วันที่ 22 กุมภาพันธ์เป็น "วันแมว" ในประเทศญี่ปุ่นค่ะ!
ดูเหมือนว่าวันนี้ถูกตัดสินจากการเล่นคำ เนื่องจากการออกเสียงของ 222 ในภาษาญี่ปุ่นนั้นคล้ายกับเสียงร้องของแมวในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งคือ "nyan-nyan-nyan" ค่ะ
ในขณะเดียวกัน วันที่ 22 กุมภาพันธ์ยังเป็นวันของกินบางอย่าง สิ่งที่เมื่อถึงฤดูหนาวคุณจะอยากรับประทานขึ้นมาอย่างน่าแปลกใจ และเป็นสิ่งที่มีร้านค้าเฉพาะทางจำหน่ายด้วย ใช่แล้วค่ะ มันคือ "วันโอเด้ง" ค่ะ
นี่ก็มาจากการเล่นคำกับเลข 222 แต่การออกเสียงคือ "ฟู-ฟู-ฟู" มันถูกก่อตั้งขึ้นโดย "สมาคมโอเด้งโคชิโนะ" ที่ดำเนินการเพื่อทำให้โอเด้งกลายเป็นของดังประจำนีงาตะ และมาจากการเป่าลมร้อนบนโอเด้งก่อนที่จะกินซึ่งมีเสียงคล้าย "ฟู-ฟู-ฟู" ค่ะ
ทั้งนี้ ชื่อ "โอเด้ง" นี้ก็ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวข้องกับส่วนผสมสักอย่างเลย แล้วมันมีที่มาจากไหนล่ะ? ต้นกำเนิดจริงๆ ของชื่อนั้นเกี่ยวข้องกับเทศกาล ในครั้งนี้ เพื่อเฉลิมฉลอง "วันโอเด้ง" เราจะพูดถึงที่มาของโอเด้งกันค่ะ
ที่มาของชื่อโอเด้งมาจากชื่อของศิลปะการแสดงบางอย่าง
ทำไมถึงเรียกว่า "โอเด้ง"? สรุปง่ายๆ เลยก็คือ มันมาจากศิลปะการแสดงที่เรียกว่า "เด็งกาคุ" (田楽 / Dengaku)
ในขณะที่โอเด้งรูปแบบปัจจุบันมีส่วนผสมที่หลากหลาย แต่แรกเริ่มเดิมทีแล้ว มีเพียงเต้าหู้เท่านั้น และยังไม่มีโอเด้งแบบต้มที่เห็นในปัจจุบันค่ะ
นับแต่ช่วงเวลาหนึ่งมานั้น เต้าหู้มีรูปร่างเป็นแท่งเรียวยาว และมักถูกเสียบไม้ปิ้งค่ะ ในช่วงสมัยเฮอัน ดูเหมือนว่าจะใช้เกลือปรุงรสแทนมิโสะแบบสมัยปัจจุบัน แต่ในสมัยมุโรมาจิที่มีการใช้มิโสะทาเต้าหู มันถูกเรียกว่า "โอเด็งงาคุ" = "โอเด้ง" เมื่อถูกทาด้วยมิโสะปิ้งค่ะ
"เด็งกาคุ" ที่จัดขึ้นการระหว่างการดำนา
หลายคนอาจจะสงสัยว่าเด็งกาคุคืออะไร? เด็งกาคุเป็นรูปแบบของศิลปะการแสดงที่ทำไปพร้อมกับการดำนาค่ะ
ในเรื่องราวความสำเร็จของ ฟูจิวาระ โนะ มิจินางะ (藤原道長 / Fujiwara no Michinaga) ใน "ตำนานเอกะ" (栄華物語 / Eiga Monogatari) ที่เขียนขึ้นในสมัยเฮอัน มีการบรรยายถึงเจ้าขุนมูลนาย ฟูจิวาระ โนะ มิจินางะ ที่เชิญพระมารดาของจักรพรรดิโกะอิจิโจ (後一条天皇 / Emperor Go-Ichijo) ทรงพระนามว่า อาคิโกะ (彰子 / Akiko) มาดูการดำนาค่ะ
ได้มีการพรรณาถึงหญิงสาว "ซาโอโตเมะ" ที่กำลังปลูกข้าว และเหล่าชายหนุ่มที่เล่นกลองที่ผูกอยู่ที่เอว เป่าปี่ และร้องเพลงเพื่อสร้างความสนุกสนานในการดำนาค่ะ
งานของชายหนุ่มเหล่านี้ก็ได้พัฒนาเป็นศิลปะการแสดงที่รู้จักกันในชื่อ "เด็งกาคุ" ค่ะ
"ศิลปะการแสดงบนทุ่งนา" = "เด็งกาคุ" ซึ่งถูกแยกออกจากนาข้าวและเลือกเฉพาะส่วนของศิลปะการแสดงเอาไว้ ก็ได้รับความนิยมในเมืองเนื่องจากมีการแสดงโดยนักบวชชั้นล่างที่เรียกว่า "เด็งกาคุโฮชิ" (田楽法師 / Dengaku Hoshi นักธรรมเด็งกาคุ) ค่ะ
เด็งกาคุได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยคามาคุระ
เด็งกาคุได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยคามาคุระ มีข้อมูลที่บอกว่าผู้สืบอำนาจของโฮโจแห่งรัฐบาลหลังม่านคามาคุระ ซึ่งกลายเป็นประเด็นใหญ่ในละครประวัติศาสตร์ ก็เป็นแฟนตัวยงของเด็งกาคุด้วยค่ะ
หนึ่งในการแสดงที่ดำเนินการโดยเด็งกาคุโฮชินี้ก็คือการให้ผู้ชายกระโดดบนม้าไท้ขาเดียวที่ทำจากไม้ไผ่ท่อนเดียวค่ะ
ที่มาของรูปร่างในปัจจุบันของโอเด้ง
ชื่อ "โทฟุเด็งกาคุ" มาจากความคล้ายคลึงระหว่างภาพของชายที่ขึ้นบนม้าไม้ขาเดียวและภาพของเต้าหู้ที่ถูกเสียบด้วยไม้ค่ะ
เมื่อเวลาผ่านไป จำนวนของส่วนผสมที่ไม่ใช่เต้าหู้ก็เพิ่มขึ้น และมันพัฒนาจากเด็งกาคุแบบที่ย่างเป็นเด็งกาคุแบบที่ต้ม ชื่อก็เปลี่ยนจาก "โอเด็งกาคุ" (お田楽) เป็น "โอเด้ง" (お田) แล้วกลายเป็น "おでん" ในที่สุดค่ะ
เด็งกาคุยังคงอยู่ในส่วนต่างๆ ของญี่ปุ่นในปัจจุบัน
"เด็งกาคุ" ซึ่งเคยแสดงในช่วงที่ดำนา กลายเป็นรูปแบบของศิลปะการแสดงในช่วงสมัยเฮอัน และได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยคามาคุระ และกลายเป็นชื่อของอาหารที่ทำจากเต้าหู้ไปในที่สุด ซึ่งก็พัฒนาเป็นรากฐานของโอเด้งในสมัยมุโรมาจิค่ะ แม้ในปัจจุบันก็ยังถูกสืบทอดมาเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านในส่วนต่างๆ ของญี่ปุ่นค่ะ
ในปี 1990 นักแสดงอุปรากรโนห์รุ่นที่แปด โนมุระ มันโซ (野村万蔵 / NOMURA Manzo - 1959-2004) ได้ร่วมมือกับนักวิจัยวิชาการ นักดนตรี และนักระบำพื้นบ้านเพื่อทำให้เด็งกาคุมีรูปแบบปัจจุบัน โดยสร้าง "ไดเด็งกาตคุ" (大田楽 / Daidengaku) ขึ้นมาค่ะ ตั้งแต่นั้น ไดเด็งกาตคุได้จัดขึ้นเป็นเทศกาลที่มีการมีส่วนร่วมของประชาชนที่หลายสถานที่ทั่วประเทศ โดยเริ่มจากยามาชิโระออนเซ็นในอำเภอคางะ จังหวัดอิชิคาว่าค่ะ
Comments