คุณเคยได้ยินไหมว่าการเรียกชื่อคนญี่ปุ่นแบบไม่มีคำว่าซังลงท้ายเป็นเรื่องที่เสียมารยาท ในบางกรณีอาจทำให้อีกฝ่ายไม่สบายใจหรือโกรธได้ดังนั้นควรระมัดระวังในจุดนี้ด้วย แต่ทำไมคนญี่ปุ่นบอกว่าการเรียกชื่อแบบไม่มีคำว่าซังลงท้ายเป็นเรื่องที่เสียมารยาท ตรงกันข้ามการเรียกชื่อแบบไม่มีคำว่าซังลงท้ายแต่ถือว่าไม่ใช่การเสียมารยาทล่ะ จะใช้ตอนไหน ครั้งนี้เราจะแนะนำวัฒนธรรมการเรียกชื่อคนญี่ปุ่นแบบไม่มีคำว่าซังลงท้ายเป็นเรื่องที่เสียมารยาทค่ะ
เหตุผลที่การเรียกชื่อคนญี่ปุ่นแบบไม่มีคำว่าซังลงท้ายเป็นเรื่องที่เสียมารยาทมี2เหตุผล
วัฒนธรรมตามลำดับชั้น
ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่โรงเรียน ที่ทำงานหรือในสังคมญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์แบบลำดับชั้น ในแต่ละฉากความสัมพันธ์แบบลำดับชั้นจะถูกกำหนดตามลำดับอายุและตำแหน่ง กรณีที่บ้าน ปู่ย่าตายายอยู่บนสุด ตามมาด้วยพ่อแม่และพี่น้อง กรณีที่โรงเรียนแน่นอนว่าครูอยู่ด้านบนและนักเรียนอยู่ด้านล่าง กรณีในบริษัท เจ้านายอยู่ข้างบนและลูกน้องอยู่ล่างสุด ในสังคมยิ่งอายุมากยิ่งมีความสำคัญ เพื่อชี้แจงความสัมพันธ์ตามลำดับชั้น ความสัมพันธ์หรือตำแหน่งที่ต่ำกว่าหรืออยู่ด้านล่างกว่า ไม่สามารถเรียกชื่อคนที่อยู่ในตำแหน่งสูงกว่าแบบไม่มีคำว่าซังลงท้ายได้
การเว้นระยะห่างกับอีกฝ่าย
คนที่พบกันครั้งแรกที่โรงเรียนที่ทำงานหรือในสังคม แม้ว่าจะอายุเท่ากันหรือใกล้กันก็จะไม่สามารถเรียกชื่อแบบไม่มีคำว่าซังลงท้ายได้ตั้งแต่แรก ชาวญี่ปุ่นได้รับการเลี้ยงดูในวัฒนธรรมที่มีลำดับชั้นดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นการเรียกชื่อแบบไม่มีคำว่าซังลงท้ายอย่างกะทันหันทำให้รู้สึกเหมือนตัวเองกลายเป็นคนตำแหน่งอยู่ด้านล่างกว่า เป็นสิ่งที่รู้สึกแย่
มีความแตกต่างในวิธีการเรียก
ในภาษาญี่ปุ่นมีชื่อที่มีเกียรติมากมายที่ตั้งตามชื่อ ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เช่น ○○sama, ○○san, ○○kun และ ○○chan ส่วนใหญ่คำสรรพนามว่า "sama, san, kun, chan" จะถูกแยกออกจากกัน เราจะอธิบายสั้น ๆ ว่ามีความสัมพันธ์แบบไหนและใช้สรรพนามแทนอย่างไร
sama(様):
นี่คือวิธีการเรียกชื่อแบบทั่วไป ในทางธุรกิจคนที่อยู่บริษัทอื่นที่ไม่ใช่คนในบริษัท ของตัวเองจะใช้คำสรรพนามลงท้ายชื่อว่า 「sama(ในภาษาไทยอาจจะหมายความใกล้เคียงกับ คำว่า "ท่าน")」
san(さん):
คำสรรพนามลงท้ายชื่อที่เรียบง่าย สามารถใช้ได้ทั้งชายและหญิงอายุมากกว่าและอายุน้อยกว่า「san(ในภาษาไทยอาจจะหมายความใกล้เคียงกับ คำว่า "คุณ")」
kun(君):
คำสรรพนามลงท้ายชื่อผู้ชายที่อายุน้อยกว่าหรือคนสนิท
chan(ちゃん):
คำสรรพนามลงท้ายชื่อผู้หญิง ในบริษัท บางครั้งสามารถใช้เรียกตั้งแต่ผู้ชายจนถึงผู้หญิงที่อายุน้อยกว่าหรือผู้หญิงที่มีความสนิทกัน แต่การเรียกแบบนี้ในผู้หญิงนั้นลดลงเนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่กลายเป็นการถูกคุกคามทางเพศแทน นอกจากนี้คำว่า "chan" ก็ยังสามารถใช้เรียกผู้ชายสนิทกันได้อีกด้วย ความรู้สึกเหมือนเรียกชื่อเล่น
นอกจากนี้เมื่อมีการแนะนำเด็กในข่าวทีวีหรือหนังสือพิมพ์โดยหลักการแล้วก็จะใช้คำว่า "chan" และสามารถใช้เรียกชื่อเด็กที่ก่อนจะเข้าโรงเรียนประถม
กรณีไหนที่การเรียกชื่อแบบไม่มีคำว่าซังลงท้ายแต่ถือว่าไม่ใช่การเสียมารยาท
นอกจากนี้ในบางฉากเช่นละคร จะเห็นว่ามีฉากที่เรียกชื่อคนแบบไม่มีคำว่าซังลงท้าย แต่จะใช้ในกรณีไหนดีล่ะ? โดยปกติแล้วในสถานการณ์ต่อไปนี้แม้ว่าคุณจะเรียกชื่อคนแบบไม่มีคำว่าซังลงท้ายก็ถือว่าเป็นการเสียมารยาทกับอีกฝ่าย
มีความสนิทสนมกันดี:
ในหลาย ๆ กรณี เพื่อนสนิทหรือคนที่คบหากันมายาวนาน คนเป็นแฟนกันก็มักจะเรียกชื่อแบบไม่มีคำว่าซังลงท้ายกันส่วนใหญ่ เมื่อคนอื่นมองก็เข้าใจว่าคุณกับอีกฝ่ายมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
อายุมากกว่าเรียกคนอายุน้อยกว่า
เมื่อครูในโรงเรียน กำลังเช็คชื่อนักเรียนในชั้นเรียน หรือการพูดเพื่อเพิ่มกำลังใจในกิจกรรมก็จะเรียกชื่อคนแบบไม่มีคำว่าซังลงท้าย ในกรณีนี้จะเป็นความสัมพันธ์แบบคนตำแหน่งสูงกว่าพูดกับคนตำแหน่งต่ำกว่า นอกจากนี้ในสถานที่ทำงานของญี่ปุ่นที่ความสัมพันธ์ตามลำดับชั้นเข้มงวด ก็ยังคงมีเจ้านายที่เรียกชื่อลูกน้องแบบไม่มีคำว่าซังลงท้าย แต่เมื่อเร็ว ๆ นี้ระบบบริษัทเกี่ยวกับความสัมพันธ์ตามลำดับชั้นตามความอาวุโสลดลงและมีการเปลี่ยนแปลงงานจึงมีลูกน้องที่มีอายุมากกว่า ดังนั้นการเรียกชื่อลูกน้องในบริษัทก็ต้องใช้สรรพนามลงท้ายชื่อว่า "san"เวลาเรียก
ในหลาย ๆ ประเทศเป็นเรื่องปกติที่จะเรียกกันด้วยชื่อจริงโดยไม่คำนึงถึงอายุหรือตำแหน่ง แต่ในญี่ปุ่นคุณต้องระวัง เมื่อคุณมาเที่ยวญี่ปุ่นเพื่อท่องเที่ยวหรือติดต่อธุรกิจอย่าลืมมารยาทในเรื่องนี้ด้วยนะคะ!
Comments