【รวมรวม 47 จังหวัดของญี่ปุ่น】อย่าลืมจับตาดูการแข็งขันกันเองอันดุเดือดเพื่อชิงความนิยมในคันโตเหนือ! รวมเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจของคันโต

ในบรรดา 47 จังหวัดในญี่ปุ่น พื้นที่คันโตเป็นที่นิยมมากในหมู่นักท่องเที่ยวที่มาเยือนญี่ปุ่น ตั้งแต่โตเกียวเมืองหลวงของญี่ปุ่น คานากาว่า ซึ่งเป็นที่นิยมสำหรับการท่องเที่ยวในโยโกฮาม่า ไซตามะและชิบะซึ่งได้เห็นการเติบโตของประชากรในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาในฐานะเมืองสัญจรสำหรับการเดินทางไปทำงานในโตเกียว ไปจนถึงกุมมะ โทชิกิ และอิบารากิในภูมิภาคคันโตตอนเหนือ แต่ละจังหวัดมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวค่ะ

ครั้งนี้เราจะแนะนำลักษณะจำเพาะของภูมิภาคคันโต ความแตกต่างระหว่างผู้คนในแต่ละจังหวัด และการแข่งขันกันเองที่เกิดขึ้นเนื่องจากเป็นจังหวัดใกล้เคียง! รู้ไว้ก็ยิ่งจะทำให้ทริปคันโตของคุณน่าสนใจยิ่งขึ้นค่ะ!

อันดับแรก มาทบทวนที่ตั้งและสภาพการจราจรของแต่ละจังหวัดในแถบคันโตกันก่อน

ในญี่ปุ่นมักจะใช้คำว่า "ตะวันตก" (西 / Nishi หรือ Sai/Sei) และ "ตะวันออก" (東 / Higashi หรือ Tou) เพื่อบ่งชี้แถบพื้นที่ คล้ายกับที่บริษัทการรถไฟชั้นนำของญี่ปุ่นมีชื่อแตกต่างกันตามเขตอำนาจ เช่น JR West และ JR East ในที่นี้ เราจะดูความแตกต่างของคำต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับภูมิภาคคันโต ลักษณะเฉพาะของแต่ละจังหวัดในภูมิภาคคันโต และเวลาเดินทางกันค่ะ

พื้นที่คันโตคืออะไร? มาดูคำเฉพาะอย่าง "คันโต" "คันโต-โคชินเอ็ตสึ" และ "แถบปริมณฑล"!

แผนที่แถบคันโต-โคชินเอ็ตสึ

แม้ว่าจะไม่มีคำจำกัดความที่ชัดเจน แต่ "พื้นที่คันโต (ภูมิภาคคันโต)" หมายถึง 1 มหานครและ 6 จังหวัด อันได้แก่ โตเกียว ชิบะ ไซตามะ คานางาวะ กุนมะ โทชิงิ และอิบารากิ เมืองส่วนใหญ่ใน 7 จังหวัดนี้ตั้งอยู่ในที่ราบคันโต ซึ่งมีพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นด้วยพื้นที่ประมาณ 17,000 ตร.กม.

"คันโต-โคชินเอ็ตสึ" หมายถึงพื้นที่ที่รวมภูมิภาคคันโตและภูมิภาคโคชินเอ็ตสึซึ่งประกอบด้วยยามานาชิ นางาโนะ กับนีงาตะ และมักใช้ในการพยากรณ์อากาศเนื่องจากความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์มากกว่าความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม คำว่า "ปริมณฑล" (首都圏 / Shutoken) ซึ่งมักใช้โดยรายการข่าวและหน่วยงานบริหาร หมายถึง 1 มหานครและ 7 จังหวัดในเขตปริมณฑลที่กำหนดโดย "กฎหมายการพัฒนาพื้นที่มหานคร" และเป็นส่วนภูมิภาคที่นอกจากจังหวัดในเขตคันโตแล้วก็ยังรวมถึงจังหวัดยามานาชิด้วย

นอกจากนี้ พื้นที่มหานครโตเกียวยังหมายถึง 1 มหานครและ 3 จังหวัด อันได้แก่ โตเกียว ไซตามะ ชิบะ และคานากาว่า สำหรับ 3 จังหวัดทางตอนเหนืออันได้แก่อิบารากิ โทชิงิ และกุนมะ (ในบางกรณี เป็น 4 จังหวัดรวมไซตามะเข้าไปด้วย) คำศัพท์อย่างเช่น "คันโตตอนเหนือ" ก็มักจะนำมาใช้เช่นกันค่ะ

คำว่า "คันโต" ในเขตคันโตหมายถึงอะไร? ชื่อนี้มาจากไหน?

ภาพอุกิโยะเอะ โดย คัตสึชิกะ โฮคุไซ

ทำไม 1 มหานครและ 6 จังหวัดที่มีศูนย์กลางอยู่ที่โตเกียวจึงถูกเรียกว่าคันโต? มีหลายทฤษฎี แต่ว่ากันว่าในอดีต จักรพรรดิได้ตั้งจุดตรวจ (関所 / Sekisho) ตามทางหลวงโทซันโด โทไคโด และโฮคุริคุโด (ทางหลวงระหว่างเมืองจากเมืองหลวงโบราณ) ในปี ค.ศ. 673 ในเวลานั้น พื้นที่ทั้งหมดตั้งอยู่ทางตะวันออกของจุดตรวจทั้งสามนี้ถูกเรียกว่า "คันโต" (関東 / Kanto - ตะวันออกของจุดตรวจ) และคำจำกัดความของพื้นที่จะได้รับการระบุชัดเจนขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป พื้นที่ "คันโต" ที่รู้จักกันในปัจจุบันกล่าวกันว่าตั้งคำจำกัดความขึ้นในยุคเมจิที่มีการใช้ระบบจังหวัดในการแบ่งพื้นที่การปกครองค่ะ

ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงถึง 1 ชั่วโมง 30 นาทีในการเดินทางภายในเขตมหานครโตเกียว! พื้นที่คันโตนั้นสะดวกต่อการท่องเที่ยวแบบไปเช้าเย็นกลับ

รถไฟแออัดในโตเกียว

ภูมิภาคคันโตมีเครือข่ายรถไฟที่ได้รับการพัฒนามาอย่างดี ซึ่งรวมถึงรถไฟ JR รถไฟใต้ดิน Tokyo Metro และ Toei Electric Railway และที่สำคัญ หากปลายทางอยู่ภายในเขตพื้นที่มหานครโตเกียว คุณก็สามารถเดินทางไปได้ในเวลาอันสั้นภายในหนึ่งชั่วโมงค่ะ!

ตัวอย่างเช่น จากสถานี Ikebukuro ในโตเกียวไปยังโอมิยะในจังหวัดไซตามะ ใช้เวลาประมาณ 30 นาทีบนสาย JR Saikyo หรือสาย Shonan Shinjuku! เช่นเดียวกับการขึ้นสาย Ueno-Tokyo (สาย Utsunomiya / สาย Takasaki) จากสถานีโตเกียวค่ะ

รถไฟด่วนพิเศษสาย JR Sobu ใช้เวลา 26 นาทีที่เร็วที่สุดจากสถานีโตเกียวไปยังสถานี Chiba Maihama ซึ่งเป็นที่ตั้งของ Tokyo Disneyland® ก็อยู่ห่างออกไปประมาณ 20 นาทีด้วยรถไฟสาย Keiyo ค่ะ

สถานีโตเกียว

หากต้องการไปทางฝั่งคานากาว่า คุณสามารถขึ้นรถไฟ JR สาย Tokaido สาย Yokosuka สาย Keihin-Tohoku และสาย Shonan-Shinjuku จากสถานีโตเกียวและสถานี Shinagawa ได้ค่ะ นอกจากนี้ สาย Keihin Kyuko วิ่งจากสถานี Shinagawa และสาย Tokyu Toyoko วิ่งจากสถานี Shibuya ซึ่งทั้ง 2 สายสามารถไปถึงคานากาว่าได้ในเวลาประมาณ 30 นาทีค่ะ

นอกจากนี้ สำหรับทางฝั่งอิบารากิ จะใช้เวลาประมาณ 45 นาทีที่เร็วที่สุดระหว่างสถานี Akihabara และสถานี Tsukuba และประมาณ 70 นาทีจากสถานีโตเกียวไปยังสถานี Mito ใช้เวลาประมาณ 50 นาทีจากสถานีโตเกียวไปยังทาคาซากิในจังหวัดกุนมะและอุสึโนะมิยะในจังหวัดโทชิงิโดยรถไฟชินคันเซ็น จึงสามารถเดินทางไปยังเมืองใหญ่ในจังหวัดใดก็ได้ภายใน 1 ชั่วโมงถึง 1 ชั่วโมง 30 นาทีสำหรับการเดินทางเที่ยวเดียวค่ะ

เป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวญี่ปุ่น! ลักษณะเฉพาะและสถานที่ท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัดในเขตคันโตมีอะไรบ้าง?

คันโต โตเกียว

คันโตตอนเหนือ (อิบารากิ โทจิงิ กุนมะ) เป็นคู่ปรับตลอดกาลของกันและกัน! วัฒนธรรมแยงกี้และสังคมรถยนต์นั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

คันโตตอนเหนือ (อิบารากิ โทจิงิ กุนมะ) วัฒนธรรมแยงกี้

คันโตตอนเหนือ (3 จังหวัดอันได้แก่กุนมะ โทชิงิ และอิบารากิ ในบางกรณีรวมจังหวัดไซตามะด้วย) มักจะถูกเปรียบเทียบระหว่างกันในหลายแง่มุม ก่อนหน้านี้ ในการจัดอันดับความน่าดึงดูดใจของจังหวัดที่ประกาศโดยบริษัทวิจัยเอกชน อิบารากิอยู่ในอันดับที่ 47 โทจิงิอยู่ในอันดับที่ 46 และกุนมะอยู่ในอันดับที่ 45 จากทั้งหมด 47 จังหวัด ซึ่งผูกขาดสามจังหวัดที่แย่ที่สุดในรายการนี้ . . ในส่วนนี้เราจะมาดูภูมิภาคคันโตตอนเหนือกันค่ะ

วัฒนธรรมแยงกี้

วัฒนธรรมแยงกี้ (เด็กอันธพาล) มีรากฐานมายาวนานในภูมิภาคคันโตทางตอนเหนือ และไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นคนหนุ่มสาวจำนวนมากสวมเสื้อเจอร์ซี่สำหรับขี่รถออกไปเที่ยวที่ร้านสะดวกซื้อในช่วงดึก หรือเห็นรถจักรยานยนต์และรถยนต์ดัดแปลงสีฉูดฉาดจอดอยู่รอบๆ ค่ะ

สังคมรถยนต์

หลายคนในจังหวัดนี้มีรถยนต์เป็นของตนเอง และชิบุคาวะในจังหวัดกุนมะ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ในการ์ตูนยอดนิยมเรื่อง "Initial D" เป็นถนนขับรถแล่นยอดนิยมสำหรับคนรักรถ บางทีอาจเป็นเพราะพวกเขามีความรักอันแรงกล้าต่อบ้านเกิดของพวกเขาและมักแวะที่จังหวัดใกล้เคียงด้วยรถยนต์ พวกเขาจึงมีการประเมินจังหวัดใกล้เคียงอย่างไม่ค่อยสู้ดีเท่าไหร่ค่ะ

เผยจิตวิญญาณแห่งการแข่งขันออกมา! การแข่งขันความนิยมที่ดุเดือดระหว่างสามจังหวัดคันโตทางตอนเหนือ

ชาวกุนมะโอ้ชอบอวดว่า “กุนมะมีโรงงาน Haagen-Dazs ซึ่งหาได้ยากในโลก ซัปโปโรอิจิบัง มิโสะราเม็งก็ผลิตในกุมมะ ดังนั้นหากกุนมะหายไป ทุกคนจะเดือดร้อน” จากนั้นชาวโทจิกิก็โต้กลับว่า "อืม จังหวัดโทจิงิมีนิกโก้และคินุกาวะออนเซ็น" ด้วยใบหน้าแสยะยิ้มที่ราวกับได้ชัยชนะ และชาวอิบารากิก็พูดว่า "เรามีมหาสมุทร ซึ่งอีกสองจังหวัดไม่มี ดังนั้นทั้งกุนมะและโทจิงิ ไม่ได้อยู่ในสายตาของเราเลย อ้ออีกอย่าง มันอ่านว่า 'อิบารากิ' ไม่ใช่ 'อิบารางิ'!" คันโตตอนเหนือเต็มไปด้วยความรักที่มีต่อบ้านเกิดและมักจะแข่งขันกับจังหวัดค้างเคียงกันอยู่เสมอค่ะ

แนะนำเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของจังหวัดในแถบคันโต!

คนในพื้นที่คันโตนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากค่ะ!

"โตเกียวคือบ้านเกิดของฉัน" นั้นหายาก! ชาวโตเกียวชาญฉลาดและเป็นมิตร

ชาวโตเกียว

โตเกียวมีชื่อเสียงในเรื่องผู้คนจำนวนมาก เช่น ตามทางแยกชิบูย่าสแครมเบิล และบนรถไฟที่แออัดในเช้าวันธรรมดา แต่ถึงแม้โตเกียวจะมีประชากรจำนวนมาก แต่ก็หาคนที่เกิดและเติบโตในโตเกียวจริงๆ ได้ยากค่ะ!

ทั้งนี้เนื่องจากเขตคันโตมีระบบขนส่งมวลชนที่ได้รับการพัฒนาเป็นอย่างดี และผู้คนจำนวนมากเดินทางไปทำงานหรือเรียนในโตเกียวจากจังหวัดอื่นๆ ในเขตคันโต นอกจากนี้ยังมีหลายกรณีที่ผู้คนจากเมืองในภูมิภาคต่างโหยหาเมืองใหญ่อย่างโตเกียว และย้ายไปโตเกียวเพื่อการศึกษาต่อ หางานทำ หรือการย้ายสถานที่ทำงาน

อันที่จริง ฉันเคยถามเพื่อนร่วมชั้นในมหาวิทยาลัยว่า "คุณมาจากโตเกียวหรือเปล่า" และมีบางกรณีที่ทุกคนตอบว่าเป็นคนที่มาจากพื้นที่ชนบทในภูมิภาคอื่นๆ ที่มาอยู่ในโตเกียวค่ะ อาจเป็นเพราะชาวโตเกียวมักจะสัมผัสกับนักท่องเที่ยวและผู้คนจากภูมิภาคอื่น ๆ ชาวโตเกียวโดยกำเนิดหลายคนจึงฉลาดและเข้ากับใครก็ได้ได้ง่ายค่ะ

ชาวคานากาว่าชอบของใหม่ & อยากบอกว่า "ฉันมาจากโยโกฮาม่า"

"ฮามัคโกะ" หรือผู้ที่มาจากโยโกฮาม่ามีประวัติศาสตร์อันยาวนานที่เจริญรุ่งเรืองในฐานะศูนย์กลางการค้ากับต่างประเทศ ดังนั้นจึงไวต่ออาหารที่หายากและเทรนด์จากต่างประเทศค่ะ!

นอกจากนี้ เมื่อคนญี่ปุ่นถูกถามว่ามาจากไหน ส่วนใหญ่พวกเขามักจะตอบด้วยชื่อจังหวัด แต่ฮามัคโกะหลายคนไม่พูดว่า "ฉันมาจากคานากาว่า" แต่จะพูดว่า "ฉันมาจากโยโกฮาม่า" แทน ซึ่งก็เป็นข้อพิสูจน์ว่าพวกเขาภูมิใจในเมืองโยโกฮาม่ามากกว่าตัวจังหวัดค่ะ

ชาวไซตามะโหยหา "ทะเล" มากเกินไป

จังหวัดไซตามะเป็นหนึ่งใน 8 จังหวัดที่ไม่มีทะเลในญี่ปุ่น ดังนั้นชาวเมืองจึงชื่นชมทะเลเป็นอย่างมาก และสวนน้ำไซตามะซึ่งปิดให้บริการไปในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 ก็ถูกสร้างขึ้นด้วยแนวคิดของ "สระน้ำพักผ่อนขนาดใหญ่ในจังหวัดไซตามะซึ่งไม่มีทะเลตามธรรมชาติ"

นอกจากนี้ สวนน้ำชิราโคบาโตะซึ่งคร่อมอำเภอโคชิงายะกับเขตอิวาสึกิของอำเภอไซตามะ ตั้งใจนำทรายขาวมาจากออสเตรเลียเพื่อสร้างชายหาดเทียมสีขาว สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความหลงใหลของชาวไซตามะที่มีต่อท้องทะเลค่ะ

ชาวชิบะภูมิใจในโตเกียวดิสนีย์รีสอร์ท® และสนามบินนาริตะ!

สิ่งที่ชาวจังหวัดชิบะภูมิใจมากที่สุดก็คือโตเกียวดิสนีย์รีสอร์ท®! พิธีบรรลุนิติภาวะของอำเภออุรายาสุก็จัดขึ้นที่รีสอร์ทแห่งนี้ทุกปี ชาวชิบะก็ยังภูมิใจในสนามบินนาริตะซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะประตูสู่โลก และเป็นความภาคภูมิใจที่ไม่เหมือนใครของจังหวัดชิบะที่ "ประตูสู่ญี่ปุ่นจากต่างประเทศไม่ใช่สนามบินฮาเนดะของโตเกียว (สนามบินนานาชาติโตเกียว) แต่เป็นสนามบินนาริตะของชิบะต่างหาก!"

ชาวอิบารากิคิดว่าสำเนียงอิบารากิเป็นภาษามาตรฐาน

สำเนียงอิบารากิมักใช้ในจังหวัดอิบารากิ ในภูมิภาคอื่นๆ มีการใช้การออกเสียง/น้ำเสียงที่แตกต่างกันเพื่อแยกความแตกต่างระหว่างคำที่มีการออกเสียงเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น "ลูกอม" กับ "ฝน" ('อาเมะ'), "สะพาน" และ "ตะเกียบ" ('ฮาชิ') แต่สำเนียงอิบารากิกลับไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่างออกเสียง/น้ำเสียงค่ะ

ชาวอิบารากิบางครั้งมีสำเนียงที่เด่นชัดและคนอื่นๆ ก็มักจะคิดว่าวิธีการพูดของพวกเขานั้นฟังยาก แต่ก็มีผู้อยู่อาศัยจำนวนมากที่คิดว่าพวกเขาไม่มีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์และภาษาที่พูดอยู่ก็เป็นภาษาญี่ปุ่นมาตรฐานค่ะ...

ชาวโทจิงิไม่เพียงแค่กินเกี๊ยวซ่าอุสึโนะมิยะเท่านั้น แต่ยังกินปลาฉลามด้วย

ปลาฉลาม

จังหวัดโทจิงิซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ไม่มีทะเล มีประเพณีการกินเนื้อฉลามมาอย่างยาวนานค่ะ

เนื่องจากเนื้อฉลามเน่าเปื่อยย่อยสลายช้าและถูกส่งไปยังจังหวัดโทชิงิในสมัยที่การขนส่งยังไม่ก้าวหน้าเหมือนสมัยปัจจุบันซึ่งเป็นจังหวัดที่ไม่มีทะเล “ซากันโบ” และ “โมโระ” ต่างก็หมายถึงเนื้อฉลามในสำเนียงโทจิงิ และในบางภูมิภาคก็มีการรับประทานกันในช่วงปีใหม่ด้วยค่ะ

มังงะยอดนิยม ต้นกำเนิดของวงดนตรีระดับตำนาน...อันที่จริง ชาวกุนมะอยากจะโดดเด่น

แม้ว่าจังหวัดกุนมะมักถูกมองว่าเป็นจังหวัดธรรมดาๆ ไม่มีอะไรเด่น แต่จริงๆ แล้วเป็นเมืองที่เป็นฉากของการ์ตูนยอดนิยมเรื่อง "Initial D" ในผลงานมังงะนี้ ตัวละครหลักได้ประลองความเร็วกับคู่แข่งบนเส้นทางขับรถ เช่น ภูเขาฮารุนะเป็นต้นค่ะ

นอกจากนี้ นักดนตรีที่เกิดในอำเภอทากาซากิยังรวมถึง ฮิมุโระ เคียวสุเกะ และ โฮเต โทโมยาสุ จากวงร็อคยอดนิยมอย่าง BOØWY ในช่วงปี 80 และยังมีแฟนๆ ที่ไปแสวงบุญตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ของวงอีกด้วย! คนวงในดนตรีสมัยนั้นอธิบายว่าพวกเขาเป็น "วงดนตรีเกเรเกินรับไหว" ค่ะ

จังหวัดกุนมะมีวัฒนธรรมมากมายที่ได้รับมาจากวัฒนธรรมแยงกี้ เช่น รถยนต์และดนตรีร็อค และมีคนดังมากมายจากจังหวัด ความรักบ้านเกิดอันแรงกล้า ความไม่ยอมแพ้ง่ายๆ  และจิตวิญญาณที่ต้องการโดดเด่นอาจเป็นส่วนหนึ่งของลักษณะนิสัยของชาวจังหวัดกุมนะค่ะ

หัวข้อเรื่อง