ญี่ปุ่นมีทั้งหมด 47 จังหวัด
เช่นเดียวกับที่ภูมิทัศน์เมือง กิจกรรม และของอร่อยก็แตกต่างกันไปตามภูมิภาค ลักษณะจำเพาะของคนในท้องถิ่นก็แตกต่างกันไป ในซีรี่ส์นี้ เราจะเจาะลึกถึงสถานการณ์ในท้องถิ่นของแต่ละจังหวัดโดยแนะนำเสน่ห์ของแต่ละจังหวัดและสิ่งที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาให้ทราบกันค่ะ
ครั้งนี้เราจะโฟกัสไปกันที่จังหวัดนีงาตะซึ่งมีพรมแดนติดกับทะเลญี่ปุ่นค่ะ นีงาตะเป็นที่รู้จักจากการแสดงดอกไม้ไฟในเทศกาลนางาโอกะในฤดูร้อน หิมะตกในฤดูหนาว คาเฟ่คามาคุระในอำเภอโทกามาจิ และการท่องเที่ยวเชิงการเล่นสกีอย่างลานสกียุซาว่าโคเก็นและลานสกีนาเอบะค่ะ
นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงในด้านสาเกญี่ปุ่นเพราะจังหวัดนี้ยังเป็นหนึ่งในแหล่งผลิตข้าวที่ดีที่สุดในญี่ปุ่นด้วยนั่นเองค่ะ มาเรียนรู้เกี่ยวกับจังหวัดนีงาตะไปด้วยกันนะคะ
จังหวัดนีงาตะอยู่ในภูมิภาคคันโต โคชินเอ็ตสึ ชูบุ หรือโฮคุริคุกันแน่? แม้แต่ชาวจังหวัดเองก็คลุมเครือว่านีงาตะอยู่ในภูมิภาคใด
แต่ละจังหวัดในญี่ปุ่นจะถูกแบ่งให้อยู่ในภูมิภาคคันโต คันไซ ชิโกกุ คิวชู ฯลฯ อย่างไรก็ตาม สำหรับบางจังหวัด เป็นเรื่องยากที่จะตอบได้ทันทีเมื่อถูกถามว่าเป็น "ภูมิภาค○○" ใช่มั้ย และจังหวัดนีงาตะก็เป็นตัวอย่างอันดับต้น ๆ ค่ะ!
จังหวัดนีงาตะมักถูกนับเป็น "ภูมิภาคชูบุ" ในตำราเรียนของญี่ปุ่น นั่นก็คือในกรณีที่ญี่ปุ่นแบ่งออกเป็น 7 ภูมิภาค (คิวชู ชูโกคุ & ชิโกกุ คินกิ ชูบุ คันโต โทโฮคุ และฮอกไกโด)
อย่างไรก็ตาม บริษัทพลังงานไฟฟ้าของจังหวัดนีงาตะคือ Tohoku Electric Power ส่วนบริษัทก๊าซหลักของจังหวัดคือ Hokuriku Gas นอกจากนี้ นีงาตะยังถูกจัดอยู่ในประเภท "คันโตโคชินเอ็ตสึ" ในการพยากรณ์อากาศของสถานีโทรทัศน์สาธารณะ NHK ด้วยเหตุนี้ แม้แต่ในหมู่ชาวจังหวัดเองก็ยังมีความเห็นแตกแยกว่านีงาตะอยู่ในภูมิภาค ○○ หรือไม่ และก็มักจะมีผู้คนที่เรียกร้องถามหาความรักที่มีต่อบ้านเกิดของตน โดยกล่าวว่า "นีงาตะไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในภูมิภาค ○○ นีงาตะก็คือนีงาตะ!"
อนึ่ง ส่วนราชการจังหวัดนีงาตะได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า "ไม่มีการจำแนกภูมิภาคอย่างเป็นทางการจากทางจังหวัด" เมื่อถูกสัมภาษณ์โดยสื่อต่าง ๆ เมื่อถูกถามว่า "นีงาตะอยู่ในภูมิภาค ○○ ใช่หรือไม่" เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของจังหวัดนีงาตะคือไม่สามารถจัดเป็นภูมิภาค ○○ เฉพาะใด ๆ ได้อีกต่อไปนั่นเองค่ะ
นีงาตะเป็นแนวยาวในแนวเหนือ-ใต้ เพราะมีท่าเรือนีงาตะ จังหวัดนี้จึงมีประวัติศาสตร์อันยาวนานในการเชื่อมต่อกับภูมิภาคต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมนีงาตะในปัจจุบันได้รับการหล่อเลี้ยงผ่านการติดต่อกับจังหวัดและภูมิภาคต่าง ๆ เนื่องจากไม่มีการจำกัดขอบเขตของภูมิภาคค่ะ
ชาวนีงาตะเบี่ยงเบนเข้าหาโตเกียวอย่างมาก! ทัวร์รถบัสด่วนระหว่างโตเกียวและนีงาตะก็เป็นที่นิยมเช่นกัน
บางครั้งจังหวัดนีงาตะก็ถูกจัดให้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคคันโตโคชินเอ็ตสึ ในความเป็นจริงแล้ว คุณรู้หรือไม่ว่าชาวนีงาตะมีความเบี่บงเบนเข้าหาโตเกียวอย่างน่าประหลาดใจมากค่ะ
HIKAKIN หนึ่งในยูทูปเบอร์อันดับต้น ๆ ของญี่ปุ่นก็มาจากจังหวัดนีงาตะ นอกจากนี้ยังมีดาราชื่อดังมากมาย เช่น เคน วาตานาเบะ และ ซาจิโกะ โคบายาชิ ที่ย้ายจากจังหวัดนีง่ตะมายังโตเกียวค่ะ
ตั้งแต่ปี 2011 ถึง 2019 Yoshinogawa ผู้ผลิตสาเกในอำเภอนางาโอกะ จังหวัดนีงาตะ ได้เผยแพร่โฆษณาชุดหนึ่งชื่อ "Tokyo Niigata Story" บนรถไฟชินคันเซ็นสายโจเอ็ตสึ โฆษณาได้รับการพัฒนาให้นำเสนอผู้หญิง 4 คนจากนีงาตะที่ย้ายมาโตเกียวพร้อมรูปถ่ายที่น่าประทับใจและสโลแกนที่แสดงความรู้สึกของพวกเขา
เหตุใดการย้ายไปโตเกียวจึงเป็นที่นิยมในหมู่ชาวนีงาตะ? นั่นก็เป็นเพราะคุณสามารถเดินทางระหว่างนีงาตะและโตเกียวได้ในเวลาอันสั้นค่ะ เพียงประมาณ 2 ชั่วโมงด้วยรถไฟชินคันเซ็นสายโจเอ็ตสึ รถบัสทางด่วนงและรถบัสรอบดึก (ข้ามคืน) วิ่งระหว่างนีงาตะและโตเกียว ด้วยราคาตั้งแต่ 2,000 เยนถึง 3,000 เยน ซึ่งถูกกว่าชินคันเซ็นมาก ชาวจังหวัดจึงสามารถเดินทางไปโตเกียวได้อย่างง่ายดายค่ะ
ลูกแพร์ เอดามาเมะ เมล็ดลูกพลับ... นีงาตะเป็นอาณาจักรของอร่อยที่คาดไม่ถึงที่ไม่ใช่แค่ข้าวโคชิฮิการิของอุโอนุมะเท่านั้น!
เมื่อพูดถึงจังหวัดนีงาตะ ที่นี่ขึ้นชื่อเรื่องข้าวยี่ห้อดังทั่วประเทศอย่างโคชิฮิคาริ อย่างไรก็ตาม นีงาตะมีอาหารอร่อยอื่น ๆ อีกมากมายนอกเหนือจากข้าว เช่น ลูกแพร์ Le Lectier และถั่วแระญี่ปุ่นเอดามาเมะ ซึ่งมีปริมาณการผลิตสูงที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น! ในส่วนนี้ เราจะแนะนำผลิตภัณฑ์พิเศษที่ซ่อนอยู่ของนีงาตะค่ะ!
ลูกแพร์มายา Le Lectier – สายพันธุ์หายากที่เคยเป็นความลับที่ห้ามนำออกนอกจังหวัดนีงาตะ!?
เหนือสุดของรายการผลิตภัณฑ์พิเศษที่ซ่อนอยู่ของจังหวัดนีงาตะก็คือลูกแพร์ "Le Lectier" ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นลูกแพร์มายาค่ะ
Le Lectier เป็นที่รู้จักในชื่อ "ลูกแพร์มายา" หรือ "幻の梨" (Maboroshii no Nashi - Phantom Pear) เนื่องจากรสชาติที่อร่อย ได้รับการยกย่องว่าเป็น "สตรีผู้สูงศักดิ์แห่งลูกแพร์ตะวันตก" และมีปริมาณการผลิตที่ต่ำและมูลค่าความหายากสูง
เดิมทีมีการสั่งกล้าไม้จากฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1903 และนำมาปลูก แต่เนื่องจากความยากในการเพาะปลูกจึงไม่กระจายไปทั่วประเทศนัก ว่ากันว่ามีเพียงเกษตรกรผู้ปลูกลูกแพร์ในจังหวัดนีงาตะเท่านั้นที่ทำการเพาะปลูกด้วยต้นแพร์เหล่านี้ด้วยตัวเองค่ะ
ปัจจุบันมีการผลิตนอกนีงาตะแล้วด้วย และถึงแม้ว่าปริมาณการผลิตจะเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังหายากและไม่มีจำหน่ายเป็นจำนวนมากค่ะ จึงถูกขนานนามว่า "ลูกแพร์มายา"
ลูกแพร์แต่ละลูกมีน้ำหนักระหว่าง 300 ถึง 450 กรัม ซึ่งใหญ่กว่าพันธุ์ลาฟรานซ์ประมาณหนึ่งไซส์ มีความโดดเด่นที่กลิ่นหอมเข้มข้น ความหวานเข้มข้น และเนื้อสัมผัสที่ละเอียดค่ะ
จังหวัดนีงาตะเป็น "จังหวัดเอดามาเมะ" ชั้นนำของญี่ปุ่น! อันดับ 1 ในญี่ปุ่นทั้งในด้านพื้นที่ปลูกและการบริโภค
ผลัตภัณฑ์พิเศษอีกอย่างของนีงาตะคือถั่วแระญี่ปุ่นหรือเอดามาเมะนั่นเองค่ะ ในฐานะที่เป็น "จังหวัดเอดามาเมะ" ชั้นนำของญี่ปุ่น พื้นที่ปลูกเอดามาเมะในจังหวัดนีงาตะจึงเป็นอันดับหนึ่งในญี่ปุ่นค่ะ
อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลบางอย่าง ปริมาณการจัดส่งนั้นอยู่แค่ที่อันดับ 7 ของประเทศ (*จากสถิติการผลิตและการจัดส่งผักของกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง ปี 2020)
สาเหตุที่มีความแตกต่างในการจัดอันดับก็คือเอดามาเมะท้องถิ่นนั้นอร่อยมาก แม้ว่าชาวจังหวัดนีงาตะจะผลิตเอดามาเมะเป็นจำนวนมาก แต่ก็นิยมรับประทานกับครอบครัวและคนรู้จักกันเองแทนที่จะส่งออกขายทั้งหมดค่ะ
ในบรรดาเมืองใหญ่ที่ได้รับการกำหนดโดยกฎหมาย อำเภอนีงาตะเป็นผู้ซื้อเอดามาเมะรายใหญ่ที่สุด และเป็นเรื่องปกติที่ชาวนีงาตะจะรับประทานเอดามาเมะจำนวนมากในกระชอนไม้ขนาดใหญ่ค่ะ
ในจังหวัดนีงาตะมีเอดามาเมะหลากหลายชนิด จำหน่ายตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม แต่รสชาติก็ยังแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเมื่อเปรียบเทียบกัน หากคุณมีโอกาสเยี่ยมชมนีงาตะเพื่อการท่องเที่ยว ไปลองถั่วแระญี่ปุ่นอาเดามาเมะของนีงาตะที่ร้านอิซากายะเพื่อลองลิ้มชิมรสด้วยตัวคุณเองดูก็ดีนะคะ
Comments