พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น ศาสนาพุทธรูปแบบไหนที่เผยแพร่เข้ามาในญี่ปุ่นและเมื่อไร่? นอกจากเซนแล้วยังมีอีกกี่นิกายกัน?

พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น ศาสนาพุทธรูปแบบไหนที่เผยแพร่เข้ามาในญี่ปุ่นและเมื่อไร่? นอกจากเซนแล้วยังมีอีกกี่นิกายกัน?

เวลาไปเยือนวัดต่าง ๆ หรือเข้าทำเวิร์กช็อป "ประสบการณ์เซน" การได้รู้ว่าพระพุทธศาสนา (仏教 / Bukkyō) ในญี่ปุ่นมีประเภทใดบ้างและเข้ามาในประเทศญี่ปุ่นเมื่อไหร่ก็จะมีประโยชน์อย่างยิ่งในการทำความเข้าใจข้อมูลที่เขียนอธิบายไว้ที่วัดค่ะ นั่นก็เป็นเพราะตัววัด พระพุทธรูป และวิถีเซนล้วนแต่มีพื้นฐานมาจากคำสอนของพระพุทธศาสนาประเภทที่ต่างกันไป ในที่นี้เราจะมาแนะนำประวัติศาสตร์ คำสอน และวัดวาอารามของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นให้ทราบกันค่ะ

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแบบใด? ประเภทของพระพุทธศาสนาที่แพร่หลายในญี่ปุ่นคือ?

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแบบใด? ประเภทของพระพุทธศาสนาที่แพร่หลายในญี่ปุ่นคือ?

พุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เริ่มขึ้นระหว่างช่วงศตวรรษที่ 5 และ 6 ก่อนคริสตศักราช หรือ 45 ปีก่อนปีพุทธศักราช เป็นศาสนาที่มีพื้นฐานมาจากคำสอนของพระศากยมุนีพุทธเจ้า (釈迦如来 / Shaka Nyorai) ผู้เป็นชาวอินเดีย (ゴータマ・シッダッタ / Siddatta Gautama สิทธัตถะ โคตมะ) ในศตวรรษที่ 6 พระพุทธศาสนาได้เข้ามายังประเทศญี่ปุ่นจากอินเดียผ่านส่วนต่าง ๆ ของเอเชีย ในพระพุทธศาสนามีแนวคิดของ "การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ" (輪廻転生 / Rinne Tensei) ซึ่งบุคคลหนึ่งจะไปเกิดใหม่เมื่อสิ้นชีพในภพภูมิหนึ่ง วนเวียนอยู่อย่างนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก การเวียนว่ายตายเกิดเช่นนั้นถือเป็นทุกข์ แต่ก็ได้เทศนาสอนไว้ว่าบุคคลหนึ่งสามารถหลุดพ้นจากวัฏสังสารได้โดยการตรัสรู้บรรลุอรหันต์ผ่านการปฏิบัติฝึกตนเพื่อดับเพลิงกิเลสที่รบกวนจิตใจค่ะ

หลังจากผ่านไปนับแรมปี พระพุทธศาสนาก็ถูกแบ่งออกเป็นหลายนิกายใหญ๋ ซึ่งพระพุทธศาสนานิกายมหายานก็เป็นพระพุทธศาสนานิกายใหญ่ที่เข้ามาในประเทศญี่ปุ่นค่ะ ในพระพุทธศาสนานิกายมหายานนั้น เป้าหมายหลักของการปฏิบัตินั้นไม่ใช่เพียงแค่เพื่อการตรัสรู้ของตนเองในภพชาติหน้าเท่านั้น แต่ยังมีเป้าหมายเพื่อที่จะตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อช่วยให้ผู้อื่นได้หลุดพ้นไปด้วย หากพูดง่าย ๆ ก็คือเป็นการปฏิบัติเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์ในภายภาคหน้าค่ะ ในญี่ปุ่นมีนิกายย่อยต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น นิกายสุขาวดี (浄土宗 / Jōdo-shū โจโดชู) นิกายสุขาวดีแท้ (浄土真宗 / Jōdo-shinshū โจโดชินชู) นิกายนิชิเร็น (日蓮宗 / Nichiren-shū นิจิเร็นชู) และยังมีสายฌาน (禅 / Zen เซ็น) อย่างนิกายรินไซ (臨済宗 / Rinzai-shū) และนิกายโซโต (曹洞宗 / Sōtō-shū โซโตชู) ซึ่งการปฏิบัติหลักก็คือซาเซ็น (การนั่งสมาธิแบบฌาน) ค่ะ

เหตุใดพระพุทธศาสนาจึงเป็นที่แพร่หลายในญี่ปุ่น ความสัมพันธุ์ระหว่างพระพุทธศาสนาและลัทธิชินโตเป็นเช่นใด?

เหตุใดพระพุทธศาสนาจึงเป็นที่แพร่หลายในญี่ปุ่น ความสัมพันธุ์ระหว่างพระพุทธศาสนาและลัทธิชินโตเป็นเช่นใด?

ในญี่ปุ่น ลัทธิชินโต ศาสนาที่เป็นเอกลักษณ์ของญี่ปุ่นนั้นก็ยังคงเป็นที่ศรัทธาของผู้คนจนกระทั่งการเข้ามาของพระพุทธศาสนาค่ะ การที่ศาสนาพุทธสามารถเข้ามาเป็นที่ศรัทธาในญี่ปุ่นท่ามกลางสภาพดังกล่าวได้ก็เป็นเพราะว่า ตระกูลผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ ตระกูลโซกะ (蘇我氏 / Soga-shi) ซึ่งนับถือศาสนาพุทธ ได้ต่อสู้และมีชัยเหนือตระกูลโมโนโนเบะ (物部氏 / Mononobe-shi) ซึ่งเป็นฝ่ายต่อต้านพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ตาม นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าผู้คนได้หยุดเชื่อในวิถีชินโตไปเสียแต่อย่างใด และนับแต่นั้นมา วัฒนธรรมการศรัทธาในทั้งสองความเชื่อก็ได้กลายเป็นที่ยอมรับในประเทศญี่ปุ่นค่ะ ซึ่งก็ไม่ต่างจากไทยที่เชื่อทั้งผี-พราหมณ์-พุทธค่ะ

เหตุใดพระพุทธศาสนาจึงเป็นที่แพร่หลายในญี่ปุ่น ความสัมพันธุ์ระหว่างพระพุทธศาสนาและลัทธิชินโตเป็นเช่นใด?

ซึ่งระบบความเชื่อแบบผสมนี้ก็เกิดขึ้นจากการที่ศาลเจ้าและวัดมักถูกสร้างขึ้นในพื้นที่เดียวกันค่ะ ครั้นพอถึงสมัยเมจิ ศาลเจ้าและวัดได้ถูกแยกออกจากกันเนื่องจากรัฐบาลสมัยเมจิได้ออกโองการให้แยกศาสนาชินโตและพระพุทธศาสนาออกจากกันอย่างเด็ดขาด แต่ธรรมเนียมของญี่ปุ่นก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างไรค่ะ ด้วยเหตุนี้จึงยังมีผู้คนจำนวนมากที่เดินทางไปสักการะเยี่ยมชมศาลเจ้าในช่วงเวลาที่สำคัญในวัยเจริญเติบโตของเด็กและช่วงปีใหม่ และไปจัดงานศพและสวดอภิธรรมบำเพ็ญกุศลที่วัดค่ะ หากคุณเคยสงสัยว่าทำไมชาวญี่ปุ่นหลายคนจึงศรัทธาทั้งชินโตและพระพุทธศาสนา อ่านมาถึงตรงนี้ก็คงเข้าใจแล้วสินะคะว่าเพราะอะไรค่ะ

พระพุทธศาสนาและวัดวาอารามในญี่ปุ่นในปัจจุบัน

พระพุทธศาสนาและวัดวาอารามในญี่ปุ่นในปัจจุบัน

อุโบสถหลักของวัดหลายแห่งมักจะตกแต่งให้มีสีทองระยิบระยับงดงาม สิ่งนี้สื่อถึงโลกแห่งแสงสว่างอันเป็นอนันต์ของพระพุทธเจ้าและสรวงสวรรค์แดนสุขาวดี ในประเทศญี่ปุ่นมีวัดเกือบ 30 แห่งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก รวมถึงอาคารไม้ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก วัดโฮริวจิ (法隆寺 / Horyū-ji) นอกจากนี้ การค้างแรมที่วัดที่เรียกกันว่า "ชุคุโบ" (宿坊 / Shukubo) ซึ่งสามารถสัมผัสกับวิถีแห่งเซนได้ก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน เมื่อไปเยือนญี่ปุ่น เราขอแนะนำให้คุณสัมผัสกับโลกแห่งพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นดูค่ะ

หัวข้อเรื่อง

Survey[แบบสอบถาม] กรุณาบอกเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในญี่ปุ่น







Recommend