การพบเจออันแสนสุขระหว่างวัตถุดิบดั้งเดิม "มิโซะ" และบะหมี่ราเม็ง มิโซะราเม็ง
ร้านราเม็งญี่ปุ่นในประเทศไทยก็มีหลากหลานร้าน แต่คุณเคยลองรับประทานมิโซะราเม็งแล้วหรือยัง? ครั้งนี้เราจะไปศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับมิโซะราเม็งกันอย่างละเอียดค่ะ!
เกี่ยวกับมิโซะราเม็ง
น้ำของมิโสะราเม็ง
น้ำมิโซะราเม็งนั้นทำโดยใส่เนื้อสับ ผัก และมิโซะลงในน้ำซุปต้มกระดูกหมู ร้านราเม็งเฉพาะทางที่เน้นมิโซะราเม็งมักใช้มิโซะสูตรของตัวเองค่ะ
เส้นของมิโสะราเม็ง
ส่วนใหญ่มิโซะราเม็งมักจะใช้เส้นหนาสีเหลือง มีปริมาณน้ำในเส้นสูงและเนื้อสัมผัสของเส้นเคี้ยวหนึบดีค่ะ
วิธีการรับประทานมิโสะราเม็ง
นอกเหนือจากหมูย่างชาชู ท็อปปิ้งมาตราฐานที่มักใช้เป็นส่วนผสมในราเม็งแล้ว มิโซะราเม็งยังมักมีท็อปปิ้งเป็นข้าวโพดหรือเนยด้วยค่ะ
วิธีการทำมิโซะราเม็ง
ส่วนใหญ่ ซุปมิโซะราเม็งมักจะใส่หัวหอม แครอท กระเทียม เนื้อบดหรือเนื้อสับ และน้ำซุปต้มกระดูกหมูและมิโซะ ส่วนจะใส่ผักชนิดใด ทำน้ำซุปแบบไหน และใช้มิโซะประเภทใดนั้นก็ขึ้นอยู่กับสูตรเฉพาะของแต่ละร้านค่ะ
- ผัดผักที่หั่นไว้จนหอมแล้วใส่เนื้อสับลงไป
- ใส่น้ำซุปและต้มให้เดือด ตักฟองน้ำมันออก ปิดเตาไฟ แล้วใส่มิโซะลงไป
- เปิดไฟอีกครั้งแล้วอุ่นด้วยไฟอ่อน ๆ ไม่ให้เดือด น้ำซุปก็พร้อมเสิร์ฟค่ะ
มิโซะราเม็งในสายตาคนญี่ปุ่นในปัจจุบัน
มิโซะราเม็งนั้น ว่ากันว่ามีต้นกำเนิดในซัปโปโรฮอกไกโดค่ะ โดยกล่าวกันว่าถูกคิดค้นขึ้นในปี 1955 โดย OMIYA Morito (大宮守人) เจ้าของร้าน "Aji no Sanpei" (味の三平) ในซัปโปโร
หลังจากนั้นในปี 1967 "Dosanko Ramen" (どさん子ラーメン) ได้เริ่มแฟรนไชส์ร้านราเม็งทั่วประเทศ และในปี 1968 Sanyo Foods (サンヨー食品) ได้เปิดตัวมิโซะราเม็งกึ่งสำเร็จรูป "Sapporo Ichiban Miso Ramen" (サッポロ一番みそラーメン) จากนั้น มิโซะราเม็งก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นราเม็งท้องถิ่นของฮอกไกโดไปค่ะ
นอกจากนี้ในทางกลับกัน ยังมีทฤษฎีด้วยว่า ร้าน "ริวเชียงไฮ" (龍上海 / Ryu Shan Hai) ในอำเภอนันโย จังหวัดยามากาตะ ซึ่งเป็นจังหวัดมีการบริโภคราเม็งสูงสุดต่อประชากร 100,000 คนใน 47 จังหวัดของญี่ปุ่น ก็เป็นผู้ได้คิดค้นแนวคิดของมิโซะราเม็งในช่วงปี 1960 ด้วยเช่นกันค่ะ
ราเม็งท้องถิ่นที่ใช้มิโซะเป็นส่วนผสมจากทั่วประเทศญี่ปุ่น ก็ได้แก่ ซัปโปโรราเมน (อำเภอซัปโปโร จังหวัดฮอกไกโด) จิโกคุราเม็ง (ราเม็งนรก อำเภอคิตะฮิโรชิมะ จังหวัดฮอกไกโด) เซนไดราเม็ง (อำเภอเซนได จังหวัดมิยากิ) อะคายุราเม็ง (อำเภอนันโย จังหวัดยามากาตะ) นีงาตะมิโซะราเม็ง (อำเภอนีงาตะ จังหวัดนีงาตะ) ฮัตโจมิโสะราเม็ง (อำเภอโอคาซากิ จังหวัดไอจิ) คิวชูมุกิมิโซะราเม็ง (จังหวัดคุมาโมโตะ) คาโกชิม่าราเม็ง (อำเภอคาโกชิม่า จังหวัดคาโกชิม่า) ค่ะ
เป็นยังไงกันบ้างคะ? หวังว่าคงพอจะรู้เรื่องราวเกี่ยวกับลักษณะและประวัติของมิโซะราเม็งขึ้นบ้างไม่มากก็น้อยกันนะคะ