5 อาหารรสเลิศที่ขาดไม่ได้สําหรับการชมจันทร์เพ็ญกลางฤดูใบไม้ร่วง โซบะ ซาลาเปา และแฮมเบอร์เกอร์ก็อยู่ในลิสต์นี้ด้วย!!

  • 12 กันยายน 2024
  • Chiayu Kuo

"จันทร์เพ็ญกลางฤดูใบไม้ร่วง" เป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ร่วง และเป็นประเพณีที่ฝังรากลึกในญี่ปุ่น นอกจากอาหารญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมที่รับประทานในช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วงแล้ว คุณยังสามารถลิ้มลองอาหารรสเลิศที่เกี่ยวข้องกับ "การชมจันทร์" ได้ตามร้านสะดวกซื้อและร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในช่วงเวลานี้ของปี คราวนี้เราจะมาแนะนําอาหารรสเลิศที่ขาดไม่ได้สําหรับการชมจันทร์เพ็ญกลางฤดูใบไม้ร่วงและต้นกําเนิดของการชมจันทร์

จันทร์เพ็ญกลางฤดูใบไม้ร่วงคืออะไร? เราจะมาแนะนําประวัติศาสตร์และวิธีใช้เวลาใต้แสงจันทร์กัน

จันทร์เพ็ญกลางฤดูใบไม้ร่วง จันทร์เพ็ญ หญ้าซูซูกิ

จันทร์เพ็ญกลางฤดูใบไม้ร่วงตรงกับวันที่ 15 ของเดือนที่แปดตามปฏิทินจันทรคติ และเป็นงานประเพณีสำหรับชื่นชมดวงจันทร์ พระจันทร์ในฤดูใบไม้ร่วงของญี่ปุ่นถือว่าดูสวยงามที่สุดเพราะมีความชื้นน้อยกว่าและอากาศแจ่มใสกว่า และดวงจันทร์ก็อยู่ในระดับความสูงที่เหมาะสม

วัฒนธรรมการชมจันทร์เชื่อกันว่าได้รับมาจากประเทศจีนในสมัยเฮอัน (794~1185) ในตอนแรกเป็นงานอดิเรกชั้นสูงซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่ขุนนาง แต่ในสมัยเอโดะ (1603~1869) ประเพณีนี้ได้แพร่หลายไปสู่คนทั่วไป และกลายเป็นงานสวดมนต์และขอบคุณเทพเจ้าสําหรับการเก็บเกี่ยวที่ดี

คุณมีโอกาสชมจันทร์ตั้งสามครั้งเลยเหรอ?

จันทร์เพ็ญกลางฤดูใบไม้ร่วง (คืนที่สิบห้า)

เมื่อพูดถึง "การชมจันทร์" แล้ว พระจันทร์กลางฤดูใบไม้ร่วงของ"คืนที่สิบห้า" จะเป็นพระจันทร์ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างควาง แต่ในความเป็นจริงแล้ว เดือนหน้าและเดือนถัดมาก็มีโอกาสให้คุณได้ชื่นชมดวงจันทร์ที่สวยงามเช่นกัน!

วันที่15 เดือนแปดตามปฏิทินจันทรคติ: คืนที่สิบห้า

เป็นงานชมจันทร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดและเป็นที่นิยมในชื่อ "พระจันทร์กลางฤดูใบไม้ร่วง" เนื่องจากตรงกับช่วงเวลาเก็บเกี่ยวพอดี  เราะอธิษฐานขอให้ผลผลิตดี และถวายหูข้าวและหญ้าซูซูกิเป็นต้นเวลาชมจันทร์

วันที่13 เดือนเก้าตามปฏิทินจันทรคติ: คืนที่สิบสาม

เป็นการชมจันทร์ที่เกิดขึ้นประมาณหนึ่งเดือนหลังจากคืนที่สิบห้า และเรียกอีกอย่างว่า "ดวงจันทร์ตามหลัง" เนื่องจากวันนี้เป็นการเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวเกาลัดและถั่ว จึงเรียกอีกอย่างว่า "คุรินเมย์เก็ตสึ (จันทร์เก็บเกาลัด)" หรือ "มาเมะเมย์เก็ตสึ (จันทร์เก็บถั่ว)" พระจันทร์คืนที่สิบสามไม่ใช่พระจันทร์เต็มดวง แต่มีคุณก็สามารถเพลิดเพลินไปกับดวงจันทร์ที่บิ่นเล็กน้อยได้

วันที่10 เดือนสิบตามปฏิทินจันทรคติ: คืนที่สิบ

เป็นงานปิดท้ายการเก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ร่วง หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวสิ้นสุดลง จะจัดขึ้นเป็นพิธีกรรมเพื่อส่งเทพเจ้าแห่งนาข้าวกลับสู่ภูเขา

ประเพณีฉลองการคืนที่สิบได้เฉพาะในญี่ปุ่นตะวันออก ส่วนใหญ่ในภูมิภาคคันโตและโคชิเน็ตสึ และแม้ว่ารายละเอียดของประเพณีจะแตกต่างกันไปตามภูมิภาค แต่ก็มีการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การบดโมจิและการบูชาหุ่นไล่กา

เต็มอิ่มด้วยรสชาติของฤดูใบไม้ร่วง! 5 อาหารรสเลิศที่ไม่ว่าใครก็ต้องอยากลิ้มรสขณะชมจันทร์

ดังโกะชมจันทร์

จันทร์เพ็ญกลางฤดูใบไม้ร่วง ดังโกะชมจันทร์

ดังโกะชมจันทร์เป็นขนมญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมในญี่ปุ่น และยังเป็นเครื่องเซ่นไหว้ที่แสดงความขอบคุณสําหรับการเก็บเกี่ยวฤดูใบไม้ร่วงและอธิษฐานขอให้มีผลผลิตที่ดีในฤดูกาลที่กําลังจะมาถึง

ธรรมเนียมถวายดังโกะที่ทําจากแป้งข้าวเจ้ามีมาตั้งแต่สมัยเอโดะ และผู้คนในสมัยนั้นเชื่อว่าการได้รับดังโกะชมจันทร์ที่ไหว้แล้ว พวกเขาจะสามารถแบ่งปันพลังกับดวงจันทร์และเทพเจ้าแห่งการเกษตร สึกิโยมิ และจะมีสุขภาพที่ดีและมีความสุข

ลักษณะของดังโกะชมจันทร์ในคันโตคันไซและภูมิภาคอื่น ๆแตกต่างกันขนาดนี้เลย?

ดังโกะชมจันทร์ส่วนใหญ่นั้นกลมและเป็นสีขาว ทั่วประเทศ แต่ก็มีบางชนิดที่มีรูปร่างและวิธีจัดวางที่แตกต่างกันไปตามภูมิภาค


สีรูปร่างวิธีจัดวางชื่อเรียกอื่น
คันโตขาวทรงกลมซ้อนกันเป็นรูปปิรามิด

คันไซสีขาว (ห่อถั่วฝอยด้านนอก)
ทรงหยดน้ํา
จัดเรียงเป็นแถว

นาโกย่า3 สี (ขาว, ชมพู, น้ําตาล)
ทรงเผือก จัดเรียงเป็นแถว

ชิซุโอกะขาวทรงกลมมีรอยบุ๋ม
ซ้อนกันเป็นรูปปิรามิด
เฮโซโมจิ (โมจิสะดือ)
ชูโกกุและชิโกกุ
สีขาว (โคชิอัน, คินาโกะ, มิทาราชิ)
เสียบไม้
จัดเรียงทีละรายการ

โอกินาว่าสีขาว (พื้นผิวโรยด้วยผงถั่ว)
ทรงรี ทรงไข่รูปทรงปิรามิด / จัดเรียงเป็นแถว
ฟุชากิ

สึกิมิโซบะ

จันทร์เพ็ญกลางฤดูใบไม้ร่วงสึกิมิโซบะ

สึกิมิโซบะเป็นอาหารที่ทําจากไข่ดิบตอกลงบนบะหมี่โซบะอุ่น ๆ ชื่อ "สึกิมิ(ชมจันทร์)" มาจากรูปทรงของไข่แดงที่เหมือนพระจันทร์เต็มดวง นอกเหนือจากนั้นยังมีไข่ขาวที่แข็งตัวที่ถูกใช้เป็นเมฆ และสาหร่ายที่วางอยู่ใต้ไข่ราวกับท้องฟ้ายามค่ําคืน

เมนูนี้จะกินทั้งๆอย่างนั้นก็อร่อย แต่มักรับประทานเมื่อไข่เริ่มสุกเล็กน้อยด้วยความร้อนของซุปสึยุ และเมื่อไข่แดงแตก รสชาติของไข่รวมกับซุปก็จะนุ่มนวล กลมกล่อมน่าลิ้มลอง 

โซบะได้รับความนิยมในช่วงปลายสมัยเอโดะ แต่ว่ากันว่าคนญี่ปุ่นเริ่มกินสึกิมิโซบะหลังยุคเมจิเท่านั้น เนื่องจากไข่สมัยก่อนหน้านั้นมีราคาแพงและเสิร์ฟดิบได้ยากเนื่องจากปัญหาทางด้านสุขอนามัย

ข้าวเกาลัด

คุริเมย์เก็ตสึ (คืนที่สิบสาม) ข้าวเกาลัด

คืนที่สิบห้าซึ่งมี"จันทร์เพ็ญกลางฤดูใบไม้ร่วง" เป็นคืนสำหรับเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวข้าว ในขณะที่คืนที่สิบสามมีไว้เฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวเกาลัด ด้วยเหตุนี้ คืนที่สิบสามจึงเรียกอีกอย่างว่า "คุริเมย์เก็ตสึ" และการถวายเกาลัดจึงกลายเป็นธรรมเนียม

เกาลัดที่เก็บเกี่ยวในช่วงเวลานี้ของปีเป็นส่วนผสมที่เป็นสัญลักษณ์ของการเก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ร่วง และหากหุงเกาลัดกับข้าวหลังจากถวายเสร็ คุณก็สามารถทําข้าวเกาลัดแสนอร่อยได้

ถั่วเกาลัดมีด้วย "ผิวแข็ง" หนาด้านนอกและ "ผิวฝาด" ด้านใน เวลาเตรียมวัตถุดิบจึงเตรียมได้ยาก ดังนั้นหากคุณต้องทำเมนูนี้แบบใช้เวลาไม่มาก ขอแนะนําให้ใช้สตูว์น้ําหวานหรือเกาลัดแช่แข็งแทน

ซุปเคนชิน

จันทร์เพ็ญกลางฤดูใบไม้ร่วง ซุปเคนชิน

ซุปเคนชินเป็นซุปแบบดั้งเดิมชนิดหนึ่งในญี่ปุ่น ส่วนใหญ่เป็นที่รู้จักกันในนามอาหารมังสวิรัติและมีลักษณะที่ทําโดยไม่ต้องใช้ส่วนผสมจากสัตว์

ทอดส่วนผสมในน้ํามันเคี่ยวในน้ําซุป (ตามปกติใช้เป็นน้ําซุปสาหร่ายทะเลหรือเห็ดหอม) ปรุงรสด้วยโชยุหรือมิโซะ เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อย ซุปมีความโปร่งใส และรสชาติของส่วนผสมก็อบอุ่นและอ่อนโยน

เมนูนี้ อาจใช้ส่วนผสมและวิธีการปรุงอาหารที่แตกต่างกันเล็กน้อยขึ้นอยู่กับภูมิภาคและครัวเรือน  แต่โดยพื้นฐานแล้วเป็นที่นิยมในฐานะอาหารเพื่อสุขภาพที่ใช้ผักมากมาย

ซุปเคนชินใช้วัตถุดิบที่ได้จากการเก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ร่วงจํานวนมาก และแม้กระทั่งทุกวันนี้ในบางพื้นที่ ธรรมเนียมการกินซุปเคนชินในคืนที่ 15 ก็ยังคงอยู่

ส่วนผสมหลัก

  • พืชราก เช่น หัวไชเท้าและแครอท
  • หญ้าเจ้าชู้
  • บุก
  • เต้าหู้
  • เห็ด เช่น เห็ดหอมและเห็ดชิเมจิ
  • เผือก (หรือมันฝรั่ง)

สึกิมิเบอร์เกอร์

จันทร์เพ็ญกลางฤดูใบไม้ร่วง สึกิมิเบอร์เกอร์

สึกิมิเบอร์เกอร์เป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างกิจกรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่นและวัฒนธรรมอาหารสมัยใหม่ และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ได้กลายเป็น "ประเพณีฤดูใบไม้ร่วง" ที่ทําให้คุณรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล

สึกิมิเบอร์เกอร์เปิดตัวครั้งแรกในปี 1991 และในเวลานั้นถูกคิดค้นมาเพื่อให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ให้ความรู้สึกเข้ากับฤดูใบไม้ร่วง แต่ก็กลายเป็นเมนูยอดฮิตเพราะชื่อและรูปลักษณ์ และตั้งแต่เปิดตัว ก็ได้รับการสนับสนุนจากมาทุกๆปีในฐานะเมนูประจำของฤดูใบไม้ร่วง

"สงครามชมจันทร์" ระหว่างเครือร้านอาหารมีความร้อนแรงมากขึ้นทุกปีและเนื่องจากอิทธิพลของการแข่งขันนี้ ราคาไข่จึงมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างมากในฤดูใบไม้ร่วง เพราะฉะนั้น ปัจจุบันนี้จึงมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้สับปะรดและเห็ดแทนไข่จึงปรากฏขึ้นซึ่งทําให้แตกต่างจากเบอร์เกอร์สึกิมิทั่วไป

ทุกวันนี้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตและการพัฒนาของความบันเทิงอื่นๆ ประเพณีการชมจันทร์จึงค่อยๆจางหายไป แต่ในช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วงนี้ ทําไมถึงไม่ลองเงยหน้าขึ้นมองท้องฟ้าและชมดวงจันทร์ในขณะที่เพลิดเพลินกับอาหารรสเลิศที่แนะนําข้างต้นสักหน่อยล่ะ?

หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend