ถึงแม้ว่าในประเทศไทยก็มีข้าวแดงที่ถ้าหุงข้าวธรรมดาแล้วข้าวเกิดเป็นสีแดงขึ้นเองจะเป็นลางไม่ดี แต่ตามบ้านญี่ปุ่นนั้น ข้าวแดงที่ตั้งใจหุงขึ้นซึ่งเรียกกันว่าโอเซกิฮัง (お赤飯 / O-Sekihan) นั้นจะเสิร์ฟบนโต๊ะในวาระแห่งการเฉลิมฉลองพิเศษค่ะ เหตุผลก็คือเชื่อกันว่าสีแดงนั้นมีพลังขับไล่สิ่งชั่วร้ายและนำพามาซึ่งโชคลาภ อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ โอเซกิฮังส่วนใหญ่นิยมรับประทานกันตามความเชื่อมากกว่าค่ะ
ในบทความนี้ เราจะมาแนะนำประวัติของโอเซกิฮังและประเภทของการเฉลิมฉลองที่เสิร์ฟโอเซกิฮังกันค่ะ
ในตอนท้ายของบทความ เรามีคลิปวิดีโอวิธีทำโอเซกิฮังโดยใช้หม้อหุงข้าวทั่วไปด้วยค่ะ ดังนั้นอ่านบทความให้ถึงตอนท้ายกันนะคะ ♪
เกี่ยวกับโอเซกิฮัง
ประวัติและที่มาของโอเซกิฮัง
โอเซกิฮังคือข้าวที่หุงโดยใช้ข้าวเหนียวญี่ปุ่น (もち米 / Mochikome) ถั่วแดงอะซุกิ (小豆 / Azuki) และน้ำต้มถั่วอะซุกิ เมื่อข้าวสุกจะเรียกว่า "โอเซกิฮัง" เพราะข้าวจะถูกย้อมด้วยสีแดงของถั่วอะซูกิค่ะ
ปัจจุบันส่วนผสมของข้าวแดงคือข้าวเหนียวและถั่วแดงอะซุกิ แต่สมัยก่อนมีการใช้ข้าวแดงด้วย ข้าวแดงคือข้าว (พันธุ์ Indica rice) ที่นำเข้าจากจีนแผ่นดินใหญ่มาสู่ญี่ปุ่นในสมัยโจมง และเมื่อหุงแล้วจะกลายเป็นสีเหมือนโอเซกิฮัง อาหารที่เป็นต้นแบบของโอเซกิฮังปรากฏในหนังสือว่า "อาซุกิกายุ" (小豆粥 โจ๊กถั่วแดง) ได้ปรากฎขึ้นใน "The Pillow Book" (枕草子) ที่ถูกประพันธุ์ขึ้นช่วงกลางสมัยเฮอัน (ค.ศ. 794 ค.ศ. 1185) ในสมัยมุโรมาจิ (ค.ศ. 1333 – ค.ศ. 1573) โอเซกิฮังก็ถูกรับประทานในวาระแห่งการเฉลิมฉลองต่าง ๆ ในช่วงครึ่งหลังของสมัยเอโดะ (ค.ศ. 1615 – ค.ศ. 1868) ก็เริ่มเป็นที่แพร่หลายบนโต๊ะอาหารของสามัญชนในวันที่มีความสุขค่ะ
ทำไมถึงกินโอเซกิฮังในวาระแห่งการเฉลิมฉลอง?
ในญี่ปุ่นเชื่อกันมานานแล้วว่าสีแดงมีพลังในการขจัดความชั่วร้ายและหลีกเลี่ยงภัยพิบัติ นอกจากนี้ เนื่องจากข้าวเป็นอาหารชั้นสูง ว่ากันว่าเคยมีธรรมเนียมในการหุงและถวายโอเซกิฮังให้แด่เทพเจ้ากันด้วย นอกจากนี้ยังมีธรรมเนียมการกินโอเซกิฮังเพื่อ "แก้เคล็ด" ให้โชคดีขึ้นหลังเจอเรื่องแย่ ๆ มา ในปัจจุบันก็เป็นเรื่องปกติที่จะกินโอเซกิฮังในการฉลองอะไรบางอย่าง กับเป็นการกินตามความเชื่อเฉย ๆ เป็นหลักค่ะ
โอเซกิฮังมักถูกกินในวาระเฉลิมฉลองและอวยพรดังต่อไปนี้
- Obi-iwai (帯祝い): พิธีกรรมรัดสายคาดเอวโอบีเพื่อขอให้ทารกในครรภ์เติบโตอย่างปลอดภัย จัดขึ้นในเดือนที่ 5 ของการตั้งครรภ์
- Shussan-iwai (出産祝い: อวยพรการคลอด) และ Tanjo-iwai (誕生祝い: อวยพรวันเกิด)
- Hatsu-zekku (初節句: "Sekku" ครั้งแรกหลังจากที่ทารกเกิด * "Sekku" หมายถึง "วันเปลี่ยนฤดูกาล")
- O-Kuizome (お食い初め: พิธีกรรมที่ดำเนินการในวันที่ 100 หลังคลอดของทารกเพื่ออวยพรให้ "ไม่มีปัญหาเรื่องการกินตลอดชีวิต")
- Shichigosan (七五三: การเฉลิมฉลองตามประเพณีที่จัดขึ้นในวันที่ 15 พฤศจิกายนสำหรับเด็กชายอายุ 3 และ 5 ปีและเด็กหญิงอายุ 3 และ 7 ปี)
- การฉลองพิธีปฐมนิเทศน์มหาวิทยาลัย การสำเร็จการศึกษา การได้งานทำ พิธีบรรลุนิติภาวะ ฯลฯ
- Joto-shiki no Iwai (上棟式の祝い: งานฉลองพิธียกอกไก่ Joto (上棟) คือการยกไม้ที่เรียกว่า "มูนากิ" (棟木: อกไก่) ไปติดตั้งที่ตำแหน่งสูงสุดของหลังคาเมื่อสร้างอาคาร Joto-shiki no Iwai เป็นพิธีรายงานความสำเร็จจนถึงการยกอกไก่และเพื่อขอบคุณเทพเจ้า และสวดภาวนาเพื่อความปลอดภัยของอาคารจนกว้าจะสร้างเสร็จและเพื่อให้อาคารยืนหยัดเป็นเวลานานหลังงานเสร็จ)
- Kanreki-iwai (還暦祝い: ฉลองวันเกิดครบรอบ 60 ปี)
- Koki-iwai (古稀祝い: ฉลองวันเกิดครบรอบ 70 ปี)
- Kiju-iwai (喜寿祝い: ฉลองวันเกิดครบรอบ 77 ปี)
- Beiju-iwai (米寿祝い: ฉลองวันเกิดครบรอบ 88 ปี)
- Hakuju-iwai (白寿祝い: ฉลองวันเกิดครบรอบ 99 ปี) และอื่นๆ
สูตรโอเซกิฮังพร้อมวิธีทำ (มีวิดีโอ)
คราวนี้เราจะมาแนะนำวิธีทำโอเซกิฮังแบบง่ายๆ โดยใช้หม้อหุงข้าวกันค่ะ
ส่วนผสมสำหรับโอเซกิฮัง (สำหรับ 4 ที่)
- ข้าวเหนียว... 2.5 ถ้วย
- ถั่วพุ่มหรือถั่วแดงอาซุกิ ... 50 ก.
เครื่องปรุง (A)
- เหล้า ... 1 ช้อนโต๊ะ
- เกลือ ... 1 ช้อนชา
★ คุณสามารถโรยงาดำและเกลือเล็กน้อยเพื่อเป็นเครื่องปรุงรสเวลากิน ➞ เกลืองาดำตามซูเปอร์มาร์เก็ตญี่ปุ่นหรือร้าน 100 เยนก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน
วิธีทำโอเซกิฮัง (สำหรับ 4 ที่)
1. การเตรียมถั่วพุ่ม (หรือถั่วแดงอะซุกิ)
- ขั้นแรก ล้างถั่วพุ่ม 50 กรัม แล้วสะเด็ดน้ำออก ใส่หม้อ เติมน้ำ 400 มล. แล้วตั้งไฟปานกลาง
- เมื่อเดือด ให้ลดความร้อนลงเหลือต่ำสุดแล้วต้มถั่วพุ่มเป็นเวลา 20 นาที (ถึงแม้น้ำจะเดือดจนหกออกจากหม้อก็ไม่จำเป็นต้องเติมน้ำเพิ่ม)
- หลังครบ 20 นาที ให้ลองกินเมล็ดถั่วหนึ่งเมล็ดและดูว่าสุกจนได้ที่หรือยัง (หากยังไม่สุกดี ให้ต้มต่ออีกสองสามนาทีพร้อมคอยดูว่าเป็นยังไงเป็นระยะ ๆ)
- หากสุกแล้ว ให้ยกหม้อออกจากเตา ปล่อยให้เย็น ช่วงที่ถั่วเย็นลงจนเท่ากับอุณหภูมิของผิวหนังมนุษย์ก็จะมีการถ่ายจากความร้อนภายในเล็กน้อยและถั่วก็จะพองฟู
2. การทำข้าวเหนียวในโอเซกิ
- ขณะต้มถั่วพุ่ม ให้ซาวข้าวเหนียวเล็กน้อยแล้วปล่อยให้อิ่มน้ำ (ประมาณ 30 นาที จนกว่าจะข้าวจะอิ่มน้ำ)
- เมื่อน้ำที่ต้มถั่วในขั้นตอนที่ ➀ เย็นลงและข้าวเหนียวอิ่มน้ำแล้ว ให้ใช้กระชอนตักข้าวเหนียวเพื่อสะเด็ดน้ำ นำข้าวเหนียวไปใส่ในหม้อหุงข้าว แล้วเทน้ำที่ต้มถั่วทั้งหมดลงไป (* เนื่องจากจะมีการใส่ถั่วลันเตาหลังจากปรับปริมาณน้ำเสร็จแล้ว ในขั้นตอนนี้ให้เติมเฉพาะน้ำที่ใช้ต้มถั่วเท่านั้น อย่าใส่ถั่วลงไปด้วย!)
- หลังจากใส่น้ำต้มถั่วพุ่มจนหมด ให้เติมเหล้า 1 ช้อนโต๊ะจากเครื่องปรุง (A) ก่อน แล้วเติมน้ำให้ได้ระดับเหมาะกับข้าว 2.5 ถ้วย (หากหม้อหุงข้าวมีคอร์สหุงพิเศษ โปรดใช้มาตราส่วนของคอร์สหุงเป็นข้อมูลอ้างอิง)
- หลังจากปรับปริมาณน้ำแล้ว ให้เติมเกลือ 1 ช้อนชาจากเครื่องปรุง (A) แล้วผสมให้เข้ากัน
- สุดท้าย โรยถั่วพุ่มที่ด้านบน เกลี่ยให้ทั่วถึงแล้วใส่หม้อลงในเครื่องหม้อหุงข้าว
3. หุงโอเซกิฮังด้วยหม้อหุงข้าว
- หลังจากใส่หม้อลงในหม้อหุงข้าวแล้ว ให้กดปุ่มสตาร์ทของหม้อหุงข้าว (ถ้าหม้อหุงข้าวมีคอร์ส Okowa สำหรับการหุงข้าวพร้อมวัตถุดิบอย่างอื่น ก็ให้เลือกคอร์สดังกล่าว)
- เมื่อโอเซกิฮังแล้ว คลุกของในหม้อทั้งหมดจากด้านล่างผสมกันก็เป็นอันเสร็จ เวลากินก็ให้โรยงาดำหรือเกลือและพริกไทยที่ด้านบน!
โอเซกิฮังที่ทำง่ายกว่าหม้อหุงข้าว
คุณสามารถไปหาซื้อวัตถุดิบ เช่น ข้าวเหนียวและถั่วแดงอะซุกอ และนำมาทำที่บ้านเองได้ แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ คุณสามารถซื้อชุดวัตถุดิบโอเซกิฮังและโอเซกิฮังสำเร็จรูปที่ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านค้า 100 เยนได้อย่างง่ายดาย สามารถรับประทานได้ไม่เฉพาะในงานเฉลิมฉลองเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้เป็นอาหารค่ำ ข้าวปั้น และกล่องเบนโตะอีกด้วยค่ะ
Comments