เมื่อวันอังคารที่ 7 เมษายน ทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้ตัดสินใจประกาศ "สถานการณ์ฉุกเฉิน" จึงทำให้แต่ละหน่วยงานราชการมีมาตรการพิเศษต่างๆ และจากสถานการณ์ฉุกเฉินส่งผลในหลายๆ ด้านต่อชาวญี่ปุ่นรวมไปถึงชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น บทความนี้จึงจะแนะนำข้อมูลที่ชาวต่างชาติควรรู้และข้อควรปฏิบัติในช่วงเวลานี้
สำหรับบทความนี้จะสรุปถึงรายละเอียดข้อมูลสถานการณ์ฉุกเฉิน ช่วงเวลาและจังหวัดที่มีผลบังคับใช้ รวมไปถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน และข้อมูลที่ขาดไม่ได้ในการดำรงชีวิตในญี่ปุ่น ใครที่กำลังอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นล่ะก็ต้องบุ๊คมาร์คบทความนี้ไว้เลยนะคะ!
"สถานการณ์ฉุกเฉิน" คืออะไร?
ปัจจุบันวันเชื้่อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 ส่งผลให้เกิดกระทบอย่างรุนแรงไปทั่วโลก และเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดในประเทศญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะของญี่ปุ่นจึงแถลงว่าได้ตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในวันที่ 7 เมษายน 2020 ที่ผ่านมา
ทางด้านรัฐบาลญี่ปุ่นนั้นได้เน้นย้ำว่าสถานการณ์ฉุกเฉินของญี่ปุ่นไม่เหมือนกับสถานการณ์ "Lock Down" ที่เกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศ เพียงแต่ เพื่อเป็นการป้องกันและรักษาสุขภาพของประชาชน จึงได้มีการขอร้องให้ประชาชนมีความยับยั้งชั่งใจในการออกไปข้างนอก ขอร้องให้หยุดให้บริการร้านค้าและอื่นๆ ที่จำกัดการดำรงชีวิตมากขึ้น อีกทั้ง ทางญี่ปุ่นต้องใช้มาตรการที่แข็งแกร่ง เช่น การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางการแพทย์เพื่อรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อและปรับปรุงระบบการตรวจสอบโรคเหล่านี้ กล่าวคือ สถานการณ์ฉุกเฉินของญี่ปุ่นได้ร้องขอในทางปฏิบัติกับประชาชน เช่น การงดออกไปข้างนอก โดยมีพื้นฐานทางกฎหมาย และจากการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินส่งผลให้มีการดำเนินมาตรการพิเศษสำหรับหน่วยงานปกครองต่างๆ รวมไปถึงบริษัทเอกชนแต่ละแห่ง
สถานการณ์ฉุกเฉินมีไปถึงเมื่อไหร่ และจังหวัดใดเป็นกลุ่มเป้าหมายบ้าง
ช่วงเวลาของการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้นเริ่มตั้งแต่วันอังคารที่ 7 เมษายน 2020 ไปจนถึงวันพุธที่ 6 พฤษภาคม 2020 เป็นระยะเวลา 1 เดือน หากแต่ เมื่อทราบว่าไม่มีความจำเป็นต้องใช้มาตรการฉุกเฉินอีกต่อไปสถานการณ์ฉุกเฉินจะถูกยกเลิกโดยทันทีตามบทบัญญัติของมาตรา 32 วรรค 5 ของพระราชบัญญัติมาตรการพิเศษต่อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เป็นต้น
จังหวัดที่ได้รับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้แก่ จังหวัดไซตามะ, จังหวัดชิบะ, เขตโตเกียว, จังหวัดคานากาว่า, จังหวัดโอซาก้า, จังหวัดเฮียวโกะและจังหวัดฟุกุโอกะ รวมทั้งสิ้น 7 จังหวัด หลังจากนั้นทางผู้ว่าราชการจังหวัดของจังหวัดไอจิได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของตนเองตั้งแต่วันศุกร์ที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา
※ นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ประกาศเมื่อวันที่ 21 ว่าจะมีการยกเลิกสภาวะฉุกเฉินใน 3 จังหวัดของฝั่งคินคิ ได้แก่ นครโอซาก้า จังหวัดเกียวโตและจังหวัดเฮียวโกะ ส่วนที่เหลืออีก 5 จังหวัด ได้่แก่ ฮอกไกโด โตเกียว จังหวัดคานากาว่า จังหวัดไซตามะและจังหวัดชิบะจะยังคงดำเนินต่อไปในขณะนี้ (อัพเดต 21 พฤษภาคม 2020)
※ เขตการปกครองทั้งหมดทั่วประเทศญี่ปุ่นได้ยกเลิกประกาศสภาวะฉุกเฉินไปแล้วในวันที่ 25 พฤษภาคม (วันจันทร์) (อัพเดต 25 พฤษภาคม 2020)
เอกสารอ้างอิง :
การประกาศภาวะฉุกเฉินของโรคไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 (ภาษาญี่ปุ่น)
ผลกระทบต่อชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้น
หลังจากที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว ไม่เพียงแต่คนญี่ปุ่นและคนต่างชาติที่อาศัยในญี่ปุ่นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบไปถึงนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน งั้นเราไปดูกันดีกว่าว่ามีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตในญี่ปุ่นบ้าง ครั้งนี้พวกเราทีมงาน FUN JAPAN ได้รวบรวมตัวอย่างข้อมูลบสงส่วนมาฝากเพื่อนๆ กันแล้ว
- ① สิ่งอำนวยความสะดวกเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่, ร้านอาหารที่ให้บริการลูกค้าในย่านใจกลางเมือง, สถานบันเทิง ฯลฯ จะต้องลดเวลาในการเปิดให้บริการในช่วงกลางคืน ช่วงวันหยุดหรือหยุดให้บริการชั่วคราว
- ② ไม่มีข้อจำกัดในการทำกิจกรรมที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต อาทิ ไปโรงพยาบาล ไปทำงาน ไปซื้อยาหรืออาหาร ของใช้ เดินเล่นและอื่นๆ หากแต่ขอให้ละเว้นจากการออกจากบ้านโดยไม่จำเป็นหากไม่มีเหตุเร่งด่วนในเวลากลางคืนหรือในวันหยุด และกลับภูมิลำเนา
- ③ เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อในที่ทำงาน ขอให้แนะนำการทำงานที่บ้านผ่านช่องทางการสื่อสารโทรคมนาคม (Telework) แม้ในกรณีที่ออกไปทำงาน ทางรัฐบาลได้ขอให้ปรับช่วงเวลาการเข้างาน การเดินทางโดยใช้จักรยานแทน การลดการปฎิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
- ④ สำหรับการคมนาคม เช่น รถไฟใต้ดินและรถไฟจะยังคงเปิดใช้งานตามปกติ
【ข้อควรปฏิบัติในช่วงนี้】
เพื่อปกป้องชีวิตและสุขภาพของตัวเราเองและคนรอบข้าง เราควรหยุดออกไปโดยไม่จำเป็น หลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้คนมากขึ้นเรื่อยๆ ให้ล้างมือและสวมหน้ากากเสมอ อย่าซื้อหรือกักตุนสินค้า ใช้มาตรการ "3 Mitsu" คือหลีกเลี่ยงสถานที่แออัด (Mippei) หลีกเลี่ยงสถานที่ปิด (Misshu) หลีกเลี่ยงการใกล้ชิด (Missetsu) กันดีกว่า!
※ มาตรการ "3 Mitsu " คืออะไร
- พื้นที่ "ปิด" พร้อมการระบายอากาศไม่ดี
- สถานที่ที่เต็มไปด้วยฝูงชน "แออัด"
- ติดต่อสนทนาในระยะ "ใกล้ชิด"
เอกสารอ้างอิง:
นโยบายป้องกันพื้นฐานสำหรับการควบคุมการติดเชื้อโรคไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 (ภาษาญี่ปุ่น)
หากคุณต้องการความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินให้ใช้บริการ JNTO มีภาษาต่างประเทศให้คุณเลือก!
ในสถานการณ์แบบนี้หลายๆ คนคงรู้สึกกังวลใช่มั้ยล่ะคะ แต่ว่าไม่เป็นไรค่ะ! เพราะองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น (JNTO) ได้มีบริการหลากหลายภาษาเพื่อรับรองความปลอดภัยและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในกรณีฉุกเฉิน แน่นอนว่า คุณสามารติดต่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ได้ด้วยนะคะ!
【หากต้องการค้นหาสถาบันการแพทย์】
หากคุณมีอาการไอมีไข้หรือมีสภาพร่างกายและต้องการรับการรักษาทางการแพทย์ในประเทศญี่ปุ่นเราขอแนะนำเว็บไซต์พิเศษของ JNTO ที่รองรับหลายภาษา! ก่อนอื่นให้เลือกภูมิภาค ภาษาและแผนกที่ต้องการรับการรักษา จากนั้นเลือกประเภทการชำระเงิน อาทิ บัตรเครดิตและข้อมูลอื่นๆ ตามลำดับและกดปุ่มค้นหา เพียงเท่านี้ลิสต์โรงพยาบาลต่างๆ ก็จะโชว์ให้เพื่อนๆ เห็นแล้วค่ะ!
นอกจากนี้ ในหน้าเว็บไซต์พิเศษของ JNTO ยังมีคำแนะนำในการใช้บริการสถาบันการแพทย์ในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาไทยและภาษาเกาหลีด้วย ลองเช็คข้อมูลกันดูนะคะ
- เว็บไซต์พิเศษ JNTO (ภาษาอังกฤษ):https://www.jnto.go.jp/emergency/eng/mi_guide.html
【เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือภัยพิบัติ】
หากคุณไม่แน่ใจว่าต้องทำอย่างไรในกรณีฉุกเฉินหรือเกิดภัยพิบัติ เราขอแนะนำให้คุณติดต่อศูนย์บริการคอลเซนเตอร์จาก JNTO “Japan Visitor Hotline“ ที่ให้บริการหลายภาษาตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน! ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุบัติเหตุ ภัยพิบัติต่างๆ ก็สามารถปรึกษาได้อย่างหมดห่วง!
หมายเลขโทรศัพท์ : 050-3816-2728
- ภาษาที่รองรับ : ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน, ภาษาเกาหลี, ภาษาญี่ปุ่น
- คำแนะนำในการติดต่อฉุกเฉิน (ความเจ็บป่วย / อุบัติเหตุ ฯลฯ ) คู่มือภัยพิบัติ, คู่มือท่องเที่ยวทั่วไป
〈 เนื้อหาการให้คำปรึกษาหลัก 〉
‣ค่าธรรมเนียมการยกเลิก
・หากถูกโรงแรมยกเลิกงานจองแบบไม่มีสาเหตุ และต้องการเงินคืนแต่ไม่รู้จะไปปรึกษาใครดี
‣เกี่ยวกับสภาพร่างกายไม่ดี
・มีอาการไอและมีไข้ หากรู้สึกกังวลว่าอาจติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ COVID-19 หรือไม่
・ลูกค้าที่มาพักที่โรงแรมมีอาการไอและมีไข้
- JNTO Call Center สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาญี่ปุ่น (ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน, ภาษาเกาหลี):
http://www.mlit.go.jp/kankocho/content/001327108.pdf
ศูนย์บริการให้คำปรึกษา และอัพเดทข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย
ในแต่ละพื้นที่กลุ่มเป้าหมายจะมีศูนย์บริการคอยให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ COVID-19 และเว็บไซต์พิเศษที่สามารถเช็คข้อมูลข่าวสารล่าสุดได้ ใครที่กำลังไม่สบายใจล่ะก็ดูรายชื่อและข้อมูลติดต่อได้จากด้านล่างนี้เลย
จังหวัดไซตามะ
เว็บไซต์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องไวรัสสายพันธ์ใหม่ COVID-19 (ให้บริการหลากหลายภาษา):
https://www.pref.saitama.lg.jp/a0701/covid19/gaikoku.html
จังหวัดชิบะ
เว็บไซต์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องไวรัสสายพันธ์ใหม่ COVID-19 (ให้บริการหลากหลายภาษา):
https://www.pref.chiba.lg.jp/international/index.html
เขตโตเกียว
เว็บไซต์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องไวรัสสายพันธ์ใหม่ COVID-19 (ให้บริการภาษาอังกฤษและภาษาจีน):
https://stopcovid19.metro.tokyo.lg.jp/en
จังหวัดคานากาว่า
เว็บไซต์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องไวรัสสายพันธ์ใหม่ COVID-19 (ให้บริการหลากหลายภาษา):
https://www.pref.kanagawa.jp/translate.html?p=/docs/ga4/bukanshi/bukan_200114.html
จังหวัดโอซาก้า
เว็บไซต์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องไวรัสสายพันธ์ใหม่ COVID-19 (ให้บริการภาษาญี่ปุ่น บางส่วนเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน):
http://www.pref.osaka.lg.jp/kanko/coronavirus/index.html
จังหวัดเฮียวโกะ
เว็บไซต์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องไวรัสสายพันธ์ใหม่ COVID-19 (ให้บริการภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น):
https://web.pref.hyogo.lg.jp/kk03/200129.html
จังหวัดฟุกุโอกะ
เว็บไซต์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องไวรัสสายพันธ์ใหม่ COVID-19 (ให้บริการภาษาอังกฤษ):
https://www.pref.fukuoka.lg.jp/site/english/
ใครที่ไซริวการ์ด (บัตรพำนัก) ในญี่ปุ่นใกล้จะหมดอายุแล้วระวัง! รวมข้อมูลเกี่ยวกับไซริวการ์ด
สำหรับการยื่นสมัครขอเปลี่ยนสถานภาพบัตรไซริวการ์ด ขอต่ออายุระยะเวลาอายุบัตรไซริวการ์ดหรือการนำพักในญี่ปุ่น สามารถไปทำเรื่องได้จนถึง 3 เดือนให้หลังวันหลังหมดอายุ หากหมดอายุตั้งแต่เดือนมีนาคม เมษายน พฤษภาคม มิถุนายนและกรกฎาคม
(อัพเดต 12 พฤษภาคม 2020)
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ด้านล่าง
Comments