ในฤดูร้อน คำว่า พิเศษช่วง "โอชูเก็น" (お中元 / ochuugen การมอบของขวัญกลางปี) มักจะปรากฏขึ้นตามที่ต่าง ๆ ทั้งในห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ
แล้ว โอชูเก็น คืออะไร?
แล้วทำไมคนญี่ปุ่นถึงมีธรรมเนียมการส่งของขวัญในช่วงโอชูเก็น?
แล้ว "การถามข่าวคราวกลางฤดูร้อน" (暑中見舞い / shochuumimai) และ "การถามข่าวคราวส่งท้ายฤดูร้อน" (残暑見舞い / zanshomimai) คืออะไร?
ในบทความนี้ เราอยากจะแนะนำให้คุณรู้จักกับ "โอชูเก็น" ซึ่งเป็นธรรมเนียมเฉพาะของญี่ปุ่นกัน!
โอชูเก็น คืออะไร?
ที่ญี่ปุ่นมีธรรมเนียมให้ของขวัญในฤดูร้อนเพื่อแสดงความขอบคุณต่อญาติ คนรู้จัก และผู้ที่เกี่ยวข้องกันเรื่องงานที่เราเป็นหนี้บุญคุณพวกเขาอยู่ทุกวัน นี่คือธรรมเนียมโอชูเก็น หรือแปลได้ว่า ของขวัญกลางปี
คำว่า "お中元" (โอชูเก็น) มาจาก *三元 (ซานเก็น วันเกิดของเทพเจ้าสามองค์ในลัทธิเต๋า 上元 โจเก็น 中元 ชูเก็น และ 下元 คะเก็น) ของลัทธิเต๋าในจีนโบราณ และกล่าวกันว่ามาจาก "中元" ซึ่งตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน
มีหลายทฤษฎีที่อธิบายว่าเหตุใดจึงให้ของขวัญกันในช่วงโอชูเก็น แต่มีสองทฤษฎีที่กล่าวว่ามีความน่าเชื่อถือที่สุด
ทฤษฎีแรกคือ ทฤษฏีที่ว่า ในประเทศจีนนั้น มีความเชื่อกันว่า ในวัน 中元 เทพไปรายงานความดีและความชั่วของมนุษย์ให้ทางสวรรค์ทราบ แล้วทำการกำหนดอายุขัยของบุคคลนั้น ๆ ดังนั้นคนที่อยากมีอายุยืนจึงคิดจะทำความดีกันในวันนี้เป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม พวกเขาได้เริ่มให้ของขวัญแก่ผู้มีพระคุณและพันธมิตรทางธุรกิจเป็นที่แรก
อีกทฤษฏีก็คือวันที่ 15 เดือน 7 ตามปฏิทินจันทรคติจีน ตรงกับวันที่มีการจัดงานบุญอุลลัมพนสูตร (盂蘭盆会 สารทจีน) ทางพุทธศาสนาของจีน จึงกล่าวกันว่าอาจเป็นผลพวกของงานนี้กันนั่นเอง
การมอบของขวัญกลางปี โอชูเก็น มอบกันเมื่อไหร่?
การมอบของขวัญช่วงกลางปีให้กับผู้มีพระคุณในเชิงธุรกิจอย่างที่ทำกันอยู่ในอยู่ทุกวันนี้ ว่ากันว่าเริ่มในช่วงปีเมจิ 30 กว่า ๆ (ค.ศ. 1897)
กล่าวกันว่า ธรรมเนียมการให้ของขวัญของของขวัญกลางปีได้หยั่งรากทุกฤดูร้อน เนื่องจากห้างสรรพสินค้าสามารถหันมาทำยอดขายได้มากในช่วงฤดูร้อนที่ปกติมักจะมียอดขายต่ำ
ในภูมิภาคคันโตนั้น โดยทั่วไปจะมอบของขวัญกันตั้งแต่ต้นช่วงต้นเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนกรกฎาคม เนื่องจากยึดตามปฏิทินใหม่ (เทียบปฏิทินจันทรคติจีนเป็นปฏิทินสากลแบบเลขเดือนตรงกัน) ส่วนในภูมิภาคคันไซโดยทั่วไปจะมอบของขวัญตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคมถึงกลางเดือนสิงหาคมซึ่งจะทดเวลาช้าลงหนึ่งเดือนตามปฏิทินเก่า (เทียบปฏิทินจันทรคติจีนเป็นปฏิทินสากลแบบดูความต่างของเดือน)
แล้วมอบอะไรเป็นของขวัญกัน?
ของขวัญกลางปีโอชูเก็นสูตรมาตรฐานก็คือเส้นหมี่โซเม็ง
โซเม็งที่เรียวและยาว แฝงความหมายว่า ขอให้คนที่ปกติไม่ได้เจอกันยังคงคบหาพูดคุยกันเป็นเวลานาน ๆ
ในสมัยเอโดะ โซเม็งถือเป็นสินค้าหรูราคาแพง เคยถูกใช้เป็นบรรณาการส่งให้โชกุนและทางวังหลวงด้วย เนื่องจากสามารถเก็บไว้ได้นานจึงถูกมองในฐานะของขวัญล้ำค่า และยังคงเป็นของขวัญกลางปีมาตรฐานแม้ในปัจจุบัน
นอกจากนี้ ในช่วงไม่นานมานี้ คลื่นความร้อนประจำฤดูร้อนยังคงทำให้รู้สึกร้อนกันอยู่ คนญี่ปุ่นจึงมักจะให้อาหารและเครื่องดื่มที่ทำให้รู้สึกเย็นกัน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์และสาเก และเครื่องดื่มปราศจากแอลกอฮอล์ เช่น น้ำผลไม้ ก็ได้รับการจัดอันดับสูงในการจัดอันดับความนิยมของขวัญกลางปี อีกทางเลือกหนึ่งคือ อาหารคล้ายฤดูร้อน ขนมหวานและขนมฝรั่ง และผลไม้ เช่น แตงโม เมลอน และมะม่วง ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน
"การถามข่าวคราวกลางฤดูร้อน" และ "การถามข่าวคราวส่งท้ายฤดูร้อน" คืออะไร?
นอกจากนี้ยังมี "การถามข่าวคราวกลางฤดูร้อน" และ "การถามข่าวคราวส่งท้ายฤดูร้อน" ซึ่งคล้ายกับ "ของขวัญกลางปี"
การถามข่าวคราวกลางฤดูร้อนและการถามข่าวคราวส่งท้ายฤดูร้อนเป็นการ์ดอวยพรตามฤดูกาลที่เขียนขึ้นเพื่อถามไถ่ถึงสุขภาพของผู้มีพระคุณต่าง ๆ เพียงเขียนคำทักทายบนไปรษณียบัตรอย่างเป็นทางการสำหรับใช้ในการถามข่าวคราวกลางฤดูร้อน (และส่งท้ายฤดูร้อน) หรือไปรษณียบัตรที่มีรูปภาพเหมาะกับฤดูร้อน ถามเรื่องสารทุกข์สุกดิบของอีกฝ่ายหนึ่ง และบอกพวกเขาถึงเรื่องต่าง ๆ ของตน
การถามข่าวคราวกลางฤดูร้อน คือคำทักทายในฤดูร้อน เช่นเดียวกับการมอบของขวัญกลางปีนั่นเอง
อาจกล่าวได้ว่าเป็นส่วนขยายของวัฒนธรรม เนื่องจากมีธรรมเนียมมอบของขวัญกลางปี แต่ก็เป็นการยากที่จะไปมอบด้วยตัวเองในสถานที่อันห่างไกล จึงหันมาส่งจดหมายโดยใช้ไปรษณีย์อากาศแทน ธรรมเนียมนี้เริ่มต้นในสมัยเมจิ และพร้อมกับการเริ่มต้นการส่งไปรษณียบัตรในญี่ปุ่น จนกลายเป็นธรรมเนียมในการส่งการ์ดอวยพรไปยังผู้คนที่อยู่ห่างไกล ว่ากันว่าการเริ่มต้นของการถามข่าวคราวกลางฤดูร้อน (暑中見舞い) นั้น มาจากการสอบถามสารทุกข์สุกดิบท่ามกลางอากาศที่ร้อนระอุนั่นเอง
ข้อแตกต่างระหว่าง "การถามข่าวคราวกลางฤดูร้อน" และ "การถามข่าวคราวส่งท้ายฤดูร้อน" คืออะไร?
ความแตกต่างระหว่างการถามข่าวคราวกลางฤดูร้อน และ การถามข่าวคราวส่งท้ายฤดูร้อน คือ "ช่วงเวลา" ว่ากันว่าปลายฤดูฝนหรือปลายช่วงโชกะ (初夏 / shoka วันที่ 7 กรกฎาคม) ถึงช่วงริชชู (立秋 / risshuu วันที่ 7 สิงหาคม) เป็นช่วงที่นิยมกันตามปกติ หลังจากเลยช่วงริชชูไปก็จะเปลี่ยไปใช้คำว่า "การถามข่าวคราวส่งท้ายฤดูร้อน"
สำหรับญี่ปุ่นในปัจจุบัน ของขวัญช่วงกลางฤดูร้อนคือ "การส่งของไปขอบคุณผู้มีพระคุณต่อเรามาแต่นมนาน และคำนึงถึงสุขภาพของบุคคลผู้นั้น" ส่วนการถามข่าวคราวกลางฤดูร้อนและการถามข่าวคราวส่งท้ายฤดูร้อน คือ "การส่งข้อความแสดงความเป็นห่วงต่แสุขภาพของบุคคลดังกล่าวในช่วงหน้าร้อน” โดยเนื้อนัยแล้ว ทั้งสองมีความหมายเชิงเดียวกัน คือ การเอาใจใส่ดูแลผู้ที่มีพรคุณต่อเราอยู่นั่นเอง!
Comments