ซีรีส์อาหารท้องถิ่นทำเองในครั้งนี้คือ ซุยต้ง (すいとん หรือ 水団 / suiton) อาหารท้องถิ่นของจังหวัดโทจิงิค่ะ คุณอาจคิดว่าในประเทศไทยก็มีอาหารที่คล้าย ๆ กับซุปใส่ดังโงะนี้ แต่สิ่งที่ทำให้อาหารท้องถิ่นนี้มีเอกลักษณ์คือใช้เครื่องปรุงรสแบบญี่ปุ่น 'มิโสะ' และ 'ดาชิ' นั่นเองค่ะ มาเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติของซุยต้งกันในบทความนี้ และลองใช้สูตรในบทความนี้ทำซุยต้งที่กินกันในบ้านของชาวญี่ปุ่นมาช้านานดูนะคะ
อาหารท้องถิ่นของญี่ปุ่น คืออะไร?
อาหารท้องถิ่น (郷土料理 / Kyodo-ryori) เป็นอาหารที่ผู้คนบริโภคกันในพื้นที่มานานนับแรมปี มักทำจากผลิตภัณฑ์ของแต่ละภูมิภาคโดยใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ทำให้เหมาะสมกับสภาพอากาศของพื้นที่นั้น ๆ ค่ะ นอกจากนี้ยังเป็นอาหารประจำวันของคนญี่ปุ่นและเป็นที่นิยมในหมู่คนญี่ปุ่นที่ออกทริปชิมอาหารภายในประเทศด้วยค่ะ
ประวัติความเป็นมาของซุยต้ง
ชื่อของซุยต้งนั้น มาจากการออกเสียงภาษาจีนของ '飩' และ '団' ซึ่งออกเสียงว่า "ทง" แต่เดิมเรียกว่า 'อุนตง' (饂飩 / Unton) ทำขึ้นโดยนวดถั่วกวนลงในแป้งสาลีแล้วทอด อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไปก็เปลี่ยนเป็นแบบที่นวดแป้งสาลีอย่างเดียว ดูเหมือนว่าจะเริ่มหันมานวดแป้งแล้วยืดเป็นเส้น (饂飩 เปลี่ยนมาอ่านว่าอุด้ง) แล้วรับประทานกันในสมัยมุโรมาจิ และในสมัยคามาคุระผู้คนเริ่มฉีกแป้งที่นวดแล้วใส่ในซุปโดยตรง ว่ากันว่ามันถูกเรียกว่าซุยต้ง (水団 หรือ 水飩) เพราะเป็นแป้งเกี๊ยว (団 / ตัน) ที่ใส่ในซุป (水 / ซุย) นั่นเองค่ะ
ในอดีตตามพื้นที่ที่มีนาข้าวน้อย ซุยต้งก็เป็นอาหารที่ทำกินเองที่บ้านทุกวันเพื่อชดเชยข้าวที่ขาดแคลน และมี 'ซุยต้ง' เฉพาะในแต่ละภูมิภาคทั่วประเทศและมีชื่อเรียกต่าง ๆ กันไปค่ะ
ในอดีตพื้นที่นิชินาสุโนะของอำเภอนาสุชิโอบาระในจังหวัดโทจิงิ เรียกกันว่า 'บัตโตจิรุ' (ばっとう汁 / Batto-jiru) และในอดีตพื้นที่บาโตของอำเภอนาคากาวะ เรียกกันว่า 'ฮัตโตจิรุ' (はっとう汁 / Hatto-jiru) และว่ากันว่าเป็นสำเนียงท้องถิ่นของคำว่า '法度汁' ที่ที่ที่เรียกกันว่า 'ดังโกะจิรุ' (だんご汁 / Dangojiru) ได้แก่อดีตพื้นที่คามิคาวาจิของอำเภออุทสึโนะมิยะ อดีตพื้นที่คุริยามะของอำเภอนิกโก้ อดีตพื้นที่นิชินาสุโนะของอำเภอนาสุชิโอบาระ ฯลฯ ในขณะที่พื้นที่คุซูของอำเภอซาโนะ มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า 'ทตจะนางิ' (とっちゃなぎ / Tocchanagi) เนื่องจากแป้งเกี๊ยวนั้นจะใช้มือหยิบและฟาดลงเพื่อนวดค่ะ (การหยิบคือ とる / Toru / โทรุ การปาคือ 投げる / Nageru นาเกรุ เมื่อรวมกันในสำเนียงท้องถิ่นก็กลายเป็น ทตจะนางิ)
เนื่องจากมีส่วนผสมมากมายและไม่ต้องการเครื่องเคียง จึงนิยมทำในเวลาที่ไม่มีเวลาว่างหรือเมื่อมีข้าวไม่พอ และเป็นอาหารที่นิยมทำกินเองที่บ้านแม้กระทั่งในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูหนาว มีโอกาสมากมายที่จะทำเพราะมันช่วยให้ร่างกายอบอุ่น และอาจใช้แป้งข้าวเจ้านอกเหนือจากแป้งสาลีขึ้นอยู่กับฤดูกาล ผักที่ใช้อาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับฤดูกาลได้ด้วยค่ะ
ส่วนผสมสำหรับซุยต้ง (สำหรับ 2 ที่)
- มันฝรั่ง 120 กรัม หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ
- แครอท 70 กรัม หั่นเป็นเสี้ยว
- หัวหอม 100 กรัม (ประมาณ 1 หัว) ฝานบาง ๆ ตามยาว
- รากหญ้าเจ้าชู้ 50 กรัม หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วแช่น้ำเพื่อเอาสิ่งสกปรกออก
- เห็ดหอมชีตาเกะ 2-3 ดอก เอาก้านออกแล้วฝานบางๆ
- ต้นหอม 50 กรัม หั่นตามขวาง
- มิโสะ 50 กรัม
- เต้าหู้ทอด 1ห่อ
- น้ำซุปดาชิ 6-7 ถ้วยตวง
【เกี๊ยว/ซุยต้ง】
- แป้งสาลี 200 กรัม
- ไข่ 1 ฟอง
- น้ำ 150 มิลลิลิตร
- เกลือ 1/2 ช้อนชา
*สามารถเพิ่มหมูสามชั้นหั่นบาง ๆ หรือเนื้อไก่ได้ตามชอบ
วิธีการทำซุยต้ง
- ใส่น้ำซุปดาชิลงในหม้อใบใหญ่ และเมื่อน้ำเดือด ให้ใส่ผักที่เตรียมทั้งหมดยกเว้นต้นหอม และต้มจนนิ่มประมาณ 80%
- ทำเกี๊ยวซุยต้ง: ตอกไข่ใส่ชาม เติมน้ำและเกลือแล้วผสมเพื่อทำส่วนผสมของไข่ ร่อนแป้งลงในชามอีกใบ คนด้วยไม้พายในขณะที่ค่อย ๆ ใส่ส่วนผสมของไข่เพื่อให้แป้งเกี๊ยวนุ่ม
- ละลายมิโสะลงในหม้อในขั้นตอนที่ ① ขณะที่หม้อยังตั้งไฟอยู่ ใช้ช้อนตักแป้งซุยต้งขนาดพอดีคำแล้วหย่อนลงในซุปในหม้อ เมื่อเกี๊ยวลอยขึ้น ใส่ต้นหอมและเสิร์ฟในชาม
Comments