【รวมรวม 47 จังหวัดของญี่ปุ่น: มิยาซากิ】รีสอร์ทเมืองร้อนที่ภาคภูมิใจของคิวชู! มีหลายอย่างตั้งแต่แชมป์เบสบอล ตำนานเทพปกรณัมไปจนถึงอนิเมะที่นิยม!

  • 5 กุมภาพันธ์ 2024
  • Asami Koga
  • Mon

Kyushu Miyazaki

ญี่ปุ่นมีทั้งหมด 47 จังหวัด

เช่นเดียวกับที่ภูมิทัศน์เมือง กิจกรรม และของอร่อยก็แตกต่างกันไปตามภูมิภาค ลักษณะจำเพาะของคนในท้องถิ่นก็แตกต่างกันไป ในซีรี่ส์นี้ เราจะเจาะลึกถึงสถานการณ์ในท้องถิ่นของแต่ละจังหวัดโดยแนะนำเสน่ห์ของแต่ละจังหวัดและสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาให้ทราบกันค่ะ

วันนี้เราจะมาโฟกัสไปกันที่จังหวัดมิยาซากิ ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของคิวชู ที่รู้จักกันในฐานะแหล่งกำเนิดของตำนานเทพปกรณัมญี่ปุ่นและดินแดนแห่งตำนาน ทาคาจิโฮ นอกจากนี้ยังมีเมืองนิจินันที่ถือว่าเป็นหนึ่งในสถานที่เดินเรื่องของภาพยนตร์อนิเมชั่นยอดฮิต "Suzume no Tojimari" และอาโอชิมะที่คุณสามารถเพลิดเพลินกับทิวทัศน์ทะเลที่สวยงามได้ค่ะ มาเรียนรู้เกี่ยวกับจังหวัดมิยาซากิที่เต็มไปด้วยธรรมชาติที่งดงามและสถานที่ท่องเที่ยวกันค่ะ!

ไม่สามารถชม World Baseball Classic ที่ค่ายฝึกซ้อมเบสบอลได้⁉ สถานการณ์เกี่ยวกับสถานีโทรทัศน์สุดพิศดารในมิยาซากิที่ "ต้องทำอะไรสักอย่างแล้ว"

จังหวัดมิยาซากิ ส่วนที่อยู่ทางใต้สุดของคิวชู เป็นเมืองที่มีต้นปาล์มขึ้นอยู่ในเมืองและทะเลสีน้ำเงินสวยงามที่แผ่ไพศาล ภูมิอากาศที่นี่ยังเป็นหนึ่งในที่สุดเมื่อพูดถึงจำนวนวันที่อากาศแจ่มใสในรอบปี เนื่องจากมีอากาศอบอุ่นและแดดจ้าแทบทั้งปี ทำให้ได้รับความนิยมในฐานะแคมป์ฝึกซ้อมสำหรับกีฬามืออาชีพค่ะ

จังหวัดมิยาซากิได้รับความนิยมอย่างมากเป็นค่ายฝึกซ้อมเบสบอล และมีหลายทีมอย่าง โยมิอุริไจแอนท์ส ฟุกุโอกะซอฟท์แบงค์ฮอว์ค ไซตามะเซบุไลออนส ฮิโรชิม่าโทโยคาร์ป โอริกซ์บัฟฟาโลส และโตเกียวยาคูลท์สวอลโลว์ส เลือกใช้ที่นี่เป็นสถานที่จัดค่ายฝึกซ้อมกันค่ะ

ในความเป็นจริงนั้น อำเภอมิยาซากิในจังหวัดมิยาซากิ ถูกเลือกเป็นสถานที่จัดค่ายฝึกซ้อมสำหรับทีมชาติญี่ปุ่น "ซามูไรเจแปน" ในการแข่งขัน WBC (World Baseball Classic) ซึ่งเป็นการแข่งขันเพื่อหาทีมเบสบอลที่ดีที่สุดในโลก ในเดือนมีนาคม 2023 ระหว่างช่วงค่ายฝึกซ้อม สภาพของค่ายฝึกซ้อมมิยาซากิของซามูไรเจแปน ได้รับการรายงานในทีวีญี่ปุ่นเกือบทุกวัน และหลังจากที่เอาชนะทีมสหรัฐฯ และกลายเป็นที่หนึ่งในญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในรอบสามทัวร์นาเมนต์ ก็ได้กลายเป็นประเด็นสนทนาไปทั่วญี่ปุ่นค่ะ

การดูเบสบอล

ถึงแม้จะเป็นสถานที่จัดค่ายฝึกซ้อม แต่หลายเกมส์ WBC ไม่ได้ถูกออกอากาศในจังหวัดมิยาซากิค่ะ ทำไมน่ะหรือ? ก็เพราะว่ามีสถานีโทรทัศน์เอกชนนอกจากการสถานีโทรทัศน์สาธารณะในจังหวัดมิยาซากิเพียงแค่ 2 สถานี และช่องที่ถือสิทธิ์การถ่ายทอดสด WBC ก็ไม่ได้ส่งสัญญาณออกอากาศที่จังหวัดมิยาซากิค่ะ...

ตัวอย่างเช่น แม้ว่าค่ายฝึกซ้อมก่อนเกมส์ระหว่างญี่ปุ่นกับอิตาลี ที่ญี่ปุ่นชนะอย่างขาดลอยและเข้าสู่รอบรองชนะเลิศจะจัดขึ้นที่มิยาซากิ แต่ก็ไม่ได้ถูกออกอากาศในจังหวัดเพราะไม่มีสถานีโทรทัศน์ในเครือพันธมิตรของ TV Asahi ค่ะ แม้แต่สำหรับรอบชิงชนะเลิศของ WBC หลายคนที่อาศัยอยู่ในมิยาซากิก็บอกว่า "เพิ่งรู้ว่าญี่ปุ่นชนะจากทางทวิตเตอร์ (ปัจจุบันคือ X) ของคนอื่น" บางคนอาจคิดว่า "ถึงจะไม่มีการถ่ายทอดสดทางช่องเอกชน แต่ก็สามารถดูทางโทรทัศน์เคเบิลได้ไม่ใช่หรือ?" แต่ในมิยาซากินั้น พื้นที่ที่สามารถดำเนินการติดตั้งเคเบิลทีวีได้ก็มีจำกัดค่ะ และมีชาวจังหวัดเพียงบางส่วนเท่านั้นที่สามารถดูโทรทัศน์เคเบิลได้ค่ะ

เพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์นี้ ฮิกาชิโคคุบารุ ฮิเดโอะ (東国原英夫 / HIGASHIKOKUBARU Hideo) ผู้ว่าการคนก่อน ได้แสดงความรู้สึกวิกฤติผ่านทางโซเชียลมีเดียโดยกล่าวว่า "どげんかせんといかん!" (Dogenka sento ikan - ภาษาถิ่นของ Miyazaki ที่หมายถึง "เราต้องทำอะไรสักอย่าง" ซึ่งคล้ายกับประโยคภาษาญี่ปุ่นทั่วไปว่า "どうにかしないといけない" / dou ni ka shinai to ikenai) ในโพสต์ที่เขาส่งกำลังใจให้กับนักกีฬาหลังจากที่ทีมซามูไรเจแปนชนะเลิศค่ะ เขาสรุปโดยกล่าวว่า "แต่ก็น่าเสียดายที่เกมสุดท้ายและเกมอื่นๆ ไม่ได้ถูกถ่ายทอดออกอากาศทางโทรทัศน์ท้องถิ่นในมิยาซากิ แต่ผมต้องการแสดงความขอบคุณอย่างแท้จริงต่อนักกีฬา ทีมงาน และเจ้าหน้าที่ทัวร์นาเมนต์ทุกคนในฐานะสถานที่จัดค่ายฝึกซ้อมครับ"

จริงๆ แล้วยังคงต้องรอดูกันว่าชาวมิยาซากิจะสามารถชมการแข่งขันของทีมซามูไรเจแปนทั้งหมดในอนาคตได้หรือไม่ โปรดติดตามต่อไปค่ะ

ภาพยนตร์อนิเมะ "Suzume no Tojimari" ยังมีภาษาถิ่นของมิยาซากิที่เต็มไปด้วยคำที่ฟังดูน่ารัก⁉

"Suzume no Tojimari" ที่กำกับโดยชินไค มาโคโตะ ได้รับการฉายในหลายประเทศทั่วโลกและบันทึกรายได้จากการขายตั๋วหนังที่ประเทศญี่ปุ่นประมาณ 14.79 พันล้านเยน ภาพยนตร์เรื่องนี้มีเรื่องราวเกิดขึ้นในพื้นที่ร้างทั่วประเทศญี่ปุ่น ที่ซูซูเมะ ตัวละครหลัก ต้องไปปิดประตูที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติค่ะ น่าสนใจที่สุดก็คือ จุดเริ่มต้นของเรื่องนี้มีแรงบันดาลใจมาจากจังหวัดมิยาซากิ นอกจากนี้ตัวละครของซูซูเมะยังมีแรงบันดาลใจมาจากถ้ำอามาโนอิวาโตะในตำนานอามาโนอิวาโตะ*ในตำนานเทพปกรณัมญี่ปุ่นค่ะ

การใช้ภาษาถิ่นของมิยาซากิในเรื่อง "Suzume no Tojimari"

สำเนียงมิยาซากิหรือ "มิยาซากิเบ็น" ปรากฏอยู่ทั่วทั้งผลงานเรื่องนี้ค่ะ และวิธีการพูดที่น่ารักในสำเนียงมิยาซากิโดยใช้คำพูดเช่น "~cho", "~cha", และ "chawa~" ก็ได้กลายเป็นหัวข้อการสนทนาไปด้วยค่ะ อนึ่ง คำพูดที่ใช้ "~cho" และ "~cha" ที่ปรากฏในละครมีดังนี้:

  • 顔赤いっちゃない? (kao-akaicchanai / คาโอะอะไคชาไน)- หน้าแดงใช่ไหม?
  • 寝不足でやべっちゃわ (Nebusoku-de-yabecchawa / เนะบุโซคุเดะยาเบชชาวะ)‐ เหนื่อยจากการนอนไม่พอ
  • 心配で戻ってきたっちゃが (Shinpai-de-modottekitacchaga / ชิมไปเดะโมดตเตะคิตัชชาวะ)- กลับมาเพราะเป็นห่วงน่ะ
  • なんじゃったっちゃろね? (Nanjatta-ccharone / นันจัตตัชชาโรเนะ)- มันคืออะไรนะ?

ในทางกลับกัน "~cha" ถูกใช้กับประโยคเชิงบอกเล่า คล้ายกับ "desu" หรือ "shite iru" และ "chawa" ถูกใช้เมื่ออยากยืนยันหรือถามคำถามกับอีกฝ่าย คล้ายกับ "nano?" หรือ "shitan da yone?"

นอกจากนี้คำเช่น "makotsu", "makotsuya", และ "tege" ยังมักจะปรากฏในการสนทนาของชาวจังหวัดค่ะ

まこつ (makotsu)/まこつや (makotsuya) - จริง

  • (ประโยคตัวอย่าง) まこつ?(Makotsu? / มาคตสึ?)
  • (ความหมาย) จริงหรือ?

てげ (tege) - มาก, ค่อนข้าง

  • (ประโยคตัวอย่าง) てげ、好きやっちゃわ~ (Tege, suki yacchawa~ / เทเกะ สุคิยัชชาวา)
  • (ความหมาย) ชอบมาก

สนใจลองเรียนรู้คำภาษาถิ่นที่ฟังดูน่ารักและเป็นที่นิยมของมิยาซากิ แล้วใช้มันในระหว่างการเที่ยวดูมั้ยคะ?

※ ตำนานญี่ปุ่นเล่าถึงเรื่องราวของเทวีสุริยา อามาเทราสุโอมิคามิ ที่ได้ซ่อนตัวเองในถ้ำหินสวรรค์ (อามาโนะอิวาโตะ) และถูกล่อออกมาโดย อาเมโนะอุซึเมโนมิโคโตะ และเทพเจ้าองค์อื่นๆ โดยอุบายบางอย่าง ซึ่งทำให้แสงสว่างกลับคืนสู่โลกอีกครั้ง ในอำเภอทาคาจิโฮ จังหวัดมิยาซากิ มีศาลเจ้าอามาโนะอิวาโต ที่มี "ถ้ำหินสวรรค์" ที่ว่าประดิษฐานอยู่ด้วย

ชาวจังหวัดมิยาซากิเป็นคนที่ผ่อนคลายที่สุดในญี่ปุ่น! แข่งกับโอกินาว่า "ช่วงเวลาฮิวกะ"

Kyushu Miyazaki

ความรู้สึกเกี่ยวกับเวลาที่ออกไปทางผ่อนคลายในหมู่ชาวโอกินาว่านั้นถูกเรียกว่า "ช่วงเวลาโอกินาว่า" หรือ "ช่วงเวลาอุจิน่า" ในแง่เดียวกันนั้นเอง ในมิยาซากิก็มีคำที่เรียกว่า "ช่วงเวลาฮิวกะ" (日向時間 / Hyuga Jikan) ค่ะ ฮิวกะเป็นชื่อเก่าของภูมิภาคทางใต้ของคิวชู ซึ่งรวมถึงจังหวัดมิยาซากิในปัจจุบันค่ะ

คำนี้แทนความรู้สึกที่ผ่อนคลายเกี่ยวกับเวลาและลักษณะของชาวมิยาซากิค่ะ ตามโพสต์บนโซเชียลมีเดียโดยสำนักประชาสัมพันธ์อำเภอมิยาซากิ มันคือคำที่แทนลักษณะของจังหวัด ที่จะดีจะร้ายก็ถือเป็นเรื่องปกติที่จะไปจุดนัดพบกันประมาณ 30 นาทีหลังจากเลยเวลาที่นัดไว้ค่ะ

ในความเป็นจริงแล้ว ชาวมิยาซากิที่ได้รับสภาพอากาศที่ดี วิวทะเลที่งดงาม อาหารทะเล และไก่ท้องถิ่น โดยทั่วไปแล้วเป็นคนที่ใจกว้าง ลักษณะเฉพาะของมิยาซากิคือมีคนที่มีบรรยากาศที่สดใสและมีความสนุกสนานอยู่มากมายค่ะ

ในมิยาซากิมีคำว่า "อิโมะการะโบคุโตะ" (いもがらぼくと / Imogarabokuto) ซึ่งหมายถึงคนที่เชื่อคนง่าย คำนี้มาจากคำว่า "โบคุโตะ" (木刀 / bokuto) หรือดาบไม้ ที่ทำจากลำต้นของ "อิโมะการะ" หรือต้นเผือก ซึ่งหมายความว่า "ภายนอกดูดีแต่ภายในว่างเปล่า" และได้กลายเป็นสำนวนที่แทนภาพลักษณ์ของผู้ชายในมิยาซากิค่ะ

ในญี่ปุ่น คำว่า "คิวชูดันจิ" (九州男児 / Kyushu Danji) มักชวนให้นึกถึงภาพของผู้นำที่แข็งแกร่ง คนที่เป็น "หัวหน้าครอบครัว" "หัวรั้นและแน่วแน่" "กล้าหาญ" และ "เต็มไปด้วยแรงผลักดัน" แต่อย่างไรก็ตาม ลักษณะนิสัยของผู้ชายชาวมิยาซากิกลับตรงกันข้ามค่ะ หลายคนมักจะเลือกที่จะปล่อยตัวไปตามกระแสมากกว่าที่จะเริ่มต้นอะไรด้วยตัวเองค่ะ

หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend