ไหนๆ ก็มาเที่ยวแล้ว ตามใจตัวเองสักนิดคงไม่เป็นไรใช่ไหม?
ในบทความนี้ เราจะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับชาและการท่องเที่ยวด้วยรถไฟเคฮัง โดยเริ่มจากเมืองอุจิซึ่งขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองแห่งชา ไปจนถึงวัดเอ็นเรียคุจิบนภูเขาฮิเอซึ่งเป็นมรดกโลกค่ะ
แผนการเที่ยวในครั้งนี้เกิดจากความอยากใกล้ชิดกับชาโดยส่วนตัวค่ะ อย่าลืมติดตามจนถึงตอนสุดท้ายนะคะ
ออกเดินทางดำลึกลงไปในทะเลชากันค่ะ
* สัมผัสบรรยากาศของการเที่ยวออนไลน์ โดยชมวิดีโอที่ถ่ายทำจากสถานที่จริงพร้อมกับบทความนี้นะคะ
ลองกินใบชาครั้งแรกในชีวิตที่อุจิ แหล่งกำเนิดของชา
พอบอกว่าจะไปเที่ยวอุจิแล้ว เพื่อนก็ได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับอุทยานประวัติศาสตร์ชาและเมืองอุจิ (Ochatoujinomachi Historical Park) ซึ่งเพิ่งเปิดทำการในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564
เดินทางไปยังเมืองอุจิได้ใน 30 นาที โดยเปลี่ยนไปขึ้นรถไฟเคฮังที่สถานีโทฟุคุจิซึ่งอยู่ห่างจากสถานีเกียวโตเพียงสถานีเดียวเท่านั้น และยังอยู่ใกล้มากจนสามารถมองเห็นได้จากสถานีรถไฟเคฮัง! ในฐานะกองบรรณาธิการของ FUN! JAPAN จะพลาดไม่ได้ที่จะแวะไปเมื่อได้ยินว่าเพิ่งเปิดใหม่! เราจึงเดินทางไปเที่ยวพร้อมกับแวะเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ก่อนค่ะ
สถานที่นี้เผยแพร่ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวของเมืองนี้โดยผ่านนิทรรศการ สถานที่ทางประวัติศาสตร์ และกิจกรรมต่างๆ โดยเริ่มจากชาอุจิ ซึ่งเป็นชาแบรนด์หรูที่มีประวัติยาวนานกว่า 400 ปี นอกจากพิพิธภัณฑ์ที่แนะนำประวัติศาสตร์ของอุจิแล้ว ยังมีกิจกรรมกว่า 20 แบบ เช่น กิจกรรมการทำกระป๋องใส่ใบชาของตัวเอง และกิจกรรมการทำขนมชาอุจิที่จัดขึ้นทุกวันที่ศูนย์แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมชาและเมืองอุจิ "Chazuna" (ร่วมกิจกรรมหลายๆ อย่างก็ได้ค่ะ) ครั้งนี้จะรายงานเกี่ยวกับประสบการณ์การทำเกียวคุโระซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของอุจิที่ผู้เขียนได้เข้าร่วมค่ะ
เกียวคุโระ ถือว่าเป็นชาชั้นสูงที่สุดในบรรดาชาเขียวประเภทต่างๆ เมื่อใช้เครื่องปั้นดินเผาเคียวยากิควบคู่กับชาแล้ว ก็จะรู้สึกเหมือนของจริงมากขึ้น ถึงแม้จะเป็นเพียงกิจกรรมสัมผัสประสบการณ์ก็ตาม
เริ่มจากการใส่ใบชาครั้งแรกค่ะ ใส่ใบชาลงในกาน้ำ หลังจากนั้นใส่น้ำร้อนที่วางพักไว้จนอยู่ที่อุณหภูมิประมาณ 40 องศา แล้วรอ 3 นาที
หลังจากได้รับคำแนะนำจากครูว่า "อย่าให้ส่วนผสมละลายก่อนที่จะใส่ใบชาครั้งที่สอง" เราจึงเทชาออกมากจนถึงหยดสุดท้ายซึ่งว่ากันว่าเป็นส่วนที่อร่อยที่สุดค่ะ
หลังจากการชงครั้งที่สองและ ให้ชงโดยปรับอุณหภูมิของน้ำร้อนทีละน้อย การเพลินเพลิดไปกับการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของรสชาติและสีก็ถือว่าเป็นจุดสำคัญด้วยค่ะ ชาที่ทำเองยังไงก็อร่อยอยู่แล้ว! (บอกกับตัวเอง)
เมื่อชงชาครั้งที่ 4 ก็ใส่ข้าวกล้องลงในใบชาเป็น "ชาข้าวกล้อง" หลังจากนั้นก็โรยเกลือและงา และพอนสึลงบนใบชาและข้าวกล้องแล้วลองทานดูค่ะ รสชาติคล้ายผักโขม!?? ที่วางอยู่ข้างหลังนั้นเป็นขนมดังโงะรสชาของอุจิที่ได้ทานในวันที่ไปเที่ยวมาค่ะ เรียงลำดับจากจากสีเข้มน้อยไปมาก ได้แก่ รสเซนฉะ รสมัทฉะ และรสโฮจิฉะ
เครื่องดื่มเกียวคุโระบรรจุขวด ที่ผ่านการคิดค้นมากว่า 3 ปีกว่าจะได้เป็นเครื่องดื่มนี้ ได้ยินว่าวัฒนธรรมการชนแก้วด้วย "ทามะ อุสะงิ" กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในท้องถิ่นค่ะ
อุทยานประวัติศาสตร์ชาและเมืองอุจิ (Ochatoujinomachi Historical Park)
- ที่อยู่: 203-1 Maruyama, Todo, Uji City, Kyoto Prefecture
- เวลาทำการ: 09:00 - 17:00
- วันหยุดประจำ: เปิดตลอดทั้งปี (อาจปิดชั่วคราวเนื่องจากสภาพอากาศ การตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวก ฯลฯ)
- การเดินทาง: เดิน 4 นาทีจากสถานีเคฮังอุจิ
ตกใจกับมัทฉะซันไม "กิน" มัทฉะแทนการ "ดื่ม"
ไม่ใช่แค่ศูนย์แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมชาและเมืองอุจิ "Chazuna" เท่านั้นที่ทำให้คิดว่าจริงๆ แล้ว “ชาเป็นอาหาร”
ใช้เวลาเดินประมาณ 15 นาทีจากอุทยานประวัติศาสตร์ชาและเมืองอุจิ สามารถดื่มด่ำไปกับมัทฉะแบบฟูลคอร์สได้ที่ร้านทัตสึมิยะริมแม่น้ำอุจิ ซึ่งเหล่าสาวกชาเขียวจากทั่วโลกใฝ่ฝันที่จะมาเยือน ร้านนี้เปิดทำการมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปีค.ศ. 1840 ซึ่งถือว่าเป็นการรับประกันคุณภาพของร้านด้วย
สามารถลิ้มรสอาหารมัทฉะจากแนวคิดการ "กินชา" ที่ใช้เอกลักษณ์จากรสชาติของชาเขียวและอาหารตามฤดูกาล ซึ่งช่างฝีมือให้ความสำคัญกับการใช้ผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นได้ที่นี่ค่ะ หลังจากที่สั่งอาหารด้วยความอยากลองทานนู่นทานนี่ได้ไม่นาน เคียวเรียวริก็ถูกนำมาเสิร์ฟ โดยเริ่มจากเกลือและของหวาน ไปจนถึงเต้าหู้และโซบะ โดยเมนูทั้งหมดใช้อุจิมัทฉะเป็นทั้งตัวหลักและตัวประกอบ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากรสชาติของมัทฉะไม่เข้มข้นจนเกินไป และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ และรสชาติที่อ่อนโยนทำให้รับประทานได้ง่าย พอคิดว่าถ้าอยู่แถวๆ นี้ก็จะได้กินมัทฉะทุกวันแล้ว... ก็นึกอยากจะย้ายมาอยู่ที่อุจิเลยค่ะ
ทุกคอร์สเต็มไปด้วยความหรูหราโดยการใช้มัทฉะถึง 7 ที่ ถึงแม้จะใช้มัทฉะในเมนูทั้งหมดก็ตาม แต่เพราะมีการใช้การประยุกต์ต่างๆ จึงทำให้คอร์สสำหรับมื้อกลางวันกินกี่รอบก็ไม่เบื่อ อย่าลืมจองล่วงหน้านะคะ
งานเลี้ยงที่เต็มไปด้วยมัทฉะหลากหลายชนิดที่มีเทนฉะ (ใบชาที่เป็นวัตถุดิบสำหรับมัทฉะ) ชั้นเยี่ยมจากอุจิ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เทนฉะเป็นผงโรยได้อีกด้วย ถือว่าเป็นอาหารที่ใช้ได้อย่างหลากหลายจริงๆ เอาล่ะ คราวหน้าที่ทำอาหารจะต้องค้นหา "สูตรเทนฉะ" แล้ว
ห้ามพลาดเต้าหู้มัทฉะนั้นใช้มัทฉะถึง 2 ที่ค่ะ!!
มีให้เลือกกว่า 25 ชนิดซึ่งล้วนเต็มไปด้วยรสชาติของฤดูกาล ราวกับกำลังเพลิดเพลินกับฤดูกาลของญี่ปุ่นด้วยลิ้นของคุณ
คุณโซอิจิโร่ ฮิดาริ เจ้าของรุ่นที่ 8 ได้เล่าให้เราฟังว่า “เนื่องจากมัทฉะมีความละเอียดอ่อน จึงมีรสชาติที่แตกต่างกันไปตามอุณหภูมิและความชื้น ดังนั้นเราจึงใช้มัทฉะที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละคอร์ส”
ร้านทัตสึมิยะ
- ที่อยู่: 3-7 Uji Togawa, Uji City, Kyoto Prefecture
- เวลาทำการ:
- 11:00-15:30 [LO 14:30]
- 16:30-22:00 [LO 19:30] (ต้องจองล่วงหน้าสำหรับช่วงเย็น)
- วันหยุดประจำ: ไม่มีวันหยุดประจำ (มีวันหยุดยาวในช่วงปีใหม่, เดือนกุมภาพันธ์, กรกฎาคม, กันยายน และช่วงโลว์ซีซั่น)
- การเดินทาง: เดินประมาณ 12 นาทีจากสถานีเคฮังอุจิ
ได้เครื่องปั้นดินเผาที่ทำให้ชาอร่อยยิ่งขึ้นติดมือกลับไปด้วย
บริเวณใกล้เคียงกับแม่น้ำอุจิ เต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย เช่น วัดเบียวโดอิน วัดโจโดอิน ไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว เลยตัดสินใจขึ้นรถไฟช้าไป 1 รอบและแวะไปร้าน ASAHIYAKI shop & gallery ซึ่งรู้สึกสนใจมาตลอดตั้งแต่เห็นในนิตยสารค่ะ
เป้าหมายของเราคือเครื่องถ้วยอาซาฮีซึ่งเต็มไปด้วยความเป็นเกียวโต ซึ่งทำจากดินจากภูเขาอาซาฮีในอุจิ โดดเด่นด้วยสีอ่อนและราคาที่ไม่แพงค่ะ
ในบรรดาผลงานนั้น มีผลงานที่มีการไล่เฉดสีสวยงามต่างๆ มากาย ทำให้รู้สึกอยากหยิบขึ้นมาดู และเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับเป็นของฝากค่ะ เพียงแค่วางไว้ตกแต่งไว้ในบ้าน ก็รู้สึกว่าช่วยพัฒนาสุนทรียภาพได้ และถ้าชงชาด้วยชุดน้ำชานี้จะยิ่งอร่อยขึ้นไปอีกค่ะ!
ASAHIYAKI shop & gallery
- ที่อยู่: 67 Uji Mataburi, Uji City, Kyoto Prefecture
- เวลาทำการ: 10:00 - 17:00
- วันหยุดประจำ: วันจันทร์ (หากเป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์จะหยุดวันถัดไป) วันอังคารสุดท้ายของเดือน และวันหยุดสิ้นปีและวันขึ้นปีใหม่ (27 ธันวาคม - 4 มกราคม)
- การเดินทาง: เดินประมาณ 7 นาทีจากสถานีเคฮังอุจิ
สามารถดูได้เพียงครั้งเดียวในชีวิต!? การปรับปรุงครั้งใหญ่ครั้งแรกในรอบ 60 ปี
คำถามค่ะ ผู้อ่าน FUN! JAPAN ทุกท่านทราบหรือไม่คะ ว่าชาญี่ปุ่นได้เข้ามาที่ญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกเมื่อกี่ปีที่แล้วคะ?
ว่ากันว่าในปี ค.ศ.805 ไซโจ (พระภิกษุในสมัยเฮอันตอนต้น) ได้นำเมล็ดชามาจากประเทศจีนเมื่อไปเยือนจีนในฐานะทูตในสมัยราชวงศ์ถัง แล้วหลังจากนั้นนำไปปลูกที่ซากาโมโตะที่เชิงเขาฮิเอย์ จังหวัดชิกะ ตามที่ระบุไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์ว่าได้มีการถวายเซนฉะให้กับจักรพรรดิซากะ ในโอกาสที่ท่านเสด็จมาเยือนประเทศโอมิ (เมืองโอทสึในปัจจุบัน) ในสมัยเฮอันตอนต้นในปี ค.ศ. 815 แสดงให้เห็นว่าจังหวัดชิกะนั้นมีความเกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้งกับชาเช่นกัน
ดังนั้นเราจึงมาที่ชิกะกันค่ะ!
เรามุ่งหน้าไปยังวัดฮิเอซัง เอ็นเรียคุจิ ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลกที่ตั้งอยู่บริเวณพรมแดนระหว่างเมืองชิกะและเกียวโต เป็นวัดหลักของนิกายเทนไดของญี่ปุ่น โดยมีพระไซโจ เด็นเกียวไดชิเป็นผู้ริเริ่มในสมัยเฮอันตอนต้น บริเวณกว้างใหญ่ภายในวัดนั้นมีสมบัติแห่งชาติ 10 แห่ง รวมถึงเนะโมโตะ นากะโด ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของวัดเอ็นเรียคุจิ และทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญอีกกว่า 50 ชิ้น และยังถูกเรียกว่าเป็นบ้านเกิดของศาสนาพุทธของญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นสถานที่ที่พระชื่อดังหลายรูปได้มาฝึกวิชาอีกด้วย
วัดเอ็นเรียคุจิแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ โทโด ไซโต และโยโคกาวะ โดยภายในบริเวณโทโดซึ่งจะถึงเป็นที่แรกหากขึ้นรถเคเบิ้ลซากาโมโตะจากฝั่งโอทสึ มีเนะโมโตะ นากะโด (เรียกวิหารหลักว่านากะโด) ซึ่งเป็นสมบัติแห่งชาติและเป็นวิหารหลักของวัดเอ็นเรียคุจิ
วัดอิจิโจชิกันอินถูกสร้างขึ้นในปีในปี 788 โดยพระไซโจ เด็นเกียวไดชิที่มาฝึกวิชาที่ภูเขาฮิเอ ซึ่งหลังจากนั้นถูกเปลี่ยนชื่อเป็นเนะโมโตะ นากะโด และถึงแม้จะประสบภัยพิบัติหลายครั้งหลังจากนั้น แต่ก็ได้รับการปรับปรุงขยายในการสร้างใหม่ในแต่ละครั้ง โดยในปัจจุบันนั้นเป็นรูปลักษณ์ที่ได้รับการฟื้นฟูโดยโทกุงาวะ อิเอมิตสึในปีค.ศ. 1642 ตัวอาคารได้ถูกกำหนดให้เป็นสมบัติแห่งชาติ และทางเดินได้ถูกกำหนดให้เป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติ
ในขณะที่พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดส่วนใหญ่แล้วจะต้องมองจากด้านล่าง พระพุทธรูปที่เนโมโตะ นากะโดะนั้นสามารถดูได้ที่ความสูงเท่ากัน นอกจากนี้เนะโมโตะ นากะโด ยังอยู่ระหว่างการปรับปรุงระยะเวลา 10 ปี สามารถชมเสาและหลังคาได้ในระยะใกล้แบบนี้จนถึงปี 2026 เท่านั้น (ตามแผน) เป็นของล้ำค่าที่สามารถเห็นได้เพียงครั้งเดียวในชีวิต!
วัดฮิเอซังเอ็นเรียคุจิ
- ที่อยู่: 4220 Sakamotohonmachi, Otsu City, Shiga Prefecture
- เวลาเข้าชม:
- บริเวณโทโด
- เดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายน 08:30 - 16:30
- เดือนธันวาคม 09:00 - 16:00
- เดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 09:00 - 16:30
- บริเวณไซโต และโยโคกาวะ
- เดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายน 09:00 - 16:00
- เดือนธันวาคม 09:30 - 15:30
- เดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 09:30 - 16:00
ถึงจะมีวิธีการขึ้นภูเขาฮิเอมากมายหลายวิธี แต่ขอแนะนำ 2 เส้นทางจากฝั่งเกียวโตและฝั่งโอทสึค่ะ นอกจากจะมีทิวทัศน์ที่สวยงามแล้ว ยังสามารถสนุกไปกับการขึ้นรถหลากหลายแบบได้อีกด้วยค่ะ
โดยสามารถวางแผนเที่ยวได้อย่างอิสระทั้ง 2 เส้นทางค่ะ หากมาจากฝั่งเกียวโต ให้มาเปลี่ยนขึ้นรถไฟเอซัง, เคเบิลคาร์เอซัง (บน) หรือกระเช้าลอยฟ้าเอซัง และหากมาจากฝั่งชิกะนั้น ให้นั่งเคเบิลคาร์ซากาโมโตะ (ล่าง) โดยเคเบิ้ลคาร์จากเกียวโตนั้นเป็นเคเบิ้ลคาร์ที่มีความสูงที่สุดในญี่ปุ่น และเคเบิ้ลคาร์จากชิกะนั้นมีชื่อเสียงในฐานะเคเบิลคาร์ที่ยาวที่สุดในญี่ปุ่นด้วยความยาวรวม 2025 เมตร เมื่อมองลงมาจากเคเบิลคาร์เอซังจะเห็นเมืองเกียวโต และสามารถชมทิวทัศน์อันงดงามของทะเลสาบบิวะจากเคเบิลคาร์ซากาโมโตะได้ค่ะ!
หลังจากที่เดินทางออกจากวัดฮิเอซังเอ็นเรียคุจิแล้ว ก็ขึ้นเคเบิลคาร์ซากาโมโตะและมุ่งหน้าไปยังซากาโมโตะซึ่งเป็นมงเซ็นมาจิ (เมืองในบริเวณใกล้เคียงกับวัด) ของวัดฮิเอซังเอ็นเรียคุจิ ศาลเจ้าฮิโยชิ ไทฉะซึ่งตั้งอยู่ที่เชิงภูเขาฮิเอนั้น เป็นวิหารหลักของศาลเจ้าฮิโยชิ ศาลเจ้าฮิเอ และศาลเจ้าซันโน ซึ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 2100 ปีที่แล้ว หลังจากที่พระไซโจ เด็นเกียวไดชิได้สร้างวัดเอ็นเรียคุจิ กล่าวกันว่ามีผลช่วยในการปัดเป่าความชั่วร้าย ความรัก และความปลอดภัยของครอบครัว นอกจากจะมีการจัดไฟในช่วงฤดูใบไม้เปลี่ยนสีแล้ว (เดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม) ยังสามารถเพลิดเพลินไปกับการเดินเล่นและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ที่ “สวนชาฮิโยชิ” ที่สถานีรถไฟเคฮัง ซากาโมโตะฮิเอซังกุจิซึ่งอยู่ใกล้กับศาลเจ้าฮิโยชิ ไทฉะ ซึ่งกล่าวกันว่ายังคงมีชาที่พระไซโจได้ปลูกไว้คงเหลืออยู่ด้วย
ศาลเจ้าฮิโยชิ ไทฉะ
- ที่อยู่: 5-1-1 Sakamoto, Otsu City, Shiga Prefecture
- เวลาทำการ: 09:00 - 16:30
- การเดินทาง: เดิน 10 นาทีจากสถานีเคฮังซากาโมโตะฮิเอซังกุจิ
หลังจากเดินเล่นใช้พลังงานกันไปแล้ว เราก็เลยแวะอิ่มท้องด้วยชุดเทมปุระที่ร้านต้นตำหรับซุรุกิ โซบะ (Honke Tsuruki Soba) ซึ่งอยู่ใกล้กับสถานีเคฮังซากาโมโตะฮิเอซังกุจิค่ะ
เนื่องจากไม่ค่อยมีของกินบนภูเขาฮิเอในสมัยก่อน กล่าวกันว่าซุรุยะ คิฮะจิซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งร้านต้นตำหรับซุรุกิ โซบะนั้น ได้เดินทางขึ้นไปบนยอดเขาเพื่อไปทำโซบะค่ะ นอกจากนี้ โซบะยังเป็นแหล่งพลังงานของพระฝึกหัด เนื่องจากโซบะเป็นอาหารที่ย่อยง่าย จึงเป็นอาหารอย่างแรกที่จะพระฝึกหัดจะฉันหลังจากการอดอาหารเพื่อทำให้กระเพาะคุ้นชิน
นับตั้งแต่เปิดกิจการเมื่อ 300 ปีที่แล้วก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ที่นี่ทำเส้นโซบะด้วยมือโดยปรับเปลี่ยนสูตรโดยดูปัจจัยต่างๆ เช่นอุณหภูมิและความชื้นในแต่ละวัน รวมถึงสภาพของแป้งโซบะ และสถานที่ผลิต ตัวอาคารได้รับการจดทะเบียนเป็นทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่จับต้องได้ของชาติ รู้สึกประทับใจอย่างมากกับตัวร้านและโซบะที่มีกลิ่นอายของประวัติศาสตร์ค่ะ!
ร้านต้นตำหรับซุรุกิ โซบะ (Honke Tsuruki Soba)
- ที่อยู่: 4-11-40 Sakamoto, Otsu City, Shiga Prefecture
- เวลาทำการ: 11:00 - 16:00 (LO 15:30)
- วันหยุดประจำ: วันศุกร์ที่ 3 / วันปีใหม่ (ปิดทำการในวันพฤหัสบดีที่ 3 / วันศุกร์ในเดือนมกราคม / มิถุนายน, เดือนสิงหาคม / พฤศจิกายนเปิดทุกวัน)
- การเดินทาง: เดิน 1 นาทีจากสถานีเคฮังซากาโมโตะฮิเอซังกุจิ
ตั๋วสุดคุ้มสำหรับการเดินทางด้วยสายเคฮัง
มีตั๋วสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่สามารถบริการรถไฟเคฮังทุกสายซึ่งโอซาก้าและเกียวโตเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีสิทธิประโยชน์ต่างๆ มากมายในแต่ละสถานที่อีกด้วย สามารถไปเที่ยวสถานที่ที่อยู่ตามสายรถไฟเคฮังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปราสาทโอซาก้า, วัดโทฟุคุจิ, ศาลเจ้าฟุชิมิอินาริ และอื่นๆ อีกมากมายที่ไม่ได้แนะนำในครั้งนี้ได้ในครั้งเดียว!
ถึงแม้จะไม่สามารถใช้ตั๋วข้างต้นกับการเดินทางไปภูเขาฮิเอได้ แต่มีชุดตั๋วสุดคุ้มซึ่งรวมการคมนาคมประเภทต่างๆ ไปยังภูเขาฮิเอ และค่าเข้าชมวัดวัดเอ็นเรียคุจิวางขายทุกปี
ข้อมูลตั๋วสุดคุ้มสำหรับภูเขาฮิเอ:
Comments