ขออนุญาตถามตามตรง คุณเคยเจอ "ผี" มาก่อนมั้ย? แม้กระทั่งคนที่ไม่เคยเจอผีจริงๆ ก็อาจจะเคยเห็น "ผี" ที่ถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์หรือละครทีวีของญี่ปุ่นกันสินะคะ
แล้วคุณรู้หรือไม่ว่าในญี่ปุ่นมี "วันผี" (幽霊の日 / Yurei no Hi) ซึ่งเป็นวันพิเศษที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้จักกันค่ะ ในบทความนี้ เราจะแนะนำถึง "วันผี" ว่ามีที่มาจากไหน และการก่อตั้งวันนี้ขึ้นมาก็ไม่ได้มีแค่ความน่ากลัวของผีญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังมีด้านที่หลายคนยังไม่ค่อยจะรู้จักอีกด้วยค่ะ
*คำว่า 幽霊 "ยูเร" ในภาษาญี่ปุ่น หมายถึงผีที่เป็นวิญญาณของคนตาย ต่างจาก 妖怪 "โยไค" ที่เป็นภูตพรายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือ お化け "โอบาเกะ" ซึ่งใช้เรียกรวมๆ ซึ่งที่จำแลงร่างหลอกคน ซึ่งจะไม่จำแนกประเภทคล้ายกับที่คนไทยเรียกรวมๆ กันว่า "ผี"
ผีญี่ปุ่นคืออะไร? รูปลักษณ์ติดตาขอใครหลายคนคือ...
คนญี่ปุ่นเมื่อได้ยินคำว่า "ผี" หลายคนมักจะนึกภาพดังต่อไปนี้กันค่ะ
- ผู้หญิงที่มีผมยาวทรงกระเซอะกระเซิง สวมซับในกิโมโนสีขาว
- ไม่มีขาให้เห็นใต้ชายกิโมโนลงไป และมีผ้าสามเหลี่ยมที่เรียกว่า "เท็นกัน" (天冠 / Tenkan หรือ Tengan) ที่ผูกบนหัวเหมือนผ้าโพกหัวสีขาว
- มักปรากฏตัวใต้ต้นหลิวริมแม่น้ำ โผล่มาจากหลังหินหลุมศพที่วางเรียงกันในพื้นที่วัด พร้อมกับดวงไฟวิญญาณสีฟ้าและเสียงหวีดที่ดังขึ้นมาจากที่ใดไม่รู้
- ยืดแขนออกมาข้างหน้า และหักข้อมือลงพร้อมพูดกระซิบเบาๆ ว่า "อุราเมชิยา〜" (うらめしや / urameshiya แปลว่า เกลียดแค้น)
นี้คือรูปลักษณ์ที่หลายคนติดภาพของ "ผี" ญี่ปุ่นค่ะ
ความเป็นมาของการก่อตั้ง "วันผี"
วันผีของญี่ปุ่นถูกกำหนดในวันที่ 26 กรกฎาคม มีเรื่องราวเกี่ยวกับ "ไคดัน" (怪談 - เรื่องสยอง) ที่มีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับวันนี้ แล้วเรื่องสยองนั้นคือเรื่องอะไรกันเอ่ย
ทำไม "วันผี" ถึงเป็นวันที่ 26 กรกฎาคม: "โทไกโดยตสึยะไคดัน" และผี
จริงๆ แล้วนั้น เมื่อประมาณ 200 ปีที่แล้ว ในปี 1825 ในวันนี้ มีการแสดงคาบูกิจาก สึรุยะ นัมโบคุ รุ่นที่ 4 เป็นครั้งแรกที่เรียกว่า "โทไกโดยตสึยะไคดัน" (เรื่องสยอง ยตสึยะแห่งทางหลวงโทไคโด) และนี่คือที่มาของการที่วันที่ 26 กรกฎาคมได้กลายเป็น "วันผี" ค่ะ นั่นก็เพราะเรื่องสยองนี้ "ผี" เป็นส่วนสำคัญของเนื้อเรื่อง เราขอนำเรื่องย่อจากคาบูกิ on the web "โทไคโดยตสึยะไคดัน" มาแนะนำกันคร่าวๆ ค่ะ
เรื่องย่อของเรื่องสยอง โทไคโดยตสึยะไคดัน
ยตสึยะ ซาม่อน มีลูกสาวสวย 2 คนชื่อ โออิวะ และ โอโซเดะ โออิวะได้เป็นภรรยาของ มินาทานิ อิเอม่อน ซึ่งทั้งคู่ก็ได้อาศัยอยู่ร่วมกัน แต่อิเอม่อนนี้ได้ฆ่าซาม่อนที่พยายามมาพาตัวโออิวะกลับบ้าน โออิวะที่ไม่รู้ว่าอิเอม่อนคือฆาตกรที่ฆ่าพ่อของเธอก็ได้แต่งงานกับเขา แต่อิเอม่อนที่เบื่อกับการใช้ชีวิตยากจนและปรับตัวไม่เข้ากันกับบุคลิกของโออิวะ สุดท้ายก็ได้นอกใจโออิวะและไปคบหากับหลานสาวของบ้านข้างๆ โออิวะได้ดื่มยาพิษที่บ้านนั้นส่งมาให้ ทำให้หน้าตาเปลี่ยนไปอย่างน่าเกลียดอัปลักษณ์ และยังมารู้ว่าถูกอิเอม่อนนอกใจ หลังจากโออิวะตายอย่างน่าสงสาร อิเอม่อนที่คิดว่าเจ้าสาวใหม่ของตนเป็นโออิวะก็ได้พลั้งมือฆ่าเจ้าสาวคนข้างบ้านไป อิเอม่อนที่สูญเสียทุกอย่างก็ยังถูกผีของโออิวะตามรังควาญทุกคืน อิเอม่อนซึ่งทำความชั่วและยังลอยนวลอยู่นั้น ในที่สุดถูกโยโมชิจิ (ผู้ที่เคยมีความสัมพันธ์กับโอโซเดะ น้องสาวของโออิวะ) และคนอื่นๆ สังหารลง และความแค้นของโออิวะก็ได้รับการชำระไป
สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับ "ยตสึยะไคดัน" ที่ยังคงมีอยู่ในโตเกียวในปัจจุบัน
อนึ่ง ในปัจจุบันยังมีวัดและศาลเจ้าที่เรียกว่า "โออิวะอินาริ" อยู่ใน
กิจกรรมเกี่ยวกับผี: จังหวัดยามากุจิ มีภาพวาดผีที่สืบทอดกันมาในอำเภอชิโมโนเซกิ
ทางเราไม่สามารถยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมที่จัดขึ้นในวัน "วันผี" วันที่ 26 กรกฎาคมได้เลยค่ะ แต่เราก็พบข้อมูลว่ามีการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ "ผี" ซึ่งก็คือ "เทศกาลผี" จัดขึ้นที่วัดแห่งหนึ่งค่ะ
"เทศกาลผี" นี้จัดขึ้นทุกปีในวันที่ 17 กรกฎาคมที่วัดโยฟุกุจิในอำเภอชิโมโนเซกิ จังหวัด
เรื่องราวของผีที่ไม่ได้มีแต่ความน่ากลัว: ผีเลี้ยงลูก
ดังที่เราได้กล่าวกันมาแล้วนะคะ ในเรื่องที่ถูกจัดให้เป็น "เรื่องผี" ประเภทเดียวกัน ก็ยังมีทั้งเรื่อง "ผีที่เป็นวิญญาณผู้ตาย" เช่น "โออิวะซัง" ใน "โทไคโดยดสึยะไคดัน" และเรื่องที่ผีที่มีจิตใจงดงามอย่างที่สืบทอดกันมาในวัดที่อำเภอชิโมโนเซกิค่ะ ดังนั้น แม้แต่วิธีการกล่าวถึง "ผี" ก็มีหลากหลายรูปแบบ ดังที่คงจะได้ทราบกันไปแล้ว ใช่มั้ยคะ
ถึงกระนั้น ใน "เรื่องสยอง" ที่เป็นผลงานของผู้เขียนชื่อดังชาวอังกฤษ และได้มายังญี่ปุ่นในยุคเมจิและใช้ชีวิตในช่วงบั้นปลายที่นี่ ลาฟคาดิโอ เฮิร์น (ชื่อญี่ปุ่น โคอิซุมิ ยาคุโมะ) ได้เขียนเรื่อง "เมืองหลวงของดินแดนแห่งเทพ" (The Chief City of the Province of the Gods) ภายในมีเรื่องผีที่ถ่ายทอดกันมาในอำเภอมัตสึเอะ จังหวัดชิมาเนะ ถูกหยิบยกมาแนะนำไว้ด้วยค่ะ
- ทุกคืนที่ร้านขายลูกอมเล็กๆ ในมัตสึเอะ มีผู้หญิงที่หน้าสีซีดเซียวใส่ชุดขาวมาซื้อลูกอมกลางดึกทุกคืน เจ้าของร้านลูกอมที่เกิดความสงสัยก็จึงแอบสะกดรอยตามหลังผู้หญิงคนนี้ไปในคืนหนึ่ง และพบว่าผู้หญิงคนนี้เข้าไปในสุสาน ในคืนถัดไป ผู้หญิงที่มาที่ร้านลูกอมก็ไม่ได้ซื้ออะไรสักอย่าง แต่เธอกลับกวักมือราวกับเรียกให้เขามาด้วยกัน และเมื่อได้ตามไปถึงสุสาน ผู้หญิงคนนั้นหายเข้าไปในหลุมศพแห่งหนึ่ง และเมื่อเปิดหลุมศพนั้นขึ้นก็พบว่ามีศพของผู้หญิงคนเดียวกับที่มาที่ร้านลูกอม และทารกที่ยังมีชีวิตอยู่ และข้างๆ ทารกมีชามเล็กๆ ที่มีลูกอมอยู่ข้างใน ดูเหมือนวิญญาณของผู้เป็นแม่จะนำลูกอมมาและคอยเลี้ยงลูกของเธอ (ที่มา: The Chief City of the Province of the Gods)
เฮิร์นที่นำเอาเรื่องราวเรื่องนี้มาแนะนำในหนังสือของเขาได้วิจารณ์ไว้ว่า "ความรักนั้นมีอำนาจแข็งเกร่งยิ่งกว่าความตาย (love being stronger than death)" หัวใจผู้เป็นแม่ที่คิดถึงแต่ลูกและปรารถนาให้ลูกเติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์แข็งแรงสามารถก้าวข้ามกำแพงที่เรียกว่าความตายได้ มันอาจจะเป็นเรื่องราวที่ฟังดูอบอุ่นใจมากกว่าความลี้ลับและความสยองค่ะ
เรื่องราวเกี่ยวกับ "ผีเลี้ยงลูก/ผีซื้อลูกอม" นี้ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะที่
สรุป: สิ่งที่ควรระวังมากกว่าผี
ถึงจุดนี้ เราได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ "วันผี" ซึ่งเป็นวันรำลึกพิเศษของญี่ปุ่น และเรื่องราวผีที่เกี่ยวข้องกับวันนี้ รวมถึงการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับผีค่ะ
ในญี่ปุ่น เมื่อถึงฤดูร้อน จะมีคนที่ไปที่สถานที่เช่นสุสาน หรือสถานที่ร้าง หรือที่ที่เรียกว่า "จุดอาถรรพ์" เพื่อทำ "การทดสอบความกล้า" อาจจะมีคนที่สนใจในการทดสอบความกล้านี้ แต่สิ่งที่เราอยากจะให้คุณระวังไว้ก็คือไม่ควรไปยังสถานที่ที่คุณไม่ควรเข้าไปในแง่มุมด้านกฎหมายและความปลอดภัยทางกายภาพค่ะ การเข้าไปในที่ส่วนบุคคลโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของที่ดินคือการกระทำที่ผิดกฎหมาย นอกจากนี้ การเข้าไปในสถานที่ที่มืดและแคบที่คุณไม่สามารถมองเห็นสิ่งรอบๆ หรือสถานที่ที่ไม่ได้รับการดูแลนาน นอกจากเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาถรรพ์และผีสางแล้ว ยังเป็นการกระทำที่ทำให้ตัวคุณเองตกอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงอันตรายด้วยค่ะ
เราเข้าใจว่าอาจมีบางคนที่จะอยากพบเจอสิ่งที่น่ากลัว แต่คุณควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน หรือทำให้ตัวคุณเองอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงอันตราย และควรปฏิบัติตามความรับผิดชอบต่อการกระทำของตัวคุณเองด้วยค่ะ
Comments