27.7
- ¥1000=$9.2
- ¥500=$4.6
- ¥100=$1 (ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2019)
อัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนญี่ปุ่นเป็นเงินริงกิตมาเลเซีย (JPY to MYR)
- ¥10000=386.3RM
- ¥5000=193.2RM
- ¥3000=115.9RM
- ¥1000=38.6RM
- ¥500=19.3RM
- ¥100=3.9RM (ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2019)
อัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนญี่ปุ่นเป็นเงินบาทไทย (JYP to THB)
- ¥10000=฿2776
- ¥5000=฿1388
- ¥3000=฿833
- ¥1000=฿278
- ¥500=฿139
- ¥100=฿28 (ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2019)
อัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนญี่ปุ่นเป็นเงินดอลลาร์ไต้หวัน (JPY to TWD)
- ¥10000=NT$2825
- ¥5000=NT$1405.5
- ¥3000=NT$843.3
- ¥1000=NT$281.1
- ¥500=NT$140.6
- ¥100=NT$28.1 (ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2019)
อัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนญี่ปุ่นเป็นเงินรูปีอินเดีย (JPY to INR)
- ¥10000=₹6509
- ¥5000=₹3255
- ¥3000=₹1953
- ¥1000=₹656
- ¥500=₹326
- ¥100=₹65.1 (ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2019)
เปรียบเทียบความต่างระหว่างธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ต่าง ๆ ของญี่ปุ่น
ที่ญี่ปุ่น ขนาดและความยาวของธนบัตรนั้นจะใช้หน่วยดั้งเดิมของญี่ปุ่นเช่น 寸 (ซุน) 分 (บุ) 尺 (ชาคุ) และอื่น ๆ อีกมากมายค่ะ! ตัวอย่างเช่นธนบัตร 1,000 เยนนั้นมีขนาดประมาณ 2寸5分 (ยาว) x 5寸 (กว้าง) แค่ฟังก็สับสนแล้วใช่มั้ยคะ? งั้นเราจะขอใช้หน่วยสากลแทนละกันนะคะ
ธนบัตรญี่ปุ่น
เริ่มกันด้วยธนบัตรกันดีกว่า มาดูกันเลยค่ะ!
1. ¥1000: 76 มม. x 150 มม.
- ด้านหน้า: โนกูจิ ฮิเดโยะ (野口英世 / Noguchi Hideyo) นักแบคทีเรียวิทยาชาวญี่ปุ่นผู้ซึ่งค้นพบเชื้อซิฟิลิสในปีค.ศ. 1911 ว่าเป็นสาเหตุของโรคอัมพาตแบบรุกลาม
- ด้านหลัง: ภูเขาฟูจิ (富士山 / Mt.Fuji) ทะเลสาบโมโตสุ (本栖湖 / Lake Motosu) และดอกซากุระ (桜 / Sakura)
2. ¥2000: 76 มม. x 154 มม.
- ด้านหน้า: ประตูชูเรมง (守礼門 / Shurei-mon ในปราสาทชูริ โอกินาว่า)
- ด้านหลัง: มุราซากิ ชิกิบุ (紫式部 / Murasaki Shikibu) และภาพเขียนจากเรื่องตำนานเก็นจิ (源氏物語 / Genji Monogatari) พร้อมเนื้อความ
3. ¥5000: 76 มม. x 156 มม.
- ด้านหน้า: ฮิกุจิ อิจิโย (樋口一葉 / Higuchi Ichiyō) นักประพันธ์คนสำคัญแห่งสมัยเมจิ
- ด้านหลัง: ภาพ คาคิตสึบาตะสุ (燕子花図 / Kakitsubata-zu ภาพดอกไอริส) ผลงานภาพของ โอกาตะ โคริน (尾形光琳 / Ogata Kōrin)
4. ¥10000: 76 มม. x 160 มม.
- ด้านหน้า: ฟุคาซาวะ ยูคิจิ (福澤諭吉 / Fukuzawa Yukichi) นักประพันธ์ นักเขียน อาจารย์ นักแปล นักธุรกิจ และนักหนังสือพิมพ์ชาวญี่ปุ่น ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเคโอ (慶應義塾大学 / Keio University) หนังสือพิมพ์จิจิชิมโป (時事新報 / Jiji-Shinpō) และสถาบันวิจัยโรคระบาด (伝染病研究所 / )
- ด้านหลัง: รูปปั้นหงส์ฟ้า (鳳凰像 / Ho-O Zo) ของวัดเบียวโดอิน (平等院 / Byoudouin) ในเกียวโต
เหรียญกษาปณ์ญี่ปุ่น
มาต่อกันที่เหรียญต่าง ๆ กันเลยค่ะ:
1. ¥1
- วัสดุ: อลูมิเนียม (Al)
- เส้นผ่าศูนย์กลาง: 20 มม.
- น้ำหนัก: 1 กรัม
- ความหนา: 1.5 มม.
- ข้อมูลเพิ่มเติม:
- เหรียญ 1 เยนห้าเหรียญเรียงกันได้ความยาว 10 ซม. และห้าสิบเหรียญได้ความยาว 1 เมตรพิดี
- 50 ซม. เทียบได้กับ เหรียญ 1 เยน 25 เหรียญ
- 1 กก. เทียบได้กับ เหรียญ 1 เยน 1000 เหรียญ
2. ¥5
- วัสดุ: ทองแดง (Cu) 60-70% สังกะสี (Zn) 40-30%
- เส้นผ่าศูนย์กลาง: 22 มม. ขนาดรูตรงกลาง: 5 มม.
- น้ำหนัก: 3.75 กรัม
- ความหนา: 1.5 มม.
- ข้อมูลเพิ่มเติม:
- เหรียญมีรูตรงกลางเนื่องจากความจำเป็นในการอนุรักษ์ทรัพยากรที่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อหลังสงคราม
- 1貫 (คัง หน่วยน้ำหนักแบบญี่ปุ่น ประมาณ 3.75 กก.) เทียบได้กับเเหรียญ 5 เยน 1000 เหรียญ
3. ¥10
- วัสดุ: ทองแดง 95% สังกะสี 3-4% ดีบุก (Sn) 2-1%
- เส้นผ่าศูนย์กลาง: 23.5mm
- น้ำหนัก: 4.5 กรัม
- ความหนา: 1.5 มม.
- ข้อมูลเพิ่มเติม: เหรียญ 10 เยนที่ผลิตใช้งานในช่วงระหว่างปี 1951 ถึง 1958 มีรอยหยักที่ผิวด้านข้าง 132 หยัก
4. ¥50
- วัสดุ: ทองแดง 75% นิกเกิล (Ni) 25%
- เส้นผ่าศูนย์กลาง: 21 มม. ขนาดรูตรงกลาง: 4 มม.
- น้ำหนัก: 4 กรัม
- ความหนา: 1.7 มม.
- ข้อมูลเพิ่มเติม: มีรอยหยักที่ผิวด้านข้าง 120 หยัก
5. ¥100
- วัสดุ: ทองแดง 75% นิกเกิล 25%
- เส้นผ่าศูนย์กลาง: 22.6 มม.
- น้ำหนัก: 4.8 กรัม
- ความหนา: 1.7 มม.
- ข้อมูลเพิ่มเติม: มีรอยหยักที่ผิวด้านข้าง 103 หยัก
6. ¥500
- วัสดุ: ทองแดง 72% นิกเกิล 20% สังกะสี 8%
- เส้นผ่าศูนย์กลาง: 26.5 มม.
- น้ำหนัก: 7 กรัม
- ความหนา: 2 มม.
สถานอำนวยการด้านการท่องเที่ยวที่สามารถไปเรียนรู้เรื่องเงินญี่ปุ่นได้
มีจุดต่าง ๆ ในญี่ปุ่นที่คุณสามารถไปเรียนรู้เกี่ยวกับเงินตราของญี่ปุ่นได้ฟรี เช่น "พิพิธภัณฑ์เงินตรา" (貨幣博物館 / Kahei Hakubutsu-kan) "พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณ์" (造幣博物館 / Zohei Hakubutsu-kan) และ "พิพิธภัณฑ์เงินและแสตมป์" (お金と切手の博物館 / Okane to Kitte no Hakubutsu-kan)
ตัวอย่างเช่นที่ "พิพิธภัณฑ์เงินตรา" ในนิฮอนบาชิ กรุงโตเกียว คุณสามารถดูวัตถุจัดแสดงที่แสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมาของเงินญี่ปุ่น รวมทั้งเงินเช่น "วะโดไคจิน" (和同開珎 / Wado Kaichin) ที่เคยใช้งานจริง วะโดไคจินเป็นเงินตราที่เก่าแก่ที่สุดในญี่ปุ่น นอกจากเงินตราแล้ว คุณยังสามารถสัมผัสกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้ เช่น มีอะไรบ้างที่คุณสามารถซื้อได้โดยใช้เงินตราในสมัยนั้น นอกจากนี้ยังมีการอธิบายด้วยเสียงเป็นภาษาอังกฤษ และมีการจัดทำเพื่อให้สามารถมองเห็นวัตถุจัดแสดงได้ง่ายและชัดเจน
นอกจากนี้ที่ "พิพิธภัณฑ์เหรียญกษาปณ์" ใน "สำนักกษาปณ์" (造幣局 / Zohei Kyoku) ใกล้กับศาลเจ้าโอซาก้าเท็นมังกู (大阪天満宮 / Osaka Tenmangu) มีการจัดแสดงทั้งสกุลเงินญี่ปุ่นและสกุลเงินต่างประเทศอย่างเช่นสกุลเงินจีนโบราณค่ะ หากต้องการ คุณสามารถเยี่ยมชมโรงงานกษาปณ์พร้อมฟังคำอธิบายโดยละเอียดจากไกด์นำทัศนศึกษา ไกด์นำทัศนศึกษาจะอธิบายเป็นภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น แต่มีการฉายวีดีทัศน์และคำอธิบายของวัตถุจัดแสดงเป็นภาษาอังกฤษ จีน และเกาหลีด้วยค่ะ
นอกจากนี้คุณสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และเทคโนโลยีการทำแม่พิมพ์ของธนบัตรญี่ปุ่นและต่างประเทศ ดวงตาไปรษณียากร หนังสือเดินทาง และอื่น ๆ ที่ "พิพิธภัณฑ์เงินและแสตมป์" ใกล้กับสถานี Ouji ในโตเกียว มีมุมสัมผัสประสบการณ์การป้องกันการปลอมแปลงธนบัตรด้วยค่ะ ดังนั้นหากมีโอกาสก็ลองไปสัมผัสดูนะคะ
Comments