ซูชิ อาหารญี่ปุ่นที่ใครก็รู้จัก เรามารู้จักกับซูชิกันให้มากกว่านี้

  • 1 พฤศจิกายน 2017
  • FUN! JAPAN Team

20171101-17-01-sushi

อาหารที่คนส่วนมากอยากลองทานเมื่อมาเที่ยวประเทศญี่ปุ่นก็คงไม่พ้น “ซูชิ” เมื่อพูดถึงซูชิแล้วก็จะนึกถึง “นิกิริซูชิ” ซึ่งเป็นข้าวปั้นก้อนเล็กๆ มีปลาดิบโปะอยู่ด้านบน แต่ที่จริงแล้วซูชิมีหลายประเภทมาก วันนี้เราจะพาไปรู้จักกับประวัติความเป็นมาของอาหารชื่อดังก้องโลกอย่างซูชิกันค่ะ

20171101-17-02-sushi

ต้นกำเนิดของซูชิมาจากอาหารหมักดอง!?

อย่างในรูปที่เราเห็นกันก็คือข้าวที่หมักปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชูแล้วโปะหน้าด้วยอาหารทะเลดิบอย่างปลาทูน่า ปลาแซลมอน หรือกุ้งสด เราจะเรียกซูชิแบบนี้กันว่า “นิกิริซูชิ” ต้นกำเนิดของซูชิแบบนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนสมัยนารา ซึ่งในสมัยนั้นมีปลาที่หมักที่เรียกว่า “นาเรซูชิ” วิธีทำก็คือจะนำปลาที่หมักเกลือไว้แล้วข้าวใส่ไปพร้อมกันในภาชนะบรรจุแล้วใช้หินหนักๆ ทับดองทิ้งไว้ เนื้อปลาที่เกิดจากการหมักตัวของข้าวก็จะพอรับประทานได้ ออกรสเปรี้ยวนิดๆ

20171101-17-03-sushi

เพื่อให้หมักได้เร็วขึ้นก็ต้องปรับรูปแบบของซูชิ

การดองนาเรซูชินั้นโดยทั่วไปแล้วจะใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี ว่ากันว่ารสชาติที่หมักได้อร่อยที่สุดสามารถทานได้เปล่าๆ โดยไม่ต้องทานคู่กับข้าวเลย แต่เมื่อมาถึงสมัยเอโดะก็มีวิธีช่วยให้ดองใช้เวลาสั้นลง ซึ่งเรียกว่า “โอชิซูชิ” ขั้นตอนในการทำก็จะนำโอชิซูชิผสมกับน้ำส้มสายชูทีละชิ้นแล้วนำไปห่อกับใบไผ่ จึงเกิดอาหารที่ชื่อว่า “ซาซามาคิซูชิ” ขึ้นมา เรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มในการใช้น้ำส้มสายชูกับข้าวในสมัยเอโดะนี่เอง จนได้เกิดเป็น “นิกิริซูชิ” ในปัจจุบันที่ใช้อาหารทะเลต่างๆ หั่นชิ้นโปะลงบนข้าว

20171101-17-04-sushi

นิกิริซูชิ ฟาสต์ฟู้ดสมัยเอโดะ!

ในสมัยเอโดะได้มีการทานนิกิริซูชิกันอย่างแพร่หลาย ในสมัยนั้นนิกิริซูชิขายทั่วไปตามร้านริมทางและไม่ได้เป็นอาหารหรูราคาแพงเหมือนกับสมัยนี้ หากเทียบกับค่าเงินปัจจุบันแล้วสมัยนั้นขายกันที่ราคาประมาณ 80 เยน ซึ่งเรียกได้ว่าราคานั้นย่อมเยา แถมยืนกินได้ง่ายๆ ไม่กี่คำก็อิ่มท้องแล้ว และยิ่งสมัยนั้นมักจะจ้างแรงงานแบบรายวัน จึงทำให้ร้านซูชิริมทางนั้นขายดีมาก

20171101-17-05-sushi

เมื่อถึงยุคที่ผลิตน้ำแข็งและมีตู้เย็นขึ้นมา

ต่อจากนั้นได้มีการนำเงินใส่ลงไปในซูชิจนกลายเป็นอาหารเลิศหรูราคาแพงขึ้นมา เมื่อถึงยุคปฏิวัติเทมโปโนะไคคาคุ (1841~1843)ได้มีคำสั่งให้ประชาชนประหยัดมัธยัสถ์ จึงมีการลงโทษพ่อครัวทำซูชิกว่า 200 คน ต่อมาเมื่อมาถึงสมัยเมจิก็ได้มีการผลิตน้ำแข็ง และตู้เย็นก็เริ่มใช้กันแพร่หลายมากขึ้น การเก็บรักษาปลาสดก็เก็บได้ดีกว่าเมื่อก่อน อาหารที่ชื่อว่าซูชิก็แพร่หลายไปยังจังหวัดอื่นทั่วประเทศ และในสมัยโชวะก็ได้เกิด “ซูชิสายพาน” และการทำซูชิทานเองที่บ้านที่เรียกกันว่า “เทะมาคิซูชิ” ทำให้ซูชินั้นเป็นอาหารที่หาทานได้ทั่วไปทั้งนอกบ้านและในบ้านเอง


หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend